https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง MUSLIMTHAIPOST

 

ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง


979 ผู้ชม


ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง




ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง

เหตุเลิกจ้างที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 119 (3) คือประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง ซึ่งหมายถึง  ลูกจ้างได้ปฏิบัติหน้าที่โดยปราศจากความระมัดระวังตามวิสัยปกติชนหรือตามวิสัยของลูกจ้างซึ่งมีหน้าที่ต้องทำงานในตำแหน่งหน้าที่นั้นหรือตามวิสัยของผู้ประกอบวิชาชีพนั้น หรือลูกจ้างไม่ได้ทำงานตามหน้าที่หรือได้เลินเล่อในการทำงาน จนกระทั่งเกิดความเสียหายแก่นายจ้างเป็นจำนวนมาก

คำพิพากษาฎีกา 4469/2545  ลูกจ้างเป็นเจ้าหน้าที่เทคนิคการแพทย์  แจ้งผลการตรวจเลือดไม่สอดคล้องกับอาการของผู้ป่วยซึ่งเป็นโรคไต เมื่อแพทย์สั่งให้ตรวจเลือดผู้ป่วยคนเดิมอีกครั้งก็ได้ผลแตกต่างจากครั้งแรกมาก ทั้งยังตรวจเลือดมีครบตามรายการที่แพทย์สั่งตรวจด้วย จึงเป็นประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายร้ายแรง

คำพิพากษาฎีกา 3180/2530   ลูกจ้างเป็นหัวหน้าแผนกขายส่วนกลาง มีหน้าที่ขายแบตเตอรี่และจ่ายของ แต่มิได้ปฏิบัติตามระเบียบของนายจ้างเกี่ยวกับการเบิกจ่ายของโดยยินยอมให้ผู้เบิกของไปก่อนและให้ผู้เบิกจัดส่งใบเบิกของและใบรับประกันในภายหลัง มิได้ให้ผู้เบิกจัดทำใบเบิกของในทันทีตามระเบียบ แม้จะมีการปฏิบัติดังกล่าวมาเป็นระยะเวลานานแล้วก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่ามีการทุจริตเกิดขั้นจากผลของการที่ลูกจ้างไม่ปฏิบัติตามระเบียบของนายจ้าง ทำให้นายจ้างเสียหายเป็นเงิน 40,000 บาท การกระทำของลูกจ้างจึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อในหน้าที่การงานเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง


อัพเดทล่าสุด