https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ขั้นตอนในการกำหนดวัตถุประสงค์ในการฝึกอบรม MUSLIMTHAIPOST

 

ขั้นตอนในการกำหนดวัตถุประสงค์ในการฝึกอบรม


1,013 ผู้ชม


ขั้นตอนในการกำหนดวัตถุประสงค์ในการฝึกอบรม




ขั้นตอนในการกำหนดวัตถุประสงค์ในการฝึกอบรม

 

 

การกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการฝึกอบรมนั้น จำเป็นจะต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบ และขั้นตอนดังต่อไปนี้

ปัญหาที่เป็นความจำเป็นในการฝึกอบรม สำหรับเรื่องนี้ได้อธิบายไว้โดยละเอียดแล้วในขั้นที่ 1 และขั้นที่ 2 ของการสร้างหลักสูตรประการใดก็ตามในทางปฏิบัตินั้นผู้กำหนดวัตถุประสงค์จะต้องสามารถเขียนประเด็นของปัญหาออกมาให้ได้ว่ามีลักษณะและความรุนแรงเพียงใด

 1.)   กำหนดว่าใครเป็นผู้ก่อให้เกิดปัญหานั้น หรือปัญหานั้นเกิดขึ้นกับคนในตำแหน่งใดหรือระดับใด เช่น ในตำแหน่งประจำแผนกการเงิน ในตำแหน่งหัวหน้าแผนก ฯลฯ  พร้อมทั้งระบุด้วยว่าจำนวนของบุคคลดังกล่าว มีมากน้อยเพียงใด

  2.)  ภารกิจหรือพฤติกรรมอันเป็นปัญหาของบุคคลดังกล่าวตามข้อ (2) เป็นการบรรยายอย่างย่อๆ ว่า เขามีพฤติกรรมที่บกพร่องอย่างไร เช่น ลงทะเบียนหนังสือเข้าออกล่าช้าเกินความจำเป็น บริหารงานบกพร่อง ทำงานผิดพลาดหลายครั้งหลายหน เป็นต้น สำหรับภารกิจหรือพฤติกรรมที่บกพร่องตามข้อนี้อาจจะมีหลานประเด็นก็ได้

 3.)   วัตถุประสงค์ขั้นสูงสุดที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม หมายถึงต้องการจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม อันเป็นปัญหาของผู้เข้ารับการฝึกอบรมให้เป็นไปในลักษณะใด เป็นการพิจารณาในลักษณะที่ว่า พฤติกรรมตามอุดมคตินั้นต้องการจะให้เป็นไปอย่างไร เช่นในข้อ  (3) ระบุว่านาย ก. สอนงานไม่เป็น พฤติกรรมใหม่ที่จะสร้างขึ้นโดยกระบวนการฝึกอบรมก็คือจะอบรมให้ นาย ก. สามารถทำการสอนงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น

 4.)   สิ่งสนับสนุนให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ตามอุดมคติใน (4) มีอะไรบ้างเป็นการพิจารณาถึงสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่จะสนับสนุนให้การฝึกบรรลุวัตถุประสงค์ได้เช่นมีวิทยากรที่มีความสามารถ ภูมิหลังที่ดีของผู้เข้ารับการฝึกอบรม นโยบายของหน่วยงานที่สนับสนุนต่อการฝึกอบรมมีเงินมีเวลา และอุปกรณ์ที่เพียงพอ เป็นต้น

 5.)   สิ่งที่เป็นอุปสรรค์ต่อการดำเนินงานฝึกอบรมให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามอุดมคติในข้อ (4) เป็นการพิจารณาว่าสภาพแวดล้อมต่างๆที่กล่าวแล้วในข้อ (5) มีอะไรบ้างที่เป็นอุปสรรคหรือขัดขวางต่อการดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามอุดมคติ ตามตัวอย่างเช่น งบประมาณจำกัด เวลาจำกัด เป็นต้น

 6.)   วัตถุประสงค์ในการฝึกอบรมที่เป็นไปได้ เป็นการพิจารณากำหนดวัตถุประสงค์ขึ้นใหม่ หลังจากได้พิจารณาถึงวัตถุประสงค์ตามอุดคติ ประกอบกับสิ่งสนับสนุนตามข้อ (5) และสิ่งที่เป็นอุปสรรค์ตามข้อ (6) แล้ว แต่ในบางกรณีวัตถุประสงค์ตามอุดมคติอาจเป็นวัตถุประสงค์ที่เป็นไปได้ก็ได้ ถ้าหากว่าสิ่งที่สนับสนุนทุกอย่างแต่ไม่มีสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อวัตถุประสงค์ตามอุดมคติเลย

 7.)   วัตถุประสงค์ประกอบเป็นวัตถุประสงค์ที่มิได้คาดหวังมาก่อน แต่จะเป็นผลพลอยได้จากการฝึกอบรม เช่น การฝึกอบรมจะช่วยให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกิดความสามัคคี ช่วยให้เกิดการประสานงานในอนาคต เป็นต้น

วัตถุประสงค์ในการฝึกอบรมที่เป็นไปได้ตาม ข้อ (7) และวัตถุประสงค์ประกอบตามข้อ (8) จะเป็นวัตถุประสงค์ในโครงการฝึกอบรม วัตถุประสงค์ในการฝึกอบรมอาจจะมีได้หลายข้อและมีการเขียนวัตถุประสงค์นั้นมักจะเอาวัตถุประสงค์ที่เป็นไปได้เขียนไว้ในลำดับแรก และวัตถุประสงค์ประเภทประกอบการเขียนไว้ในลำดับสุดท้าย

อัพเดทล่าสุด