https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน MUSLIMTHAIPOST

 

ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน


1,032 ผู้ชม


ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน




ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน

               ในการเข้าทำงานของลูกจ้าง นายจ้างอาจจัดให้มีการประกันการทำงาน โดยให้ลูกจ้างจัดหาบุคคลภายนอกที่น่าเชื่อถือมาทำสัญญาค้ำประกันการทำงาน โดยทำสัญญาว่า หากลูกจ้างออกจากงานก่อนครบกำหนดในสัญญาจ้าง หรือก่อให้เกิดความเสียหายให้แก่นายจ้างในระหว่างการทำงาน และไม่สามารถบังคับชำระหนี้เอาจากลูกจ้างได้ นายจ้าง มีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาจากผู้ค้ำประกันแทนได้   ในการทำสัญญาค้ำประกันนั้นจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกัน  การตกลงค้ำประกันด้วยวาจาจะฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้ อีกประการหนึ่งการค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันอาจกำหนดระยะเวลา หรือจำนวนเงินที่ต้องผูกพันไว้ก็ได้ หากพ้นระยะเวลา หรือเกินวงเงินผู้ค้ำประกันก็ไม่ต้องรับผิด

                การค้ำประกันด้วยบุคคล นายจ้างจะบังคับชำระหนี้เอาจากผู้ค้ำประกันได้ก็ต่อเมื่อ ลูกจ้างผิดนัดไม่ชำระหนี้ นายจ้างจึงจะทวงถามให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้แทนได้ เมื่อนายจ้างทวงให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ ผู้ค้ำประกันอาจขอให้ลูกจ้างชำระหนี้ก่อนได้  แต่ก็มีข้อยกเว้นว่าหากผู้ค้ำประกันตกลงร่วมรับผิดกับลูกจ้างอย่างลูกหนี้ร่วม ผู้ค้ำประกันจะไม่มีสิทธิอ้างตามที่กล่าวมาข้างต้น ดังนั้น ในสัญญาค้ำประกันนายจ้างจึงระบุให้ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม อนึ่ง เมื่อผู้ค้ำประกันชำระหนี้แทนลูกจ้างแล้ว ผู้ค้ำประกันย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากตัวลูกจ้างได้  ลองมาพิจารณาคำพิพากษาฎีกานี้ว่าผู้ค้ำประกันจะต้องร่วมรับผิดอย่างไร  และข้อความในสัญญาค้ำประกันในส่วนที่เป็นสาระสำคัญควรเขียนอย่างไร

                โจทก์ ฟ้องว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชน จำกัด จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์ เข้าทำงานตั้งแต่ปี 2518 จนถึงปี 2542 โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันการทำงาน ระหว่างเดือนพฤษภาคม 2535 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2542 จำเลยที่ 1 ขณะมีตำแหน่งเป็นผู้จัดการสาขาสระบุรีและสาขาหนองแคตามลำดับได้ร่วมกับพวกทุจริตทำเอกสารเท็จเกี่ยวกับตัวลูกค้าและอนุมัติสินเชื่อให้แก่ลูกค้า จำนวน 14 ราย ซึ่งความจริงแล้วลูกค้าไม่ได้ขอสินเชื่อและไม่ได้รับเงินตามที่จำเลยที่ 1 อนุมัติ โดยจำเลยที่ 1 กับพวกได้ร่วมกันยักยอกและฉ้อโกงเงินโจทก์ไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวโดยทุจริต ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นเงิน 83,476,921.20 บาท  ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้หลบหนีไปโดยไม่มาทำงานตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2542 ติดต่อกันเป็นเวลาเกิน 3 วันทำงาน โดยไม่มีเหตุอันสมควร เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับพนักงานของโจทก์และเป็นความผิดวินัย โจทก์จึงลงโทษจำเลยที่ 1 โดยการไล่ออกตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2542 การกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว เป็นการจงใจให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงต้องชดใช้เงินจำนวน 83,476,921.20 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 30 มกราคม 2542 จนถึงวันฟ้องเป็นเงิน 2,950,280.22 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้นจำนวน 86,427,201.42 บาท จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย ก่อนฟ้องโจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้แล้ว แต่จำเลยทั้งสองเพิกเฉย  ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน จำนวน 86,427,201.42 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 83,476,921.20 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
               
จำเลยที่ 1 ขาดนัดและขาดนัดพิจารณา จำเลยที่ 2 ให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 เนื่องจากคดีนี้ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงาน ฟ้องโจทก์ในส่วนค่าเสียหายเคลือบคลุมและขาดอายุความ เนื่องจากโจทก์ฟ้องคดีนี้เกิน 10 ปี โจทก์ปล่อยปละละเลยและมีส่วนร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ทั้งเมื่อโจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดอาญา โจทก์ก็ไม่แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบ เพื่อจัดการแก้ไขหรือบรรเทาความเสียหาย จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์  ขอให้ยกฟ้อง
                ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้วพิพากษาให้จำเลยที่ 1 จ่ายเงิน จำนวน 86, 427, 201.42 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 83, 476, 921.20 บาท นัดถัดจากวันฟ้อง (วันที่ 21 กรกฎาคม 2542) เป็นต้นไป จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
                ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์เพียงประการเดียวว่า จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 หรือไม่เพียงใด ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำ-ประกันการทำงาน จำเลยที่ 1 ทำงานกับโจทก์ตั้งแต่ปี 2518 จนถึงปี 2542 เดือนพฤษภาคม 2535 จำเลยที่ 1  เริ่มทำงานในตำแหน่งพนักงานทดสอบสำนักงานใหญ่ ต่อมาได้รับแต่งตั้งให้ทำงานในตำแหน่งผู้จัดการสาขาสระบุรี และเดือนเมษายน 2539 จำเลยที่ 1 ได้รับแต่ง-ตั้งให้เป็นผู้จัดการสาขาหนองแค โดยจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ควบคุมการดำเนินงานสาขาของโจทก์ให้เป็นตามระเบียบวิธีปฏิบัติของโจทก์ที่กำหนดไว้ โจทก์มีระเบียบว่าด้วยเรื่องการดำเนินงานของสำนักงานสาขา การบริหาร การอนุมัติสินเชื่อของสาขา การอำนวยสินเชื่อของสาขา โดยโจทก์ได้กำหนดวิธีปฏิบัติหลักเกณฑ์และอำนาจในการอนุมัติสินเชื่อให้แก่ผู้จัดการสาขา ให้มีอำนาจอนุมัติสินเชื่อได้ในระดับต่างๆ กัน ซึ่งระเบียบดังกล่าวกำหนดให้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการเกรดเอมีอำนาจอนุมัติสินเชื่อในวงเงินไม่เกิน 3,000,000 บาท โจทก์ลงโทษจำเลยที่ 1 โดยการไล่ออกตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2542 โดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 ทุจริตต่อหน้าที่เป็นเหตุให้โจทก์เสียหายเป็นเงิน 83,000,000 บาท และให้จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันการทำงานร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย พิเคราะห์หนังสือค้ำประกันเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3 แล้ว ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ทำหนังสือค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม 2518 ในตำแหน่งพนักงานทดสอบสำนักงานใหญ่ โดยระบุว่า  "ข้าพเจ้า (จำเลยที่ 2) ขอเข้าเป็นผู้ค้ำประกันของนายมนู มะโมน้อม (จำเลยที่ 1) ซึ่งทำงานในตำแหน่ง..... ในธนาคารศรีนคร จำกัด (โจทก์) หรือในตำแหน่งอื่นใดซึ่งจะได้มีการโยกย้ายในภายหน้า ขอรับรองว่านายมนู มะโนน้อม จะปฏิบัติหน้าที่โดยความซื่อสัตย์สุจริตโดยความหมั่นเพียร และความระมัดระวังอันพึงควรมี และข้าพเจ้าจะสอดส่องดูแลความประพฤติของผู้ถูกค้ำประกัน ให้อยู่ในความดีงามตลอดเวลาที่ทำงานอยู่กับธนาคารศรีนคร หรืออาศัยอำนาจหน้าที่ทำการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวหรือทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำการใด ๆ (ไม่ว่าจะโดยเจตนาทุจริตหรือไม่ก็ตาม) ซึ่งเป็นเหตุทำให้ธนาคารต้องประสพความเสียหายแล้ว ข้าพเจ้าผู้ค้ำประกันยินยอมรับผิดชอบต่อธนาคารศรีนคร จำกัด ในการชดใช้ความเสียหายนั้นให้แก่ธนาคารจนครบ โดยปราศ-จากเงื่อนไข และโดยจะไม่ยกเอาเหตุผลใด ๆ เข้าเป็นข้อต่อสู้ เพื่อในการหลุดพ้นจากภาระความรับผิดนี้"  หมายความว่า จำเลยที่ 2 ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในตำแหน่งขณะที่ทำงานกับโจทก์และตำแหน่งอื่นใด ซึ่งจะมีการโยกย้ายในภายหน้าด้วย ดังนั้น แม้โจทก์จะเลื่อนตำแหน่งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการสาขา ก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมค้ำประกันด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้ซึ่งจำเลยที่ 2 ค้ำประกันได้ทุจริตต่อหน้าที่ทำความเสียหายแก่โจทก์ จำนวน 83,000,000 บาท และผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ย่อมเรียกให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระแก่โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 และ 686 ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 2 มานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย อุทธรณ์ของโจทก์ฟังขึ้น
 
                พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ชำระ ก็ให้จำเลยที่ 2 รับผิดชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยแทน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามพิพากษาศาลแรงงานกลาง (ตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 6100/2546)

ยงยุทธ   ไชยมิ่ง

ที่มา: นิตยสาร Recruit Update ฉบับที่ 401  วันที่  1-15  พฤษภาคม  2547


อัพเดทล่าสุด