https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
การสัมภาษณ์งานแบบมีโครงสร้าง : ประเภทของกรรมการสัมภาษณ์ MUSLIMTHAIPOST

 

การสัมภาษณ์งานแบบมีโครงสร้าง : ประเภทของกรรมการสัมภาษณ์


774 ผู้ชม


การสัมภาษณ์งานแบบมีโครงสร้าง : ประเภทของกรรมการสัมภาษณ์




    กรรมการสัมภาษณ์มักมาจากหลายหน่วยงานที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ระดับตำแหน่ง คุณวุฒิ ภูมิหลัง และประสบการณ์ในการสัมภาษณ์ที่ต่างกัน ผู้ดำเนินการจัดให้มีการสัมภาษณ์พึงจัดองค์ประกอบของกรรมการแต่ละโต๊ะสัมภาษณ์ที่จะประกันความยุติธรรม และกระจายโอกาส “โชคดี” ให้ผู้สมัครแต่ละคนอย่างเท่าเทียมกัน เราสามารถจำแนกประเภทของกรรมการสัมภาษณ์ออกได้เป็น 10 ประการ ตามพฤติกรรมการสัมภาษณ์ที่แสดงออกได้ดังนี้

1. กรรมการสัมภาษณ์แบบพนักงานขายหรือหมอสอนศาสนา

    มุ่ง “ขาย” ความคิดความเห็นให้แก่ผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ได้ทราบ เป็นผู้พูดมากกว่าผู้ฟัง ยึดมั่นในความคิดอ่านของตนเองด้วยการหาเหตุผลต่างๆมาอ้างอธิบาย เพื่อ “สยบ” ผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ เห็นแต่มุมมองของตน ไม่ยอมเข้าใจความคิดอ่านของผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ มีแนวโน้มที่จะมีปัญหาในการสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีกับผู้รับการสัมภาษณ์ โดยเฉพาะการสร้างความไว้วางใจ มักจะใช้คำถามชี้นำในการสัมภาษณ์หรือแนะนัยคำตอบที่ตนต้องการให้กับผู้เข้ารับการสัมภาษณ์

2.  กรรมการสัมภาษณ์แบบสัมภาษณ์เป็นกิจวัตร

      คำนึงถึงรายละเอียด ความถูกต้องของขั้นตอนดำเนินการสัมภาษณ์มากว่าจะคำนึงถึงผล และบรรยากาศ ของการสัมภาษณ์ มักจะมีปัญหาไม่เข้าใจว่า ทำไมตนจึงดำเนินการสัมภาษณ์ที่ดีไม่ได้ มักเป็นผู้ที่เน้น “ลีลา” ในการดำเนินการสัมภาษณ์มากว่าที่จะมุ่งคำนึงถึง “สาระ” ประโยชน์ ความเหมาะสมมีความหมายของการสัมภาษณ์ บางทีเป็นผู้ที่ไม่ชอบการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง หรืออะไรที่เป็น “วิชาการ” เพื่อพัฒนารูปแบบและวิธีการสัมภาษณ์งานให้ดียิ่งขึ้น โดยอ้างว่า ที่พูดนั้นเป็น “ทฤษฎี” มากเกินไป ปฏิบัติไม่ได้

3. กรรมการสัมภาษณ์แบบนักวิจัย

 

     สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ที่ตนสนใจ บางทีอยากทราบทุกเรื่องโดยไม่จำแนกความสำคัญและความเกี่ยวข้องกับงาน กับระดับตำแหน่ง เห็นข้อมูลประเภทต่างๆ สำคัญเท่ากันหมด  จึงมีโอกาสที่จะสูญเสียความใส่ใจหรือขาดสมาธิได้  มักไม่สนใจผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ ไม่สร้างสายสัมพันธ์ที่ดีแม้ว่าตนมีทักษะ บางทีทำตนเป็นผู้แสวงหาข้อเท็จจริง ถามข้อมูลเฉพาะด้าน (ภูมิหลัง – ได้เกรดเฉลี่ยเท่าใด – มีพี่น้องกี่คน) ไม่ถามอะไรลึกๆ ที่เป็นเชิงแรงจูงใจ (ทำไมถึงได้เกรดน้อย)

4. กรรมการสัมภาษณ์แบนักจิตบำบัด

 

     มุ่งมองหาปัญหา สาเหตุจูงใจที่อยู่เบื้องหลังของพฤติกรรม เช่น ขอให้ผู้เข้ารับการสัมภาษณ์เล่าให้กรรมการฟังว่า ในสถานการณ์เช่นนั้นผู้เข้ารับการสัมภาษณ์รู้สึกเช่นไร ให้คิดใคร่ครวญแล้วสะท้อนออกมา แม้เมื่อพบสาเหตุก็ไม่ช่วยแก้ไขอะไร บางทีมองผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ในทางลบด้วยความระแวงสงสัย และไม่สร้างความไว้วางใจที่ดีกับผู้เข้ารับการสัมภาษณ์บางทีสนใจ หรือ “ติดใจ” ในพฤติกรรมเล็กๆ น้อยๆ ของผู้สมัครเป็นพิเศษ

5.  กรรมการสัมภาษณ์แบบจิตไม่ว่าง

 

      พูดคุยได้หลายเรื่อง จะเป็นผู้พูดมากว่าเป็นผู้ฟัง พูดไม่เป็นลำดับขั้นตอน การพูดสะท้อนให้เห็นว่าสมองคิดไม่เป็นระบบและไม่เป็นระเบียบวิธีในการคิด บางทีตื่นตระหนกที่ตนไม่ได้เตรียมตัวเป็นกรรมการที่ดี ที่แน่ๆ กรรมการสัมภาษณ์ประเภทนี้สร้างความสับสนงุนงงแก่ผู้เข้ารับ การสัมภาษณ์ ทำลายภาพพจน์ขององค์การ

       ผู้เขียนเห็นว่า เจ้าหน้าที่ดำเนินการสัมภาษณ์ขององค์การไม่ควรเชิญกรรมการเช่นนี้มาทำการสัมภาษณ์อีกในครั้งต่อๆไป เพราะมีโอกาสตัดสินใจพลาด เลือกผิดคนเข้าทำงานได้

6.  กรรมการสัมภาษณ์ที่ข่มผู้เข้ารับการสัมภาษณ์

 

      พยายามวางมาด ข่ม ครอบงำ ชี้นำผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ มุ่งใช้อำนาจ ไม่ค่อยสนใจกับการสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีกับผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ หากผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ตอบได้ไม่ดี ไม่ถูกใจ หรือตอบว่า “ไม่ทราบ” จะมีปฏิกิริยาอย่างมาก บางทีอ่านภาษาท่าทาง ภาษาถ้อยคำของผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ไม่ถูกต้อง และส่งผลให้ประเมินผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ผิดพลาดได้กรรมการเช่นนี้มักจะ “ดีใจ” ที่สามารถทำให้ผู้สมัครน้ำตาไหลในระหว่างการสัมภาษณ์ โดยที่ตนเองไม่รู้สึกผิด

7. กรรมการสัมภาษณ์แบบ “ทวิภพ” ไม่ขาวก็ดำ

 

     ไวต่อการสรุปตัดสินผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ หรือวิพากษ์วิจารณ์คำตอบที่ได้ฟังโดยกำหนดว่า “ถูก” หรือ “ผิด” บางทีท้าทายความคิดเห็นของผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ หากด่วนตัดสินคำตอบ คำชี้แจงของผู้เข้ารับการสัมภาษณ์แล้ว ทำให้กรรมการไม่ยืดหยุ่นและไม่สามารถสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีกับผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ได้ บางทีมุ่ง “ต้อน” ให้ผู้สมัครเข้ามุมอับ เพื่อรับความคิด ความเชื่อ หรือแนวคำตอบที่กรรมการมีไว้แล้วในใจ

8.  กรรมการสัมภาษณ์แบบช่างสอดรู้สอดเห็น

 

     ชอบแสดงความเห็นหรือสอบถามในสิ่งที่ไม่เกี่ยวกับงานในตำแหน่งที่สัมภาษณ์ เช่น ทำไมคุณพ่อ – คุณแม่คุณนามสกุลต่างกัน อายุตั้งเยอะทำไมไม่แต่งงาน ชอบพูดคุยในเรื่องที่ทำให้ผู้เข้ารับการสัมภาษณ์เสียหน้าละอายใจ อายุตั้งเยอะทำไมไม่แต่งงาน ชอบพูดคุยในเรื่องที่ทำให้ผู้เข้ารับการสัมภาษณ์เสียหน้าละอายใจ หรือบางทีในลักษณะข่มขู่ผู้เข้ารับการสัมภาษณ์บางทีสะท้อนถึงปัญหาของกรรมการผู้สัมภาษณ์เสียเอง มักมีปัญหาในการสร้างบรรยากาศที่ดีของการสัมภาษณ์ ทำให้ผู้เข้ารับการสัมภาษณ์เสื่อมศรัทธาต่อกรรมการและอาจต่อหน่วยงานด้วย

9. กรรมการสัมภาษณ์ที่คำนึงถึงความรู้สึกนึกคิดของผู้สมัคร

    เชื่อและไว้วางใจในตัวผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ สร้างสายสัมพันธ์ได้ดี บางที “เว่อร์” เกินไป ซึ่งอาจถูกผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ชี้นำได้ ต้องควบคุมความรู้สึกของตนไว้ มิเช่นจะมีผลต่ออคติในช่วงของการประเมินความเหมาะสม กรรมการประเภทนี้มักสงสารผู้สมัครเกินเหตุ  อาทิ “โถ พ่อ – แม่หนูมีลูกตั้ง 9 คน ต้องรับภาระหนักในการเลี้ยงดู ส่งเสียนะ” กรรมการลักษณะเช่นนี้มีโอกาสที่จะให้คะแนน “เมตตา” แก่ผู้สมัครเกินจริง

10. กรรมการสัมภาษณ์ที่รู้จักให้และรับ

                เป็นรูปแบบของการเป็นกรรมการสัมภาษณ์ที่ดี สร้างสายสัมพันธ์ภาพที่ดีระหว่างกันได้ มองเห็นแง่มุม เข้าใจสิ่งต่างๆ ได้ใกล้เคียงกับผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ หรืออธิบายปรับความคิด ความเข้าใจของตนได้ตามข้อเท็จจริง ยืดหยุ่นและอดทนต่อความแตกต่าง ความหลากหลาย หากดำเนินตามขั้นตอนที่กล่าวไว้ในการฝึกอบรมจะเป็นการสัมภาษณ์ที่ดี หนักแน่นในหลักการและให้ความยุติธรรมได้ดี (firm but fair)


 

ข้อมูลอ้างอิง : การสัมภาษณ์งานแบบมีโครงสร้าง ฉบับแก้ไขปรับปรุงครั้งที่ 3

 

โดย : ดร.วิระวัฒน์ ปันนิตามัย

 

อัพเดทล่าสุด