https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
กฎหมายแรงงาน : ความหมาย ลักษณะและการบังคับใช้ MUSLIMTHAIPOST

 

กฎหมายแรงงาน : ความหมาย ลักษณะและการบังคับใช้


8,761 ผู้ชม


กฎหมายแรงงาน : ความหมาย ลักษณะและการบังคับใช้




ความหมาย

 

        กฎหมายคุ้มครองแรงงาน (Labour Protection Law)  เป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง โดยกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการจ้าง การใช้แรงงานและการจัดสถานที่และอุปกรณ์ในการทำงาน  เพื่อให้ผู้ทำงานมีสุขภาพอนามัยดี มีความปลอดภัยในชีวิตและร่างกาย และได้รับค่าตอบแทนตามสมควร นายจ้างมีแรงงานในกรผลิตหรือบริการที่คงสภาพในระยะยาว ประเทศมีความเจริญทางเศรษฐกิจ และมีความสงบมั่นคงทางสังคม

ชื่อ

        

        กฎหมายคุ้มครองแรงงานที่ใช้บังคับในปัจจุบัน คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2541 เป็นต้นมา

ลักษณะ

 

     กฎหมายคุ้มครองแรงงาน เป็นกฎหมายที่มีโทษทางอาญา เมื่อไม่ปฏิบัติตาม และพนักงานเจ้าหน้าที่ (พนักงานตรวจแรงงาน) อาจดำเนินคดีอาญาได้เมื่อตรวจพบ แม้จะไม่มีลูกจ้างหรือผู้ใดร้องทุกข์หรือกล่าวโทษก็ตาม นอกจากได้รับโทษทางอาญาแล้ว นายจ้างที่ฝ่าฝืนกฎหมายโดยไม่ให้สิทธิประโยชน์แก่ลูกจ้างอาจถูกดำเนินคดีแพ่งเพื่อบังคับให้จ่ายเงินหรือชดใช้ค่าเสียหายแก่ลูกจ้าง หรือมีผู้มีสิทธิด้วย

       กฎหมายคุ้มครองแรงงานเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย สัญญาหรือข้อตกลงระหว่างนายจ้างและลูกจ้างข้อใดที่เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายคุ้มครองแรงงาน (บทบัญญัติที่ใช้คำว่า “ห้ามมิให้”) ย่อมเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150 และสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างนายจ้างและลูกจ้างข้อใดที่เป็นการแตกต่างกับบทบัญญัติของกฎหมายคุ้มครองแรงงาน (บทบัญญัติที่ใช้คำว่า “ให้” หรือ “ต้อง”  ย่อมเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150,151 เช่นเดียวกัน

               

      อย่างไรก็ตาม หากนายจ้างและลูกจ้างทำสัญญาหรือข้อตกลงภายหลังสิ้นสุดการจ้างแล้ว สัญญาหรือข้อตกลงนั้นมีผลใช้บังคับได้

 

แนวคิดในการปฏิบัติตามกฎหมาย

 

        1. กฎหมายคุ้มครองแรงงานมีทั้งบทบัญญัติที่เป็นข้อห้าม (ที่ใช้คำว่า “ห้ามมิให้”) และบทบัญญัติที่เป็นข้อต้องปฏิบัติ (ที่ใช้คำว่า “ให้” หรือ “ต้อง”) นายจ้าง ลูกจ้าง และผู้ที่เกี่ยวข้องควรปฏิบัติตาม เพราะการปฏิบัติตามนอกจากจะไม่ต้องรับโทษแล้ว ยังได้รับประโยชน์จากเจตนารมณ์ของกฎหมายด้วย

        2. นายจ้างและลูกจ้างไม่พึงตกลงหรือทำสัญญากำหนดเงื่อนไขให้ลูกจ้างได้รับสิทธิประโยชน์หรือได้รับการคุ้มครองน้อยลงกว่าที่กฎหมายกำหนด เนื่องจากจะทำให้เกิดปัญหาข้อพิพาท และคดีทั้งทางอาญาและทางแพ่งตามมา

        3. นายจ้างไม่อาจกำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือออกคำสั่งใดๆ ในทางลิดรอนสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายของลูกจ้างหรือทำให้ลูกจ้างต้องรับภาระหรือต้องดำเนินการอย่างใดยิ่งกว่าที่กฎหมายกำหนด การฝ่าฝืนจะมีผลให้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานระเบียบหรือคำสั่งนั้นใช้บังคับไม่ได้  โดยเหตุที่เป็นการขัดต่อกฎหมาย

        4. นายจ้างที่กำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือออกคำสั่งใดๆ ที่เป็นคุณหรือเป็นผลดีแก่ลูกจ้างยิ่งกว่ากฎหมายกำหนด ย่อมใช้บังคับได้และมีผลผูกพันนายจ้างและนายจ้างจะใช้กฎหมายอื่นแทนมิได้

การตีความกฎหมายคุ้มครองแรงงาน

 

      การตีความกฎหมายคุ้มครองแรงงานในส่วนที่กำหนดความผิดและมีโทษทางอาญาจะต้องให้เป็นไปเช่นเดียวกับการตีความกฎหมายอาญาทั่วไป ส่วนการตีความในกรณีมีปัญหาหรือข้อสงสัยว่าจะตีความบทกฎหมายที่ไม่ชัดแจ้งไปในทางใด ให้ตีความไปในทางหรือนัย ที่จะให้การคุ้มครองลูกจ้าง และสร้างปทัสถานที่ดีแก่สังคมแรงงาน  ยิ่งกว่าที่จะตีความไปในทางหรือนัยที่จะให้ประโยชน์แก่นายจ้างหรือปัจเจกบุคคล

ขอบเขตการบังคับใช้

 

     พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ใช้บังคับแก่นายจ้าง ลูกจ้างในการจ้างงานทุกรายการ ไม่ว่าจะประกอบกิจการประเภทใด และไม่ว่าจะมีจำนวนลูกจ้างเท่าใดยกเว้นนายจ้างหรือกิจการตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 คือ

        1. ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น

        2. รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วนแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์

        3.  นายจ้างประเภทที่ได้รับกำหนดไว้ในกระทรวง ซึ่งไม่ใช้บังคับตามกฎหมายทั้งฉบับหรือบางส่วนก็ได้

    สำหรับข้อยกเว้นแรก คือ “ราชการ” นั้นพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของ “ราชการ” ไว้ว่า ราชการ หมายถึง การงานรัฐบาล หรือของพระเจ้าแผ่นดิน

 

            ราชการส่วนกลาง ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการอื่นซึ่งมีฐานะเป็นกรม

                ราชการส่วนภูมิภาค ได้แก่ จังหวัด อำเภอ

                ราชการท้องถิ่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล รวมทั้งกรุงเทพมหานคร

                ด้วย

    ดังนั้นบรรดาข้าราชการและลูกจ้างของทางราชการจึงไม่อยู่ในการคุ้มครองของกฎหมายคุ้มครองแรงงาน

    ส่วนข้อยกเว้นที่สอง  ที่ยกเว้นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์นั้น กฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์หมายถึงพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 หรือกฎหมายฉบับใหม่ที่ออกมาใช้บังคับแทนพระราชบัญญัติดังกล่าว

   ส่วนข้อยกเว้นส่วนที่สามนั้น กฎหมายให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานซึ่งเป็นผู้รักษาการตามกฎหมายฉบับนี้ที่จะออกกฎกระทรวงยกเว้นนายจ้างประเภทหนึ่งประเภทใด มิให้ใช้บังคับกฎหมายทั้งหมดหรือบางส่วนได้ ซึ่งได้มีการออกกฎกระทรวง (พ.ศ. 2541) และกฎกระทรวง ฉบับที่ 9 ( พ.ศ. 2541 ) ยกเว้นมิให้บังคับกฎหมายทั้งฉบับแก่โรงเรียนเอกชนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับครูใหญ่และครู งานเกษตรกรรมและงานรับไปทำที่บ้าน กับยกเว้นไม่ให้ใช้บังคับกฎหมายบางส่วนแก่นายจ้างซึ่งลูกจ้างทำงานเกี่ยวกับงานบ้านอันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย และนายจ้างซึ่งจ้างลูกจ้างทำงานที่มิได้แสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ

สภาพบังคับ

 

                พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 เป็นกฎหมายที่มีโทษทางอาญา โทษทางอาญาที่ได้บัญญัติไว้มีทั้งหมด 9 ขั้น ขั้นต่ำสุด ปรับไม่เกิน 5,000 บาท (มาตรา 145) ส่วนขั้นสูงสุด จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 148) แต่ความผิดตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานฉบับนี้เป็นความผิดที่เปรียบเทียบได้ (ปรับได้) ผู้ที่มีอำนาจเปรียบเทียบปรับผู้กระทำความผิดทางอาญาตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานสำหรับความผิดที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานหรือ ผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย สำหรับความผิดที่เกิดขึ้นในจังหวัดนอกจากกรุงเทพมหานคร ได้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย (มาตรา 159)


ข้อมูลอ้างอิง : คำอธิบายกฎหมายแรงงาน  พิมพ์ครั้งที่ 6 แก้ไขเพิ่มเติม

โดย : ศาสตราจารย์เกษมสันต์ วิลาวรรณ

อัพเดทล่าสุด