https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
การเรียกเงินประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้าง MUSLIMTHAIPOST

 

การเรียกเงินประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้าง


613 ผู้ชม


การเรียกเงินประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้าง




คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๐๓๔/๒๕๔๕

พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ (มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง)

ประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเรียกหรือรับเงินประกันการทำงาน
หรือประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้างฯ

 

 อ. เป็นผู้จัดการสถานีมีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมทรัพย์สินภายในร้านสะดวกซื้อของโจทก์ จึงเข้าลักษณะงานที่โจทก์จะเรียกเงินประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้างได้ การที่ อ. ได้รับค่าจ้างเฉลี่ยรายวันวันละ ๒๓๓.๓๓ บาท ขณะที่โจทก์ได้รับเงินประกันซึ่งโจทก์สามารถเรียกได้ไม่เกิน ๖๐ เท่าของอัตราค่าจ้างรายวันโดยเฉลี่ยที่ลูกจ้างได้รับอยู่ในวันที่นายจ้างรับเงินประกันคิดเป็นเงิน ๑๓,๙๙๙.๘๐ บาท โจทก์หักค่าจ้างของ อ. ไว้เป็นเงินประกันจำนวน ๙,๔๑๕ บาท จึงเป็น
จำนวนเงินที่โจทก์สามารถเรียกได้ และโจทก์ได้นำเงินประกันดังกล่าวไปฝากไว้กับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ก. อันเป็นสถาบันการเงินในนามของ อ. จึงเป็นการปฏิบัติที่ชอบด้วยบทบัญญัติมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ แม้โจทก์จะไม่ได้แจ้งชื่อสถาบันการเงิน ชื่อบัญชี และเลขที่บัญชีให้ อ. ทราบก็ไม่มีผลกระทบต่อการเรียกเก็บเงินประกันความเสียหายในการทำงานที่โจทก์เรียกเก็บจาก อ. โดยชอบแล้ว โจทก์จึงมีสิทธินำเงินประกันดังกล่าวมาหักจากค่าเสียหายที่ อ. ก่อให้เกิดขึ้นแก่โจทก์ในการทำงานได้และไม่จำต้องคืนเงินประกันดังกล่าวแก่ อ. ด้วย


อัพเดทล่าสุด