https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
การสรรหา : ข้อจำกัดที่มีผลกระทบต่อการสรรหา ในด้าน ปัจจัยภายในตัวผู้สมัคร MUSLIMTHAIPOST

 

การสรรหา : ข้อจำกัดที่มีผลกระทบต่อการสรรหา ในด้าน ปัจจัยภายในตัวผู้สมัคร


932 ผู้ชม


การสรรหา : ข้อจำกัดที่มีผลกระทบต่อการสรรหา ในด้าน ปัจจัยภายในตัวผู้สมัคร




การสรรหา :   ข้อจำกัดที่มีผลกระทบต่อการสรรหา

 

 

ภารกิจที่สำคัญของการสรรหา คือ การใช้ความพยามยามในการแสวงหา และจูงใจบุคคลที่มีความสามารถ ทัศนคติ และคุณสมบัติต่างๆ ตรงตามที่องค์การต้องการมาสมัครงาน การที่ผู้สมัครที่คาดหวังจะมาสมัครงานหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับเงื่อนไขหรือข้อกำหนดหลายอย่าง เช่น ทัศนคติที่มีต่องาน ภาพพจน์ขององค์การการรับผู้เกี่ยวกับบรรยากาศในการทำงานขององค์การ  และเงื่อนไขของสภาวะทางเศรษฐกิจในขณะนั้นเป็นต้น

ปัจจัยที่สงผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการสรรหาทรัพยากรมนุษย์ จำแนกได้ 3 ประเภท คือ

1. ปัจจัยภายในตัวผู้สมัคร

2. ปัจจัยแวดล้อมภายในองค์การ

3. ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก

ปัจจัยที่ 1 ปัจจัยภายในตัวผู้สมัคร

 

ผู้สมัครแต่ละคนจะมีความรู้ความสามารถ ทัศนคติ และความพึงพอใจต่องานและองค์การแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับภูมิหลังของแต่ละคน บางครั้งยังได้รับอิทธิพลจากพ่อแม่ ครูอาจารย์ ญาติพี่น้อง และอื่นๆ ด้วย  องค์ประกอบเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อผู้สมัคร 2 ประการ คือ จะเป็นตัวกำหนดความพึงพอใจที่มีต่องานและกำหนดวิธีการแสวงหางาน ดังนั้น การที่ผู้สมัครจะสนองตอบต่อการจูงใจขององค์การให้มาสมัครงานนั้นย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยภายในของตัวผู้สมัครเหล่านั้น

ผลการศึกษาพบว่า ผู้สมัครส่วนใหญ่จะตัดสินใจเลือกงานในขณะที่กำลังศึกษาหรือทันทีที่จบการศึกษา จากการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มผู้สมัครที่ได้รับการศึกษาสูงและกลุ่มที่ได้รับการศึกษาต่ำ พบว่าผู้ที่มีการศึกษาสูงจะมีข้อมูลเกี่ยวกับตลาดแรงงานดีกว่า ตั้งความคาดหวังเกี่ยวกับงานไว้สูงกว่า และพยายามแสวงหาแหล่งงานที่เสนอเงินเดือนสูงและงานที่มั่นคงกว่า ถึงแม้ว่าการตัดสินใจเลือกสมัครงานด้วยเหตุผลดังกล่าวดูจะสมเหตุสมผล แต่เมื่อมีการวิเคราะห์เป็นรายบุคคลพบว่าผู้ตัดสินในยังได้รับอิทธิพลจากโอกาสอันเหมาะและโชคดีที่เอื้ออำนวยในขณะนั้น นอกจากนี้ยังพบว่านักศึกษาจะมีอคติค่อนข้างรุนแรงต่อหน่วยงานขนาดเล็ก ส่วนใหญ่จะชอบองค์การที่มีขนาดใหญ่กว่าและมีความมั่นคง

สำหรับวิธีการแสวงหางานของผู้สมัครนั้น ส่วนใหญ่จะดำเนินการคล้ายๆ กัน กล่าวคือจะสำรวจความสนใจในอาชีพ ประเมินจุดอ่อนจุดแข็งของตัวเอง ต่อจากนั้นจึงไปรวบรวมสารสนเทศจากแหล่งต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์ วารสารทางวิชาชีพ องค์การจัดหางาน หรือแม้แต่ผู้ที่มีคุ้นเคยกับหน่วยงานต่างๆ เหล่านั้นเป็นต้น เพื่อประกอบการตัดสินใจว่าควรจะสมัครงานที่ใด ซึ่งในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อก่อนการตัดสินใจ ผู้สมัครยังต้องหาคำตอบจากคำถามที่เกี่ยวข้องกับทั้งหน่วยงานและความพึงพอใจของตนเอง

ตัวอย่าง คำถามเกี่ยวกับหน่วยงานหรือนายจ้าง

1.     ขนาดของหน่วยงานตรงกับที่ฉันพอใจหรือไม่ อย่างไร

2.     สินค้าหรือการบริการของหน่วยงานตรงกับความสนใจของฉันหรือไม่อย่างไร

3.     สินค้าหรือบริการของหน่วยงานมีแนวโน้มอย่างไรในอนาคต เป็นต้น

ส่วนคำถามที่เกี่ยวข้องกับตัวผู้สมัคร เช่น

1.     ฉันชอบทำงานหนักเพียงใด

2.     ฉันต้องการทำงานอิสระหรือทำงานให้กับผู้อื่น

3.     ฉันต้องการทำงานใกล้บ้านหรือไกลบ้าน และเต็มใจจะย้ายที่ทำงานหรือไม่

4.     ฉันต้องการเงินเดือนเท่าไหร่ เป็นต้น

โดยสรุปจะพบว่า คำตอบของผู้สมัครต่อคำถามต่างๆ จะสะท้อนให้เห็นทัศนคติ ความพึงพอใจและแรงจูงใจ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจ ในการสมัครงานที่มีต่อองค์การ

หัวข้อต่อไปจะกล่าวถึงในบทต่อไปค่ะ  หรือ คลิกที่นี่     


อัพเดทล่าสุด