ประกันสังคม กองทุนเงินทดแทน กรณีปลูกถ่ายไขกระดูก MUSLIMTHAIPOST

 

ประกันสังคม กองทุนเงินทดแทน กรณีปลูกถ่ายไขกระดูก


873 ผู้ชม


กรณีปลูกถ่ายไขกระดูก




กรณีปลูกถ่ายไขกระดูก

สำนักงานประกันสังคมจะจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่สถานพยาบาลในความตกลงที่ให้ บริการผู้ประกันตนจนสิ้นสุดการรักษา ในวงเงิน 750,000 บาท

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการปลูกถ่ายไขกระดูก

1. ผู้ประกันตนจะต้องเจ็บป่วยด้วยโรคใดโรคหนึ่งดังต่อไปนี้
         1.1 Chronic myeloid lekemia ในระยะ chronic phase
         1.2 Acute nonlymphocytic leukemia ในระยะ first complete remission
         1.3 Acute lymphocytic leukemai ชนิดที่มีความเสี่ยงสูง ควรทำในระยะเวลา First complete สำหรับคนที่มีความ
              เสี่ยงปกติอาจจะทำได้ในระยะ second complete Remission
         1.4 Malignant lymphoma ที่ relapse หรือ refractory ต่อการให้ first line chemotherapy
         1.5 Multiple myeloma
         1.6 Servere aplastic anemia
         1.7 มะเร็งเต้านมที่มีการแพร่กระจายของมะเร็งไปที่ต่อมน้ำเหลืองเกินสิบต่อมแล้ว
2. ผู้ประกันตนจะต้องไม่เป็นโรคตาม 1.1) 1.2) 1.3) 1.4) 1.5) 1.6) หรือ 1.7) มาก่อนที่จะเป็นผู้ประกันตน
3. ให้คณะกรรมการการแพทย์เป็นผู้ให้คำปรึกษาและแนะนำแก่สำนักงานในการพิจารณาอนุมัติให้ผู้ประกันตน
     เข้ารับการปลูกถ่ายไขกระดูก
4. ให้ผู้ประกันตนที่ได้รับการอนุมัติให้ปลูกถ่ายไขกระดูกไปเข้ารับการบริการทางแพทย์กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บ
     ป่วยด้วยเหตุหรือโรคอื่น ๆ จากสถานพยาบาลที่เป็นผู้ให้บริการทางการแพทย์กรณีปลูกถ่ายไขกระดูกในช่วงระยะ
     เวลาของกระบวนการปลูกถ่ายไขกระดูก

แนวปฏิบัติกรณีผู้ประกันตนขอรับประโยชน์ทดแทนในการปลูกถ่ายไขกระดูก

ที่มา : ประกาศสำนักงานประกันสังคมและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการบริการทางการแพทย์ (พ.ศ. 2534 -2546) (กองประสานการแพทย์ฯ) หน้า. 101
1. แนวปฏิบัติสำหรับสถานพยาบาล : เมื่อสถานพยาบาลตรวจวินิจฉัยพบว่า ผู้ประกันตนรายใดเจ็บป่วยด้วยโรคใดโรคหนึ่ง ตามประกาศสำนักงานประกันสังคมเรื่องหลักเกณฑ์และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน (ฉบับที่ 3) ประกาศ ณ วันที่ 29 เมษายน 2540 แล้ว มีความเห็นว่าผู้ประกันตนมีความเหมาะสมตามสภาพร่างกายและความจำเป็นที่จะต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีปลูกถ่ายไขกระดูกให้ปฏิบัติดังนี้
         1.1 แพทย์ผู้ทำการวินิจฉัยรักษาเป็นผู้ให้รายละเอียดของประวัติการเจ็บป่วยของผู้ประกันตนในข้อกำหนด คือ
                     - ชื่อสถานพยาบาล
                     - ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ประกันตน
                     - ระบุวัน เดือน ปี ของการเกิดโรคโดยชัดเจน
                     - สภาพทั่วไปของผู้ประกันตนเพื่อประเมินความพร้อมของร่างกายที่จะสามารถรับการปลูกถ่ายไขกระดูก
                       ได้หรือไม่
                     - เหตุผลความจำเป็นในการปลูกถ่ายไขกระดูกและการพยากรณ์โรค
         1.2 สำเนาเวชระเบียนที่เกี่ยวข้อง
         1.3 ขอให้สถานพยาบาลเป็นผู้จัดเตรียมเอกสารตาม 1.1 และ 1.2 มอบให้กับผู้ประกันตนและแนะนำให้ผู้ประกัน
               ตนติดต่อกับสำนักงานประกันสังคมที่ส่งเงินสมทบ หรือเขตพื้นที่ที่ประจำทำงานอยู่
2. แนวปฏิบัติสำหรับสำนักงานประกันสังคม : สำนักงานประกันสังคมที่ผู้ประกันตนส่งเงินสมทบ หรือที่ผู้ประกันตนประจำทำงานอยู่เป็นผู้ รับเรื่อง โดยให้กรอกข้อมูลในแบบคำร้องทั่วไป จากนั้นดำเนินการต่อไปนี้
         2.1 ตรวจสอบเอกสารจากสถานพยาบาลตาม 1.1 ประสานงานกับสถานพยาบาล ถ้าข้อมูลไม่ครบถ้วน
         2.2 ตรวจสอบสถานภาพการเป็นผู้ประกันตนและข้อมูลประกอบในข้อกำหนด คือ
                     - ชื่อ สกุล เลขที่บัตรประกันสังคม
                     - วัน เดือน ปีเกิด
                     - เป็นพนักงานของบริษัทใดพร้อมระบุเลขที่บัญชีของบริษัท
                     - ตำแหน่งหน้าที่ อัตราเงินเดือนปัจจุบัน
                     - โรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ คือโรงพยาบาลใด
                     - เริ่มส่งเงินสมทบเมื่อใด
                     - สถานภาพครอบครัว
                     - มีสถานภาพครอบครัว
                     - มีสถานที่พักระหว่างการรับการรักษาในกรุงเทพมหานครหรือไม่ และอยู่บริเวณใด
                     - ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ (ถ้ามี) ที่ติดต่อได้สะดวกที่สุด
                     - อื่น ๆ ตามควรแก่กรณี
         2.3 ส่งเรื่องให้กองประสานการแพทย์ฯ ดำเนินการเสนอเข้าอนุกรรมการปลูกถ่ายไขกระดูก
               และคณะ กรรมการการแพทย์ โดยจัดทำข้อสรุปข้อมูลในรูปแบบของระเบียบวาระการประชุม (กองประสาน
               การแพทย์ฯ) จะเป็นผู้ดำเนินการประสานงานให้ผู้ประกันตนเดินทางมาแสดงตนต่อคณะอนุกรรมการปลูก
               ถ่ายไขกระดูก และดำเนินการส่งตัวผู้ประกันตนเข้ารับการรักษาประสานงานหน่วยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจนสิ้น
               สุดกระบวนการรักษา)
         2.4 เมื่อได้รับแจ้งการเข้ารับการรักษาพยาบาลจากกองประสานการแพทย์ฯ แล้วให้ดำเนินการเปลี่ยนสถาน
               พยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ ให้แก่ผู้ประกันตนให้ไปสังกัดอยู่กับสถานพยาบาลที่ทำการรักษาในวันที่ 16
               ของเดือนนั้น หรือวันที่ 1 ของเดือนถัดไป (ตามหลักการเปลี่ยนบัตรเดิม) และการดำเนินการเปลี่ยนสถาน
               พยาบาลให้เป็นไปตามสถานที่ที่ผู้ประกันตนต้องการสิ้นสุดกระบวนการปลูกถ่ายไขกระดูกแล้ว

แหล่งข้อมูล : สำนักงานประกันสังคม


อัพเดทล่าสุด