https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
พยาบาลนอกเวลาจึงเป็นลูกจ้างที่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 MUSLIMTHAIPOST

 

พยาบาลนอกเวลาจึงเป็นลูกจ้างที่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533


630 ผู้ชม


พยาบาลนอกเวลาจึงเป็นลูกจ้างที่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533




คดีแดงที่  875/2548

บริษัทเพชรบุรีโฮลดิ้ง จำกัด กับพวก โจทก์
สำนักงานประกันสังคม กับพวก จำเลย

 

พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 4 (1)

พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 4 (1) บัญญัติว่าพระราชบัญญัตินี้ไม่ให้ใช้บังคับแก่ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวรายวัน และลูกจ้างชั่วคราวรายชั่วโมงของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และ ราชการส่วนท้องถิ่น ยกเว้นลูกจ้างชั่วคราวรายเดือน โดยมิได้ให้ความหมายคำว่า "ข้าราชการ" ไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้ความหมายคำว่า "ข้าราชการ" ตามพจนานุกรม คือ คนที่ทำงานราชการตามทำเนียบ ผู้ปฏิบัติราชการในส่วนราชการ ซึ่งหมายถึงผู้ที่ปฏิบัติราชการหรือทำงานในหน้าที่ราชการ เมื่อฟังได้ว่าพยาบาลนอกเวลาแม้เป็นข้าราชการประจำ แต่ได้ทำงานให้แก่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเอกชนนอกเวลาราชการในฐานะลูกจ้างของโจทก์ทั้งสอง พยาบาลนอกเวลา จึงไม่ใช่ข้าราชการตามความในมาตรา 4 (1) แห่ง พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 และเป็นลูกจ้างซึ่งต้องอยู่ในบังคับของบทกฎหมายดังกล่าว โจทก์ทั้งสองผู้เป็นนายจ้างจึงต้องนำส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคมและเงินสมทบ กองทุนเงินทดแทนสำหรับลูกจ้างดังกล่าว

 

…………………..……………………………………………………………..

 

โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยทั้งสองและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ที่สั่งให้โจทก์ทั้งสองจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทนตามฟ้อง ให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายประกันสังคม และกฎหมายเงินทดแทน

จำเลยทั้งสองให้การขอให้ยกฟ้อง

ศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้อง

โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์ทั้งสองเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ประกอบกิจการโรงพยาบาลเอกชน ให้บริการทางการแพทย์แก่ประชาชนในนามของโรงพยาบาลเพชรรัชต์ โดยว่าจ้างบุคคลภายนอกเข้าทำงานเป็นลูกจ้างหลายฝ่าย เฉพาะฝ่ายการพยาบาลมีลูกจ้างอยู่ 2 ประเภท คือ พยาบาลเต็มเวลา (FULL TIME) ปฏิบัติงานในช่วงเวลาปกติระหว่าง 8 นาฬิกา ถึง 17 นาฬิกา กับพยาบาลนอกเวลา (PART TIME) ปฏิบัติงานในช่วงเวลาเย็นและกลางคืน พยาบาลนอกเวลาที่โจทก์ทั้งสองจ้างทำงานนั้นเป็นข้าราชการประจำ มาทำงานให้โจทก์ทั้งสองนอกเวลาราชการ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสองว่า พยาบาลนอกเวลาดังกล่าว เป็นข้าราชการตามความในมาตรา 4 (1) แห่ง พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 หรือไม่ เห็นว่า พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 4 (1) บัญญัติว่า พระราชบัญญัตินี้ไม่ให้ใช้บังคับแก่ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวรายวัน และลูกจ้างชั่วคราวรายชั่วโมงของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น ยกเว้นลูกจ้าง ชั่วคราวรายเดือน โดยมิได้ให้ความหมายคำว่า "ข้าราชการ" ไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้ความหมายคำว่า "ข้าราชการ" ตามพจนานุกรมคือ คนที่ทำงานราชการตามทำเนียบ ผู้ปฏิบัติราชการในส่วนราชการ ซึ่งหมายถึงผู้ที่ปฏิบัติราชการหรือทำงานในหน้าที่ราชการ สำหรับกรณีนี้พยาบาลนอกเวลาเป็นผู้ที่ทำงานให้แก่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเอกชนนอกเวลาราชการในฐานะลูกจ้างของโจทก์ทั้งสอง จึงไม่ใช่ข้าราชการตามความในมาตรา 4 (1) แห่ง พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 พยาบาลนอกเวลาจึงเป็นลูกจ้างที่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 ไม่ได้รับการยกเว้น โจทก์ทั้งสองจึงเป็นนายจ้างที่ต้องนำส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคมและเงินทดแทน ศาลแรงงานกลางพิพากษาชอบแล้ว

พิพากษายืน.

 

(จรัส พวงมณี - ชวลิต ยอดเณร - รุ่งโรจน์ รื่นเริงวงศ์ )

 

ศาลแรงงานกลาง - นายพงษ์รัตน์ เครือกลิ่น

ศาลอุทธรณ์ -


อัพเดทล่าสุด