https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
กฎหมายแรงงาน : การเปลี่ยนแปลงตัวนายจ้าง MUSLIMTHAIPOST

 

กฎหมายแรงงาน : การเปลี่ยนแปลงตัวนายจ้าง


1,896 ผู้ชม


กฎหมายแรงงาน : การเปลี่ยนแปลงตัวนายจ้าง




มาตราที่ 13  ในกรณีที่กิจการใดมีการเปลี่ยนแปลงตัวนายจ้างเนื่องจากโอน รับมรดกหรือด้วยประการอื่นใด หรือในกรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคล และมีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงโอน หรือควบนิติบุคคลใด สิทธิต่างๆ ที่ลูกจ้างมีอยู่ต่อนายจ้างเดิมเช่นใดให้ลูกจ้างมีสิทธิเช่นว่านั้นต่อไป และให้นายจ้างใหม่รับไปทั้งสิทธิและหน้าที่อันเกี่ยวกับลูกจ้างนั้นทุกประการ

 

        บทบัญญัติเรื่องนี้กำหนดขึ้นเพื่อที่จะคุ้มครองลูกจ้างในกิจการที่มีการเปลี่ยนแปลงตัวนายจ้าง หรือมีการควบโอนกิจการของนายจ้างไปรวมกับนิติบุคคลอื่น ไม่ให้ลูกจ้างได้รับค่าจ้าง สวัสดิการและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ลดน้อยลง กล่าวคือ ไม่ว่าจะมีการควบ การโอนหรือการเปลี่ยนแปลงตัวนายจ้างอย่างไร ลูกจ้างก็ยังคงมีสิทธิเช่นเดิมทุกประการ (เท่ากับไม่มีการเปลี่ยนแปลงตัวนายจ้าง)

        การเปลี่ยนแปลงตัวนายจ้างมี 2 กรณีคือ กรณีที่เป็นบุคคลธรรมดา ได้แก่ การโอน การรับมรดก ถ้าตัวเจ้าของกิจการถึงแก่ความตาย ทายาทโดยธรรมก็เข้ามารับดำเนินกิจการต่อ กรณีเช่นว่านี้ทายาทโดยธรรมนั้นก็ต้องจ่ายค่าจ้าง สวัสดิการ และสิทธิประโยชน์อื่นใดเท่าที่เคยจ่ายมาให้แก่ลูกจ้างที่ตนได้รับโอนมาทั้งหมด กรณีที่เป็นนิติบุคคล หากมีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงกรรมการ เปลี่ยนแปลงหุ้น หรือเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นหรือแม้แต่การควบกิจการของนายจ้าง สิทธิประโยชน์ของลูกจ้างก็ยังคงมีอยู่เช่นเดิม (ซึ่งทำให้เกิดปัญหาแก่นายจ้างที่กิจการควบกันเนื่องจากกิจการนั้นจะมีลูกจ้างที่มาจากหลายกิจการ ค่าจ้าง และสวัสดิการต่างๆจะเหลื่อมล้ำต่ำสูงกัน เกิดความยุ่งยากในการบริหารงานบุคคลเป็นอย่างยิ่ง แต่เมื่อควบรวมไปแล้วนายจ้างจะต้องพยายามทำให้ค่าจ้างและสวัสดิการต่างๆอยู่ในรูปแบบเดียวกัน ซึ่งทำได้โดยการตกลงกับลูกจ้างเป็นรายบุคคลไป ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 577 ได้บัญญัติในเรื่องเกี่ยวกับการโอนสิทธิของนายจ้างไว้ว่า “นายจ้างจะโอนสิทธิของตนให้แก่บุคคลภายนอกก็ได้ เมื่อลูกจ้างยินยอมพร้อมใจด้วย” ดังนั้น หากไม่มีการตกลงกับลูกจ้างไว้เป็นอย่างหนึ่งอย่างใดแล้ว นายจ้างโอนลูกจ้างไปยังนายจ้างใหม่ ถ้าลูกจ้างไม่ยินยอมก็ต้องยินยอมก็ต้องถือว่าเป็นการเลิกจ้างจากนายจ้างเดิม ซึ่งลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชย)

คำพิพากษาฎีกาที่ 46/2537 นายจ้างสั่งโอนลูกจ้างไปทำงานกับบริษัทอื่นในต่างประเทศ ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจากนายจ้างเดิม โดยให้ลูกจ้างไปทำสัญญากับบริษัทดังกล่าวใหม่ และให้ตำแหน่งของลูกจ้างในบริษัทนายจ้างเดิมสิ้นสุดลง และจ้างบุคคลอื่นเข้าทำงานในตำแหน่งแทนแล้ว กรณีเช่นนี้เป็นการโอนสิทธิของนายจ้างไปยังบุคคลภายนอก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 577 จะต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างด้วยจึงจะกระทำได้ เมื่อลูกจ้างไม่ยินยอมโดยไม่ยอมทำสัญญาจ้างฉบับใหม่กับบริษัทอื่นที่จะโอนไปนั้น นายจ้างให้ลูกจ้างพ้นจากตำแหน่งและจ้างบุคคลอื่นดำรงตำแหน่งแทน กรณีจึงเป็นเรื่องนายจ้างสั่งเลิกจ้าง และเมื่อการสั่งโอนดังกล่าวมิได้ระบุว่าลูกจ้างกระทำความผิดใดการเลิกจ้างกรณีเช่นนี้จึงเป็นการเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่มีความผิด เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

อัพเดทล่าสุด