https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
กฎหมายแรงงาน : การคุ้มครองแรงงานกรณีพิเศษ MUSLIMTHAIPOST

 

กฎหมายแรงงาน : การคุ้มครองแรงงานกรณีพิเศษ


667 ผู้ชม


กฎหมายแรงงาน : การคุ้มครองแรงงานกรณีพิเศษ




มาตรา 22  งานเกษตรกรรม งานประมงทะเล งานบรรทุกหรือขนถ่ายสินค้าเรือเดินทะเล งานที่รับไปทำที่บ้าน งานขนส่ง และงานอื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาจะกำหนดในกฎกระทรวงให้มีการคุ้มครองแรงงานกรณีต่างๆแตกต่างไปจากพระราชบัญญัตินี้ก็ได้

               

        บทบัญญัติข้างต้นกำหนดไว้เพื่อแสดงว่า กฎหมายคุ้มครองแรงงานฉบับนี้ใช้บังคับแก่กิจการทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นงานเกษตรกรรม งานประมงทะเล งานบรรทุกหรือขนถ่ายเรือเดินทะเล งานรับไปทำที่บ้านหรืองานขนส่ง (ซึ่งงานบางประเภท เช่น งานรับไปทำที่บ้านเจ้าของงานและผู้รับงานไปทำที่บ้านไม่น่าจะมีฐานะเป็นนายจ้างและลูกจ้างตามกฎหมายนี้) อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีว่าการการทรวงแรงงานอาจออกกฎกระทรวงให้มีการคุ้มครองแรงงานเฉพาะบางเรื่อง บางหมวด หรือบางมาตราได้ เช่น ที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2541) กฎกระทรวง ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2541) กฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2541)  กฎกระทรวง ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2541)  กฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2543)  เป็นต้น

        อย่างไรก็ดี ภายหลังได้มีการออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 9  (พ.ศ.2541) ยกเว้นมิให้ใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 บังคับแก่นายจ้างซึ่งจ้างลูกจ้างทำงานเกษตรกรรม และงานที่รับไปทำที่บ้าน จึงทำให้งานสองประเภทดังกล่าวไม่อยู่ในขอบข่ายความคุ้มครองของกฎหมายคุ้มครองแรงงาน


อัพเดทล่าสุด