https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
เลิกจ้างโดยจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า MUSLIMTHAIPOST

 

เลิกจ้างโดยจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า


501 ผู้ชม


เลิกจ้างโดยจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า




คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๕๓๒๖/๒๕๔๕

พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ (มาตรา ๑๒๓)

พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานฯ (มาตรา ๔๙)

 

 จำเลยมีมติเลิกจ้างโจทก์โดยจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ ซึ่งโจทก์ยินยอมรับไว้แล้ว โจทก์ฟ้องอ้างว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์มิได้กระทำผิดเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และโจทก์มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามระเบียบว่าด้วยพนักงานและลูกจ้างของจำเลยฯ ขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและจ่ายเงินบำเหน็จให้แก่โจทก์ อันเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา ๔๙ และระเบียบว่าด้วยพนักงานของจำเลยฯ ซึ่งการฟ้องคดีเรื่องการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและเรียกเงินบำเหน็จดังกล่าวนั้นไม่มีกฎหมายกำหนดขั้นตอนว่าก่อนฟ้องคดีโจทก์จะต้องร้องเรียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการอย่างใด และเงินที่โจทก์ฟ้องเรียกทั้งสองจำนวนไม่ใช่เงินที่โจทก์มีสิทธิได้รับตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา ๑๒๓ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง


อัพเดทล่าสุด