https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 กรณี ไม่ถือว่าได้รับความเดือดร้อน MUSLIMTHAIPOST

 

พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 กรณี ไม่ถือว่าได้รับความเดือดร้อน


556 ผู้ชม


พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 กรณี ไม่ถือว่าได้รับความเดือดร้อน




ผู้ตายประสบอันตรายถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง ผู้ตายได้เช่าซื้อรถยนต์ให้โจทก์ประกอบอาชีพและให้โจทก์เป็นผู้ค้ำประกันการเช่าซื้อ  ผู้ให้เช่าซื้อได้ทวงถามและเป็นเหตุให้โจทก์ต้องหาเงินไปชำระค่าเช่าซื้อ  การที่โจทก์ทวงถามให้ชำระค่าเช่าซื้อเป็นกรณีถูกทวงถามให้ปฎิบัติตามสัญญาค้ำประกันในฐานะที่ โจทก์เป็นผู้ค้ำประกันในการเช่าซื้อ แม้โจทก์จะเป็นผู้อยู่ในอุปการะของผู้ตายและได้รับความเดือดร้อนจากการถูกทวงถามค่าเช่าซื้อก็เป็นกรณีที่โจทก์ได้รับความเดือดร้อนเพราะถูกบังคับตามสัญญาค้ำประกัน  ไม่ถือว่าโจทก์ได้รับความเดือดร้อนเพราะขาดอุปการะจากผู้ตายตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 20 วรรคท้าย โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทน

หมายเหตุ   บุคคลที่อยู่ในอุปการะของลูกจ้างก่อนลูกจ้างถึงแก่ความตาย โดยจะมีสิทธิรับเงินทดแทนต่อเมื่อ  ปรากฎข้อเท็จจริง ดังนี้

1. ลูกจ้างไม่มีทายาทโดยธรรมคือ ไม่มีบิดามารดา  สามีภรรยาและบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย

2. ต้องเป็นผู้ที่ลูกจ้างได้ให้ความอุปการะคุณอยู้แล้วก่อนที่ลูกจ้างจะถึงแก่ความตาย

3. บุคคลนั้นได้รับความเดือดร้อนเพราะขาดอุปการะจากการที่ลูกจ้างตายหรือสูญหาย

ที่มา : สมบัติ ลีกัล

ที่มา : หลักกฎหมายเงินทดแทนสำหรับนายจ้างและลูกจ้าง โดย ปราณี  สุขศรี


อัพเดทล่าสุด