https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
การนำคดีไปสู่ศาล MUSLIMTHAIPOST

 

การนำคดีไปสู่ศาล


512 ผู้ชม


การนำคดีไปสู่ศาล




    

การนำคดีไปสู่ศาล

 

 มาตรา 125 เมื่อพนักงานตรวจแรงงานได้มีคำสั่งตามมาตรา 124 แล้ว ถ้านายจ้าง ลูกจ้าง หรือ ทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายไม่พอใจคำสั่งนั้น ให้นำคดีไปสู่ศาลได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง

ในกรณีที่นายจ้าง ลูกจ้าง หรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายไม่นำคดีไปสู่ศาลแรงงานภายในกำหนด ให้คำสั่งนั้นเป็นที่สุด

ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายนำคดีไปสู่ศาล นายจ้างต้องวางเงินต่อศาลตามจำนวนที่ถึงกำหนดจ่ายตามคำสั่งนั้น จึงจะฟ้องคดีได้

เมื่อคดีถึงที่สุดและนายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินจำนวนใดให้แก่ลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตาย ให้ศาลมีอำนาจจ่ายเงินที่นายจ้างวางไว้ต่อศาลให้แก่ลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายได้

เมื่อพนักงานตรวจแรงงานได้มีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดดังได้กล่าวข้างต้นแล้ว นายจ้างก็ดีหรือลูกจ้างก็ดี หรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างก็ดี ไม่พอใจคำสั่งนั้น มีสิทธินำคดีไปสู่ศาลซึ่งได้แก่ศาลแรงงานได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้ทราบคำสั่งนั้น

ถ้านายจ้าง ลูกจ้าง หรือทายาทโดยธรรมไม่นำคดีไปสู่ศาล คำสั่งดังกล่าวก็เป็นที่สุดทั้งสองฝ่ายก็ต้องปฏิบัติตาม

กฎหมายได้กำหนดไว้เพื่อเป็นการคุ้มครองลูกจ้างต่อไปอีกว่า ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายนำคดีขึ้นสู่ศาล นายจ้างจะต้องวางเงินต่อศาลตามจำนวนที่ถึงกำหนดจ่ายตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานจึงจะมีสิทธิฟ้องคดีได้ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เป็นการฟ้องคดีเพื่อเป็นการประวิงเวลาในการจ่ายตามกฎหมาย

ข้อที่น่าสังเกต คือ กฎหมายกำหนดให้นายจ้างจ่ายเงินต่างๆ ตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานให้แก่ลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างภายใน 15 วัน แต่ในขณะเดียวกัน ถ้านายจ้าง ไม่เห็นด้วยก็ให้ฟ้องศาลภายใน 30 วัน จึงอาจจะเกิดปัญหาขึ้นมาได้ เพราะถ้านายจ้างไม่จ่ายเงินตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานภายใน 15 วัน ก็จะเป็นความผิดตาม กฎหมายขึ้นมาทันที (มาตรา 151 วรรคสอง) นายจ้างจะมีความผิดอาญานายจ้างจึงควรฟ้องต่อศาลแรงงานภายใน 15 วัน มิใช่ภายใน 30 วัน

วรรคท้ายของมาตรา 125 กำหนดว่า เมื่อคดีถึงที่สุด นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินจำนวนใดให้แก่ลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้าง ศาลมีอำนาจจ่ายเงินที่นายจ้างวางไว้ต่อศาลให้แก่ลูกจ้างหรือทายาทโดยชอบธรรมของลูกจ้างได้ ทำให้การจ่ายเงินเป็นไปโดยรวดเร็วและลูกจ้างหรือทายาทมีสิทธิได้รับเงินไปได้ทันที โดยไม่ต้องดำเนินการบังคับคดีกันอีกต่อไป

คำพิพากษาฎีกาที่ 3810/2542  การวางเงินตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานจะต้องให้สอดคล้องกับความไม่พอใจคำสั่งดังกล่าวด้วย โดยนายจ้างไม่พอใจหรือโต้แย้งคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเท่าใดก็วางเงินเพียงเท่าที่ตนโต้แย้ง ไม่จำต้องวางเต็มจำนวนตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานเสมอไป (คำพิพากษาฎีกาที่ 2811/2542) ก็วินิจฉัยไว้ทำนองเดียวกัน)

คำพิพากษาฎีกาที่ 2942/2545  โจทก์เพียงแต่นำเงินค่าชดเชยมาวางศาลต่อศาลแรงงานโดยมิได้นำดอกเบี้ยในค่าชดเชยตามจำนวนที่คำนวณได้ถึงวันฟ้องมาวางต่อศาลด้วย ถือว่าโจทก์วางเงินไม่ครบถ้วนตามคำสั่งของจำเลยเป็นเพียงฝืนมาตรา 125 วรรคสาม โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลย

คำอธิบายกฎหมายแรงงาน
โดย : ศาสตราจารย์เกษมสันต์  วิลาวรรณ


อัพเดทล่าสุด