https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ฎีกาแรงงาน คำพิพากษา คดีแรงงาน ต่างๆที่น่าสนการเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย : กรณีลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย และเป็นธรรม( ส่วนที่2 ) MUSLIMTHAIPOST

 

ฎีกาแรงงาน คำพิพากษา คดีแรงงาน ต่างๆที่น่าสนการเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย : กรณีลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย และเป็นธรรม( ส่วนที่2 )


908 ผู้ชม


การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย : กรณีลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย และเป็นธรรม( ส่วนที่2 )




การฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างมี 2 กรณี8 คือ
  1. กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างได้ในการกระทำครั้งแรกของลูกจ้าง โดยนายจ้าง ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับลูกจ้าง
  2. กรณีไม่ร้ายแรง นายจ้างจะต้องตักเตือนลูกจ้างเป็นหนังสือก่อน ถ้าลูกจ้างได้กระทำความผิดในเรื่องเดียวกันนั้นซ้ำอีกภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิดครั้งแรก9 นายจ้างจึงสามารถเลิกจ้างลูกจ้างนั้นได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
กรณีที่ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างนั้น เป็นการยากที่จะบอกได้ว่ากรณีใดเป็นการกระทำผิดกรณีร้ายแรง หรือกรณีไม่ร้ายแรง เนื่องจากพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ก็ไม่ได้กำหนดคำนิยามเอาไว้ แต่แนวทางการพิจารณาในปัจจุบันนั้น จะยึดถือตามคำพิพากษาฎีกาต่าง ๆ แต่ทั้งนี้ความผิดกรณีร้ายแรง หรือกรณีไม่ร้ายแรงนั้นก็ย่อมขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจนั้น ๆ หรือตำแหน่งหน้าที่ของลูกจ้างแต่ละคนด้วย เช่น ลูกจ้างเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ดื่มสุราในขณะปฏิบัติหน้าที่นั้น ถือเป็นกรณีที่ร้ายแรงเป็นต้น10
ตัวอย่างของการกระทำความผิดกรณีร้ายแรง และกรณีไม่ร้ายแรงนั้นมีดังต่อไปนี้

กรณีไม่ร้ายแรง

  1. การเล่นแชร์ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับการทำงาน ไม่ถือเป็นกรณีที่ร้ายแรง11
  2. ลูกจ้างมาทำงานสาย และกระทำการอันไม่สมควรต่อผู้บังคับบัญชาถือว่าเป็นการฝ่าฝืน ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานในกรณีที่ไม่ร้ายแรง12
  3. ลูกจ้างดื่มสุรานอกเวลาทำงาน แล้วชกต่อยเพื่อร่วมงาน ด้วยเหตุเมาสุรา 1 ครั้ง ได้รับบาดเจ็บขอบตาช้ำ ไม่ถือว่าเป็นกรณีร้ายแรง13

กรณีร้ายแรง

  1. การเล่นการพนันในบริเวณบริษัท ไม่ว่าจะเป็นเวลาในขณะปฏิบัติหน้าที่หรือนอกเวลา ก็ตาม นอกจากจะเป็นการกระทำผิดกฎหมายอาญาแล้ว ยังเป็นบ่อเกิดอาชญากรรม เป็นชนวนให้เกิดการวิวาทบาดหมางในหมู่คนงานด้วยกัน ทำลายความสามัคคีของหมู่คณะ ทำให้ผลงานของลูกจ้างลดน้อยลง และอาจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายทางชื่อเสียง การฝ่าฝืนข้อบังคับในเรื่องการเล่นการพนันจึงเป็นกรณีที่ ร้ายแรง14
  2. การที่ลูกจ้างทั้งสองซึ่งเป็นยามดื่มสุราในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ อาจทำให้การปฏิบัติหน้าที่ผิดพลาด หรือบกพร่องได้โดยง่ายเพราะขาดสติสัมปชัญญะ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากแก่ ทั้งบริษัทผู้เป็นนายจ้าง และได้รับความเสียหายทางชื่อเสียง การที่ลูกจ้างดื่มสุราถือว่าเป็นกรณีที่ร้ายแรง15
  3. การตอกบัตรลงเวลาทำงานแทนพนักงานอื่นโดยไม่ตรงกับความจริงอันอาจทำให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง และอาจต้องจ่ายรางวัลการทำงานแก่พนักงานผู้นั้นมากกว่าความเป็นจริง แม้การกระทำดังกล่าว ผู้กระทำไม่ได้รับประโยชน์ก็ตาม ถือเป็นการฝ่าฝืนต่อระเบียบเกี่ยวกับการทำงานกรณีที่ร้ายแรง16
คำพิพากษาฎีกาที่ 1322/2523 มีข้อสังเกตที่น่าสนใจ คือ ข้อเท็จจริงในคดีนี้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างได้กำหนดในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่า "การเล่นการพนันในบริเวณบริษัทเป็นความผิดสถานหนักมีโทษถึงปลดออกหรือไล่ออก" และลูกจ้างซึ่งเป็นโจทก์นั้นได้เล่นการพนันในหอพักซึ่งอยู่ในบริเวณบริษัท การกระทำผิดของลูกจ้างในกรณีนี้จึงเป็นการกระทำความผิดกรณีที่ร้ายแรง เนื่องจากฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าว
จากคำพิพากษาฎีกาข้างต้นนั้นทำให้เกิดข้อสงสัยว่าหากบริษัท หรือนายจ้างไม่ได้กำหนดว่าการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งของลูกจ้างเป็นกรณีที่ร้ายแรง หรือกรณีไม่ร้ายแรงเอาไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน และเมื่อลูกจ้างได้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งที่ถือว่าเป็นความผิดนั้นแล้ว นายจ้างจำเป็นที่จะต้องตักเตือนลูกจ้างก่อน (กรณีที่ไม่ร้ายแรง) หรือนายจ้างสามารถเลิกจ้างลูกจ้างได้เลย (กรณีที่ร้ายแรง) ซึ่งประเด็นนี้มีตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาตีความเอาไว้ว่า "นายจ้างไม่ได้กำหนดว่ามีโทษใดเป็นกรณีที่ร้ายแรง จะถือว่าเป็นโทษกรณีที่ร้ายแรงไม่ได้" เช่น

โดย จุฬาวุฒิ คณารักษ์
สำนักงานที่ปรึกษากฎหมาย


อัพเดทล่าสุด