https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ฎีกาแรงงาน คำพิพากษา คดีแรงงาน ต่างๆที่น่าสนใจ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน และวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ : มาตรา ๔๕ าลแรงงานมีอำนาจเรียกพยานมาสืบได้เอง ... MUSLIMTHAIPOST

 

ฎีกาแรงงาน คำพิพากษา คดีแรงงาน ต่างๆที่น่าสนใจ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน และวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ : มาตรา ๔๕ าลแรงงานมีอำนาจเรียกพยานมาสืบได้เอง ...


681 ผู้ชม


พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน และวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ : มาตรา ๔๕ าลแรงงานมีอำนาจเรียกพยานมาสืบได้เอง ...




คำพิพากษาฎีกาที่ ๘๘๑๔–๘๘๑๗/๒๕๔๒ ศาลแรงงานมีอำนาจเรียกพยานมาสืบได้เอง หรือกำหนดให้คู่ความนำพยานมาสืบโดยจะให้ยื่นบัญชีระบุพยานหรือไม่ก็ได้ การที่ศาลแรงงานกลางรับฟังเอกสารที่โจทก์อ้างส่งเป็นพยานโดยที่โจทก์ไม่ได้ระบุเอกสารดังกล่าวไว้ในบัญชีระบุพยานจึงชอบด้วยกฎหมาย
 
คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๗/๒๕๔๓ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๔๖ ได้กำหนดวิธีซักถามพยานและวิธีบันทึกคำพยานในการพิจารณาคดีแรงงานไว้เป็นการเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๘๙ มาใช้บังคับได้ ดังนั้น การที่ศาลแรงงานกลางรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์ซึ่งนำมาสืบในภายหลังโดยโจทก์มิได้ซักถามพยานจำเลยเกี่ยวกับเรื่องที่โจทก์จะนำสืบในภายหลังเพื่อให้พยานจำเลยได้อธิบายถึงข้อความเหล่านั้นก่อน จึงไม่เป็นการรับฟังพยานหลักฐานที่ขัดต่อกฎหมายแต่อย่างใด
 
คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๒๘/๒๕๔๓ การที่ลูกจ้างร่างคำสั่งไม่ให้พนักงานทดลองงานผ่านการทดลองงานให้รองประธานกรรมการของบริษัทลงนาม อันเป็นผลให้พนักงานผู้นั้นพ้นจากการเป็นพนักงานของนายจ้างโดยไม่ได้ปรึกษากรรมการผู้จัดการของนายจ้าง จะเป็นการขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของกรรมการผู้จัดการ แต่ลูกจ้างได้ปฏิบัติตามคำสั่งของรองประธานกรรมการบริษัทซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของลูกจ้างในสายงาน จึงมิใช่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งในกรณีร้ายแรง และการฝ่าฝืนคำสั่งเช่นนี้นายจ้างอาจลงโทษได้ แต่ยังไม่ถึงขนาดที่นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้าง การที่นายจ้างมีคำสั่งเลิกจ้าง จึงเป็นการเลิกจ้างที่ยังไม่มีเหตุสมควรจะเลิกจ้าง เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
 
คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๔๙๒/๒๕๔๒ การเลิกจ้างในกรณีเช่นใดจะเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔๙ นั้น ศาลแรงงานสามารถวินิจฉัยได้โดยคำนึงถึงเหตุอันควรในการเลิกจ้าง ประกอบกับระเบียบข้อบังคับการทำงานซึ่งถือได้ว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าลูกจ้างไม่ได้กระทำผิดระเบียบข้อบังคับหรือคำสั่งของนายจ้างเป็นกรณีร้ายแรง ทั้งข้อบังคับของนายจ้างก็กำหนดให้การลงโทษไล่ออกกระทำได้ในกรณีที่พนักงานกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง เมื่อการกระทำของลูกจ้างไม่เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง นายจ้างลงโทษไล่ลูกจ้างออกจากงานจึงไม่ชอบด้วยระเบียบข้อบังคับของนายจ้างดังกล่าว จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

อัพเดทล่าสุด