https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
กองทุนเงินทดแทน (Workmen’ s Compensation Fund) MUSLIMTHAIPOST

 

กองทุนเงินทดแทน (Workmen’ s Compensation Fund)


8,958 ผู้ชม


กองทุนเงินทดแทน (Workmen’ s Compensation Fund)




กองทุนเงินทดแทน (Workmen’ s Compensation Fund)

เป็นกองทุนที่ให้ความคุ้มครองและดูแลลูกจ้างที่ประสบอันตราย สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ ตาย หรือสูญหาย จากการทำงาน หรือปกป้องรักษาทรัพย์สิน    ของนายจ้าง (Work-Related Accidents)  และเจ็บป่วย หรือเป็นโรคจากการทำงาน (Occupational & Work-Related Diseases)

 ขอบข่ายความคุ้มครอง

            พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 บังคับใช้กับ สถานประกอบการธุรกิจเอกชนทุกประเภท ที่แสวงหากำไรทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป    ทั่วราชอาณาจักร ยกเว้น

1)   ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น
2)   รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์

3)   นายจ้าง ซึ่งประกอบธุรกิจโรงเรียนเอกชน ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน เฉพาะในส่วนที่เกี่ยว กับครู หรือครูใหญ่

4)    นายจ้างซึ่งดำเนินกิจการ ที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ

5)     นายจ้างอื่น ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

เงินสมทบกองทุนเงินทดแทน

พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.. 2537 กำหนดให้นายจ้าง ที่มีหน้าที่จ่ายเงินสมทบกองทุนฝ่ายเดียว (Compulsory Insurance) เพื่อจัดเก็บไว้สำรองจ่ายเป็นค่าทดแทน สำหรับเป็นค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทน กรณีไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามปกติได้เกิน 3 วัน ติดต่อกัน กรณีสูญเสียอวัยวะ กรณีทุพพลภาพ ตาย     และสูญหายจากการทำงาน โดยการจัดเก็บเงินสมทบอัตราหลัก (Basic Rate) จากนายจ้าง ปีละ 1 ครั้ง  ในอัตราร้อยละ 0.2 – 1.0 ของค่าจ้างตามลักษณะความเสี่ยงของประเภทกิจการ โดยค่าจ้างต่ำสุดของลูกจ้าง 1 คน ที่นำมาคำนวณเงินสมทบ จะต้องไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างรายวันขั้นต่ำ    และค่าจ้างสูงสุดไม่เกินปีละ 240,000 บาท/คน

 

 

ที่มา : สำนักงานประกันสังคม

 

อัพเดทล่าสุด