การสัมภาษณ์เพื่อการจ้างงาน (Employment interview) MUSLIMTHAIPOST

 

การสัมภาษณ์เพื่อการจ้างงาน (Employment interview)


2,604 ผู้ชม


การสัมภาษณ์เพื่อการจ้างงาน (Employment interview)




การสัมภาษณ์เพื่อการจ้างงาน (Employment interview) เป็นการทดสอบแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้สัมภาษณ์กับผู้สมัคร เพื่อให้ได้ผู้สมัครที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับงาน อันจะนำไปสู่การตัดสินใจจ้างงานโดยผู้สัมภาษณ์จะแจ้งให้ผู้สมัครรับทราบถึงข้อกำหนดเฉพาะของงาน และคุณสมบัติเฉพาะที่ต้องการ รวมทั้งเป็นผู้กำหนดขอบเขตเนื้อหาของการสัมภาษณ์ บางกรณีมีความต้องการข้อมูลด้านต่างๆ เกี่ยวกับผู้สมัครเพิ่มเติมจากส่วนที่ไม่สามรถรับทราบจากใบสมัครเหนือแบบทดสอบ เช่น ด้านบุคลิกภาพ ความมั่นคงทางอารมณ์ และความมีมนุษย์สัมพันธ์ เป็นต้น ช่วยให้ได้ข้อมูลประกอบการประเมินผู้สมัครในด้านต่างๆ ได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

 วัตถุประสงค์ของการสัมภาษณ์เพื่อการจ้างงาน

การสัมภาษณ์เพื่อการจ้างงานมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

1.  เพื่อได้รับข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้สมัคร การสัมภาษณ์เป็นวิธีการที่ทำให้ไดรับข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้สมัคร ที่จะนำไปพิจารณาร่วมกับข้อมูลที่ได้จากเครื่องมือคัดเลือกอื่นๆ ผู้สัมภาษณ์สามรถชักถามเรื่องบางเรื่องได้ชัดเจนยิ่งขึ้น หรือขอข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้

2. เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยงานหรือบริษัท ข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับงานนโยบาย สินค้าและบริการต่างๆ บริษัทจะถูกสื่อสารให้ผู้สมัครได้รันทราบ  รวมถึงสามารถตอบข้อสงสัยอื่นๆ ที่ผู้สมัครต้องการทราบเพิ่มได้

 เพื่อประชาสัมพันธ์หน่วยงานหรือบริษัท กาสัมภาษณ์เพื่อการจ้างงานเป็นโอกาสที่ดีที่จะ "ขาย" ภาพพจน์ของบริษัทให้แก่ผู้สมัคร

4. เพื่อผูกไมตรีเพื่อนใหม่ ผู้สมัครควรจะออกจากห้องสัมภาษณ์ด้วยทัศนคติที่ดีต่อหน่วยงาน ถ้าการสัมภาษณ์ดำเนินไปด้วยดี ผู้สมัครจะไม่เปลี่ยนทัศนคติแม้ว่าจะไม่ได้จ้างงานก็ตาม

เนื้อหาของการสัมภาษณ์เพื่อการจ้างงาน

เนื้อหาของการสัมภาษณ์เพื่อการจ้างงานโดยทั่วไปจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับหน่วยงานและระดับตำแหน่งงาน อย่างไรก็ตามหัวเรื่องต่อไปนี้พบได้ทั่วไปในกรสัมภาษณ์เพื่อการจ้างงาน

1. สัมฤทธิผลทางการศึกษา ผู้สัมภาษณ์ต้องค้นหาองค์ประกอบที่มีผลกระทบต่อผลการเรียน เช่น ผู้สมัครมีคะแนนเฉลี่ยเพียง 2.28 แต่พบว่าเป็นบุคคลที่ฉลาดเฉลียว สาเหตุที่ได้คะแนนค่อนข้างต่ำเพราะว่ามีปัญหาทางเศรษฐกิจต้องทำงานระหว่างเรียนหนังสือ ตงข้ามกับผู้สมัครที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงถึง 3.5 แต่กับพบว่าไม่เหมาะสมกับตำแหน่งงาน เป็นต้น

2. บุคลิกภาพส่วนตัว ส่วนใหญ่จะเกิดจากการสังเกตระหว่างการสัมภาษณ์ เช่น บุคลิกภาพ ท่วงที วาจา น้ำเสียง การปรับตัว ความมั่นคงทางอารมณ์ เป็นต้น ผู้สัมภาษณ์จะต้องพยายามขจัดอคติที่เกี่ยวกับคุณลักษณะที่มีสัมพันธ์กับงานออไป

3. ประสบการณ์การทำงาน การสอบถามเกี่ยวกับประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมาจะทำให้ได้เรียนรู้ทักษะ ความสามรถ และความรับผิดชอบของผู้สมัครได้ ถึงแม้ว่าความสำเร็จในการทำงานงานหนึ่งไม่ได้ประกันความสำเร็จในอีกงานหนึ่ง แต่ทำให้รับรู้ถึงความสามรถและความเต็มใจในการทำงานได้

4.  ความมีมนุษย์สัมพันธ์ ผู้สัมภาษณ์อาจจะสังเกตคุณลักษณะนี้ได้จากการพูดคุยแตะภาพพจน์ที่ได้อาจจะบิดเบือนได้ ดังนั้น จึงควรถามคำถามเกี่ยวกับสัมพันธ์ภาพระหว่างผู้สมัครและสมาชิกในครอบครัวและเพื่อนๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลด้านนี้ เนื่องจากความล้มเหลวในการทำงานไม่ได้เกิดจากการขาดความรู้ทางด้านเทคนิควิธีปฏิบัติ หากเกิดความล้มเหลวในการทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงาน

5.  เป้าหมายในอาชีพ คำถามเกี่ยวกับเป้าหมายในอาชีพจะช่วยให้ผู้สัมภาษณ์ตระหนักว่า เป้าหมายในอาชีพของผู้สมัครมีโอกาสเป็นจริงได้หรือไม่ ขณะเดียวกันผู้สัมภาษณ์จะต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับโอกาสทางอาชีพแก่ผู้สมัครด้วย ข้อมูลที่หลองลวงหรือผิดพลาดอาจทำให้องค์กรสูญเสียผลประโยชน์ในระยะต่อมาได้

อัพเดทล่าสุด