https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ศัพท์เฉพาะในการวิเคราะห์งาน MUSLIMTHAIPOST

 

ศัพท์เฉพาะในการวิเคราะห์งาน


1,843 ผู้ชม


ศัพท์เฉพาะในการวิเคราะห์งาน




ศัพท์เฉพาะในการวิเคราะห์งาน

 

ก่อนที่จะศึกษาเกี่ยวกับการวิเคราะห์งาน ควรจะทำความเข้าใจเกี่ยวกับศัพท์เฉพาะบางคำ (Terminology) ซึ่งเกี่ยวกับงานเสียก่อนดังต่อไปนี้

1. กิจกรรมย่อย (Element)

คือ ส่วนที่เล็กที่สุดของงานที่บุคคลต้องปฏิบัติ ซึ่งเป็นรายละเอียดของวิธีการ ขั้นตอน และเทคนิคในการปฏิบัติจัดทำ เพื่อก่อให้เกิดภารกิจและหน้าที่ต่อไป เช่น จัดเรียงเอกสารเข้าแฟ้ม

2. ภารกิจ (Task)

คือ กิจกรรมต่างๆที่ผู้ปฏิบัติงานจะต้องเริ่มทำตั้งแต่ต้นจนจบ โดยใช้ความรู้ความสามารถและความชำนาญของตนอย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อก่อให้เกิดผลงานขึ้นมา เช่น จัดแฟ้ม พิมพ์จดหมาย ทำใบเบิกวัสดุ เป็นต้น

3. หน้าที่ (Duty)

คือ จำนวนภารกิจหลายๆอย่างที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันตามลำดับที่บุคคลในตำแหน่งต่างๆ จะต้องปฏิบัติอย่างเต็มที่ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในแต่ละตำแหน่ง เช่น เก็บและค้นหาเอกสาร ดูแลเบิกจ่ายพัสดุครุภัณฑ์ เป็นต้น

                4. ตำแหน่ง (Position)

                ประกอบด้วยภารกิจและกิจกรรมย่อยต่างๆ ซึ่งแตกต่างกันไปตามลักษณะงานที่มอบหมายให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดไปปฏิบัติ เช่น ตำแหน่งพนักงานพิมพ์ดีด ตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายบุคคล

                5. งาน (Job)

                คือ กลุ่มของหน้าความรับผิดชอบเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน และอยู่ในระดับเดียวกัน ที่มีปริมาณมากและอาจจัดแบ่งเป็นตำแหน่งต่างๆ เพื่อมอบหมายให้บุคคลหลายคนปฏิบัติ

                6. กลุ่มงาน (Job Family)

                ประกอบด้วยงานหลายงานที่รวมอยู่ในกลุ่มเดียวกันโดยที่งานนั้นต้องการผู้ปฏิบัติงานที่มีคุณสมบัติเหมือนกันหรือมีคุณสมบัติสนับสนุนซึ่งกันและกัน เช่น กลุ่มนักฟุตบอล กลุ่มนักบาสเกตบอล เป็นต้น

                7. อาชีพ (Occupation)

                ประกอบด้วยกลุ่มงาน (Group of  Jobs) ซึ่งมีประเภทงานคล้ายกันที่มีอยู่ในองค์การหรือหน่วยงาน และมีสายอาชีพนี้เป็นสากล เช่น อาชีพพนักงานบัญชี อาชีพแพทย์ อาชีพรับราชการ เป็นต้น

                8. สายอาชีพ (Occupation Line)

                สายอาชีพเป็นชนิดของงานที่ปรากฏอยู่ในธุรกิจต่างๆ ดังตัวอย่างในสหรัฐอเมริกาได้มีหน่วยงานหนึ่ง คือ The United States Employment Service ทำการสำรวจและให้คำจำกัดความอาชีพต่างๆ ในสหรัฐอเมริกาไว้ และรวบรวมเป็น Dictionary of  Occupation Titles และได้จัดทำคำอธิบายความหมายของงานในสายอาชีพในอุตสาหกรรมต่างๆ ไว้ด้วย สำหรับราชการไทย ก.พ. ได้จัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่งและสายอาชีพในราชการไว้ (เพ็ญศรี รายวานนท์ 2537:59)

                9. อาชีพถาวร (Career)

                คือ ตำแหน่งงานหรืออาชีพที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งได้ทำมาตลอดชีวิตการทำงานของเขา

ที่มาจาก : การวิเคราะห์งาน โดย สุภาพร พิศาลบุตร


อัพเดทล่าสุด