https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ฎีกาแรงงาน คำพิพากษา คดีแรงงาน ต่างๆที่น่าสนใจ จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย MUSLIMTHAIPOST

 

ฎีกาแรงงาน คำพิพากษา คดีแรงงาน ต่างๆที่น่าสนใจ จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย


632 ผู้ชม


จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย




        กรณีลูกจ้างจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายอันจะเป็นเหตุให้นายจ้างสามารถเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา ๑๑๙(๒)แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ หมายถึงลูกจ้างกระทำโดยตั้งใจให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง หรืออีกนัยหนึ่งลูกจ้างกระทำโดยรู้ถึงผลเสียหายที่จะเกิดแก่นายจ้าง


        การที่พนักงานแผนกซ่อมบำรุงของจำเลยผู้เป็นนายจ้างไปตรวจเช็คเครื่องเติมอากาศบ่อบำบัดน้ำเสียพบว่ามีเสียงดังผิดปกติ จึงรายงานให้โจทก์ซึ่งเป็นหัวหน้างานทราบ แต่โจทก์ไม่พูดอะไรและไม่ได้ไปดู จนกระทั่งพนักงานดังกล่าวเห็นว่าหากปล่อยทิ้งไว้จะทำให้เกิดความเสียหาย จึงหยุดเครื่อง แล้วโจทก์จึงสั่งให้พนักงานไปถอดมาซ่อมยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ตั้งใจให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง การกระทำของโจทก์มิใช่เป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ แต่การกระทำดังกล่าวของโจทก์เป็นการละเลยต่อหน้าที่การงานอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ ซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบโดยเคร่งครัดถือว่าเป็นการทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา ๕๘๓ประกอบด้วย พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ มาตรา ๑๗ วรรคสุดท้าย

คำพิพากษาฎีกาที่ 902/2545

อัพเดทล่าสุด