https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
กฎหมายแรงงาน : วันลาเพื่อคลอดบุตร MUSLIMTHAIPOST

 

กฎหมายแรงงาน : วันลาเพื่อคลอดบุตร


1,009 ผู้ชม


กฎหมายแรงงาน : วันลาเพื่อคลอดบุตร




กฎหมายแรงงาน : วันลาเพื่อคลอดบุตร

 

 

 

มาตรา 41  ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตรครรภ์หนึ่งเกินเก้าสิบวัน  วันลาตามวรรคหนึ่ง ให้นับรวมวันหยุดที่มีในระหว่างวันลาด้วย

การลาตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ลูกจ้างหญิงซึ่งมีครรภ์มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตรและอยู่ดูแลเลี้ยงดูบุตร รวมทั้งการลาเพื่อเตรียมตัวในการคลอดบุตรเป็นวันลาด้วย การลาเพื่อคลอดบุตรนี้จะลาก่อนคลอดหรือหลังคลอดก็ได้ และไม่ถือว่าวันลาดังกล่าวเป็นวันลาป่วย(มาตรา 32 วรรคท้าย) ในการลาเพื่อคลอดบุตร ลูกจ้างหญิงจึงน่าจะระบุให้ชัดเจนว่าเป็นการลาเพื่อคลอดบุตรหรือลาป่วย ถ้านายจ้างมีแบพิมพ์ในการลาควรแยกใบลาทั้งสองประเภทนี้ไว้ต่างหากจากกัน ในกรณีที่ลูกจ้างหญิงมีอาการแพ้ท้องต้องหยุดพัก หรือต้องไปตรวจครรภ์เป็นระยะเวลาถี่ๆ ตอนที่ใกล้จะคลอด ถ้าลูกจ้างหญิงระบุไว้ชัดแจ้งว่าลาเพื่อคลอดบุตรหรือลาป่วยก็คงไม่มีปัญหา  ส่วนค่าจ้างนั้น มาตรา 59 กำหนดให้ นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างหญิงที่ลาเพื่อคลอดบุตรเท่ากับค่าจ้างใจวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 45 วัน

คำพิพากษาฎีกาที่ 1612/2530  สถานประกอบกิจการแห่งหนึ่งมีการแจ้งข้อเรียกร้อง มีการเจรจาระหว่างผู้แทนนายจ้างและผู้แทนลูกจ้าง และได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายแรงานสัมพันธ์ตลอดมาจนตกเป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ นายจ้างได้ใช้สิทธิตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ด้วยการแจ้งปิดงานตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน ครั้นวันที่ 25 พฤษภาคม นายจ้างกับลูกจ้างตกลงกันได้ นายจ้างจึงเลิกการปิดงาน ลูกจ้างกลับเข้าทำงานตามปกติ ลูกจ้างหญิงคนหนึ่งของสถานประกอบกิจการดังกล่าวได้คลอดบุตรในวันที่ 29 เมษายน ซึ่งอยู่ในระหว่างช่วงที่นายจ้างปิดงาน เมื่อนายจ้างเลิกปิดงาน ลูกจ้างอื่นกลับเขาทำงานตามปกติแล้ว ลูกจ้างรายนี้ยังคงไม่ไปทำงานเนื่องจากคลอดบุตร ไปทำงานเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม หลังจากคลอดแล้ว 1 เดือนเต็ม โดยลูกจ้างดังกล่าวไม่ได้ยื่นใบลาคลอดต่อนายจ้างตามระเบียบ ลูกจ้างรายนี้ฟ้องเรียกค่าจ้างในระหว่างการคลอด (ตามกฎหมายฉบับเดิม) ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการปิดงานของนายจ้างนั้นเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ การที่ลูกจ้างคลอดบุตรในช่วงที่นายจ้างปิดงานนั้น แม้ลูกจ้างจะมิได้คลอดบุตรก็จะไม่ได้ไปทำงานให้แก่นายจ้าง ตั้งแต่วันที่ 29 เมษายน ซึ่งเป็นวันคลอดบุตรจนกกระทั่งถึงวันที่ 24 พฤษภาคม อันเป็นวันสุดท้ายที่นายจ้างปิดงาน นายจ้างจึงไม่มีหน้าที่จะต้องชำระค่าจ้างให้ลูกจ้างสำหรับช่วงระยะเวลาดังกล่าว แต่ในช่วงหลังคือตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม ลูกจ้างก็มิได้ยื่นใบลาคลอดตามระเบียบเกี่ยวกับการลาของนายจ้าง ลูกจ้างจึงไม่มีวันลาคลอดอันจะพึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างตามกฎหมาย

อัพเดทล่าสุด