https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
บอกเลิกสัญญาจ้าง โดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้า MUSLIMTHAIPOST

 

บอกเลิกสัญญาจ้าง โดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้า


577 ผู้ชม


บอกเลิกสัญญาจ้าง โดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้า




คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๓๖๔/๒๕๔๕

แพ่ง เลิกสัญญา จ้างแรงงาน บอกเลิกสัญญาจ้างแรงงาน (มาตรา ๓๘๖ , ๕๗๕ , ๕๘๒ , ๕๘๓ )

พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ (มาตรา ๑๗ , ๑๑๙)

 

 สัญญาจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยที่ ๑ กำหนดว่า ในระหว่างระยะเวลาทดลองงาน หากจำเลยที่ ๑ เห็นว่าผลการปฏิบัติงานของโจทก์ไม่เป็นที่น่าพอใจ จำเลยที่ ๑ มีสิทธิยกเลิกการจ้างงานโดยจำต้องแจ้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้า และโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินค่าชดเชยจากจำเลยที่ ๑ ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ ๑ พิจารณาแล้วเห็นว่าผลการปฏิบัติงานของโจทก์ไม่เป็นที่พอใจและบอกเลิกสัญญาจ้าง จึงเป็นการเลิกจ้างตามข้อตกลงที่ระบุไว้อันเป็นการใช้สิทธิโดยชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา ๓๘๖ วรรคหนึ่ง มิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เป็นการเลิกจ้างโดยมีเหตุอันสมควร มิใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

 สัญญาจ้างที่กำหนดระยะเวลาทดลองงานไม่เกิน ๑๒๐ วัน หมายถึง นายจ้างตกลงจ้างลูกจ้างให้ทำงานโดยมีเวลาทดลองงานไม่เกิน ๑๒๐ วัน หากผ่านการทดลองงานนายจ้างจะจ้างต่อไป ถ้าไม่ผ่านการทดลองงานนายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้ ซึ่งไม่แน่นอนว่าสัญญาจ้างจะสิ้นสุดลงเมื่อใด จึงเป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา ๑๗ วรรคสอง

 การบอกเลิกสัญญาจ้างแต่เดิมบัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา ๕๘๒ แต่ปัจจุบัน พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ นำบทบัญญัติดังกล่าวมาบัญญัติไว้ในมาตรา ๑๗ ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน นายจ้างและลูกจ้างจึงไม่มีสิทธิตกลงเกี่ยวกับการเลิกสัญญาจ้างให้เป็นอย่างอื่นได้ การจ้างและเลิกจ้างคดีนี้เกิดขึ้นหลังจากที่ใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ แล้ว จึงต้องบังคับตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา ๑๗ ซึ่งให้เลิกสัญญาจ้างโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าไว้ ๓ กรณี คือสัญญาจ้างสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดระยะเวลา และนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากลูกจ้างกระทำผิดกรณีใดกรณีหนึ่งตามมาตรา ๑๑๙ และตาม ป.พ.พ. มาตรา ๕๘๓ โดย พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา ๑๗ มิได้มีข้อยกเว้นว่าการเลิกจ้างในระว่างทดลองงานนั้นไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เข้าทั้ง ๓ กรณีดังกล่าวตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา ๑๗ วรรคหนึ่งและวรรคท้าย จำเลยจึงต้องบอกเลิกสัญญาจ้างเป็นหนังสือให้โจทก์ทราบในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวหน้าคราวใดเพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไป เมื่อจำเลยบอกเลิกสัญญาจ้างโจทก์โดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้าจึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา ๑๗ วรรคสองและวรรคสี่

อัพเดทล่าสุด