https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ผลิตสินค้าชำรุดทำให้นายจ้างเสียหาย MUSLIMTHAIPOST

 

ผลิตสินค้าชำรุดทำให้นายจ้างเสียหาย


591 ผู้ชม


ผลิตสินค้าชำรุดทำให้นายจ้างเสียหาย




            กรรมการลูกจ้างมีหน้าที่รับผิดชอบในการผลิตถึงน้ำมันรถยนต์ได้ผลิตถังน้ำมันแต่ถังน้ำมันชำรุดเป็นเหตุให้นายจ้างต้องชดใช้ค่าเสียหายให้ลูกค้า ผู้จัดการได้เคยเตือนแล้ว แต่ก็ไม่ดีขึ้น กรรมการลูกจ้างยังทำให้นายจ้างต้องเสียหายเป็นเงินค่อนข้างสูง ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการลูกจ้างก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างหลายครั้งหลายหน เป็นเวลานานนายจ้างย่อมมีสิทธิเลิกจ้างได้นั้น แม้คำวินิจฉัยดังกล่าว จะไม่ระบุว่าโดยเจตนาหรือจงใจก็ตาม แต่ก็เป็นคำวินิจฉัยที่มีเนื้อหาสาระ แสดงให้เห็นได้ว่าเป็นการวินิจฉัยถึงกรณีที่กรรมการลูกจ้างก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างโดยคำนึงถึงเจตนาและการจงใจของกรรมการลูกจ้างอันเป็นเหตุเลิกจ้างได้ตามระเบียบข้อบังคับการทำงานของบริษัท

             แม้คำวินิจฉัยของศาลแรงงาน ระบุว่าผู้จัดการได้เคยเตือนกรรมการลูกจ้างแล้วก็ไม่ดีขึ้น กรรมการลูกจ้างยังทำให้นายจ้างต้องเสียหายค่อนข้างสูงนั้น การเตือนดังกล่าวเป็นการเตือนที่มีลักษณะแตกต่างกับใบเตือนของบริษัทที่กำหนดว่า บริษัทจะลงโทษด้วยใบเตือนครั้งละ 1 ใบ อันเป็นโทษตามระเบียบข้อบังคับการทำงานของบริษัทนายจ้าง ทั้งคำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางดังกล่าวเป็นเพียงส่วนหนึ่งแห่งคำวินิจฉัยในประเด็นที่ว่านายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างหรือไม่เท่านั้น ดังนั้นเตือนของผู้จัดการที่เตือนกรรมการลูกจ้าง จึงมิใช่เป็นการเตือนตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน จึงมิต้องได้รับอนุญาตจากศาลเสียก่อน (คำพิพากษาฎีกาที่ 3682/2530)

อัพเดทล่าสุด