https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
นิติสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างและลูกจ้างกัน MUSLIMTHAIPOST

 

นิติสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างและลูกจ้างกัน


673 ผู้ชม


นิติสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างและลูกจ้างกัน




คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๕๒๘๑/๒๕๔๕

แพ่ง จ้างแรงงาน (มาตรา ๕๗๕ )

พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ (มาตรา ๕ )

 

 การพิจารณาว่าโจทก์และจำเลยจะมีนิติสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างและลูกจ้างกันหรือไม่ ต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่รับฟังได้ในคดีและบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา ๕๗๕ และ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน มาตรา ๕ มิใช่พิจารณาจากข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอ้างหรือพิจารณาจากข้อความที่ระบุในเอกสารเท่านั้น การที่โจทก์รับจ้างทำการงานให้แก่จำเลยเพื่อให้จำเลยเป็นที่รับรู้ของคนในประเทศไทยว่าจำเลยมีความเชี่ยวชาญด้านก่อสร้างท่าเทียบเรือ โจทก์ทำการงานดังกล่าวโดยอิสระไม่อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของจำเลย ไม่มีเวลาทำงานปกติ และไม่ปรากฏว่าโจทก์ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งใดๆ ของจำเลย นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์และจำเลยในลักษณะดังกล่าว จึงไม่ใช่คู่สัญญาในเรื่องจ้างแรงงานตาม ป.พ.พ. มาตรา ๕๗๕ และไม่ใช่นายจ้างและลูกจ้างกันตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน มาตรา๕ โจทก์จึงไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลย ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินต่าง ๆ ที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับจากนายจ้าง

 

อัพเดทล่าสุด