https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
กฎหมายแรงงาน : ทนายความตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน MUSLIMTHAIPOST

 

กฎหมายแรงงาน : ทนายความตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน


732 ผู้ชม


กฎหมายแรงงาน : ทนายความตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน




มาตรา 8  ให้รัฐมนตรีมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางนิติศาสตร์ เพื่อมีอำนาจฟ้องคดีหรือแก้ต่างคดีแรงงานให้แก่ลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตาย และเมื่อกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมแจ้งให้ศาลทราบแล้ว ก็ให้มีอำนาจกระทำการได้จนคดีถึงที่สุด

        โดยปกติ การฟ้องคดีแรงงานในฐานะเป็นโจทก์หรือการต่อสู้คดีแรงงานในฐานะเป็นจำเลยนั้น ลูกจ้างหรือนายจ้างอาจไปฟ้องหรือต่อสู้คดีด้วยตนเองได้โดยไม่ต้องว่าจ้างทนายความหรือมีทนายความช่วยเหลือ แต่ในคดีที่มีข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่เป็นประเด็นแห่งคดีหลายข้อ หากมีผู้ช่วยเหลือในทำนองเดียวกันกับทนายความก็จะช่วยให้การพิจารณาคดีได้ข้อเท็จจริงครบถ้วนและมีข้อกฎหมายชัดแจ้งประกอบการพิจารณาพิพากษาของศาล นายจ้างมีฐานะทางเศรษฐกิจเพียงพอที่จะจ้างทนายความได้เองหรือมีทนายประจำอยู่แล้วแต่ลูกจ้างส่วนใหญ่ไม่มีทรัพย์เพียงพอที่จะว่าจ้างทนายความได้ จึงต้องจัดให้มีผู้ที่ทำหน้าที่ดังเช่นทนายความไว้ช่วยเหลือลูกจ้างในการฟ้องหรือแก้ต่างคดี ตามบทบัญญัติดังกล่าวแสดงว่าลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างอาจขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้งทำหน้าที่เป็นทนายความ(แม้กฎหมายจะมิได้กำหนดให้เป็นทนายความ) ในคดีที่ลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างฟ้องหรือถูกฟ้องได้ ไม่ว่าคดีเรื่องนั้นจะเป็นคดีที่พิพากษา กันตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานหรือกฎหมายอื่น แต่ต้องเป็นคดีแรงงานหรือคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานเท่านั้น


อัพเดทล่าสุด