https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ขั้นตอนที่ 4 การจัดทำ (ITDP) : การดำเนินการและคิดตามผลการฝึกอบรมและพัฒนา MUSLIMTHAIPOST

 

ขั้นตอนที่ 4 การจัดทำ (ITDP) : การดำเนินการและคิดตามผลการฝึกอบรมและพัฒนา


487 ผู้ชม


ขั้นตอนที่ 4 การจัดทำ (ITDP) : การดำเนินการและคิดตามผลการฝึกอบรมและพัฒนา




การดำเนินการฝึกอบรม/พัฒนา

การดำเนินการฝึกอบรมและพัฒนาพนักงานกรณีที่เป็นวิธีการ : จัดฝึกอบรมทั้งภายในและ/หรือภายนอกในลักษณะของ In – House / Public Training จะเป็นขั้นตอนการจัดเตรียมสถานที่ อุปกรณ์ และเอกสารต่างๆรวมทั้งการติดต่อกับวิทยากรสำหรับการจัดหลักสูตรฝึกอบรมในเรื่องนั้นๆ ทั้งนี้ควรมีการจัดทำปฏิทินสำหรับการฝึกอบรมพนักงาน โดยกำหนดว่าควรมีการจัดทำปฏิทินสำหรับการฝึกอบรมพนักงาน โดยกำหนดไว้ว่าควรมีการจัดฝึกอบรมเรื่องอะไรและช่วงเวลาใด เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการจัดฝึกอบรมและเป็นการประมาณการ (Forecast) งบประมาณค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดโปรแกรมหรือหลักสูตรให้กับพนักงาน

นอกเหนือจากวิธีการฝึกอบรมให้กับพนักงานไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของจัดฝึกอบรมให้กับพนักงานใน (In – House Training ) หรือการจัดส่งพนักงานเข้ารับการฝึกอบรมภายนอก (Public Training) แล้วยังมีอีกวิธีการหนึ่งที่จะเสริมและพัฒนาความสามารถและศักยภาพของพนักงานให้ดีขึ้น ได้แก่วิธีการพัฒนาพนักงานในรูปแบบต่างๆ เช่น การสอนงาน (Coaching) การเป็นพี่เลี้ยง (Mentoring) การให้คำปรึกษาแนะนำ (Consulting) การสับเปลี่ยนหมุนเวียนงาน (Job Rotation) เป็นต้น ซึ่งหัวหน้าจะเป็นผู้มีบทบาทและหน้าที่โดยตรงในการพัฒนาให้พนักงาน มีความสามารถและศักยภาพดีขึ้น
การติดตามผลการฝึกอบรมและพัฒนา
 ลักษณะการติดตามผลการฝึกอบรมและพัฒนาสำหรับพนักงานจะแบ่งเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้
1.     การติดตามผลการจัดโปแกรมหรือหลักสูตรการฝึกอบรมพนักงาน เป็นการติดตามผลหลังจากการจัดโปรแกรมหรือหลักสูตรการฝึกอบรมสิ้นสุดลง ซึ่งจะมีการจัดทำแบบสำรวจผลการจัดโปรแกรมหรือหลักสูตรการฝึกอบรมที่ประกอบด้วยเนื้อหา 2 เรื่องที่สำคัญได้แก่
        1.)  วิทยากร :  ความชัดเจนในการถ่ายทอด การยกตัวอย่างประกอบการตอบข้อซักถาม การควบคุมกิริยาท่าทาง น้ำ
                               เสียงและอารมณ์ในขณะที่บรรยาย
        2.)  สถานที่ อุปกรณ์ และเอกสารประกอบ : ความพร้อมและความสะดวกสบายของสถานที่ อุปกรณ์ รวมทั้งการจัด
                             เตรียมเอกสารประกอบการบรรยาย ตลอดจนการต้อนรับและอำนวยความสะดวกของเจ้าหน้าที่
2.     การติดผลการปฏิบัติงานภายหลังจากการเข้ารับการฝึกอบรมและพัฒนาพนักงาน เป็นการติดตามผลการปฏิบัติงานของพนักงานเป็นระยะๆ ซึ่งหัวหน้างานต้องเป็นผู้สังเกตและให้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback)  แก่พนักงาอย่างจริงใจและตรงไปตรงไปตรงมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานให้ดีขึ้น และเป็นการเตรียมความพร้อมและความก้าวหน้าในสายอาชีพให้กับพนักงาน
หมายเหตุ
 
ปัญหาที่เกิดขึ้นในการจัดทำแผนการฝึกอบรมและพัฒนาด้วยวิธีการดังกล่าว พบว่าไม่มีการวิเคราะห์ข้อมูลด้านองค์กรและด้านลักษณะงานอย่างจริงจัง โดยส่วนใหญ่หลายต่อหลายองค์กรจะจัดทำแผนฝึกอบรมและพัฒนาพนักงานรายบุคคลโดยการใช้เฉพาะแบบสำรวจความจำเป็นในการฝึกอบรมและพัฒนาพนักงานเท่านั้น ซึ่งมีผลทำให้โปรแกรมหรือหลักสูตรที่กำหนดขึ้นไม่ได้ตอบสนองต่อความจำเป็นที่แท้จริงของพนักงาน หน่วยงาน และองค์กรเท่าที่ควร
ดังนั้นการจัดทำ Training & Development Road Map จึงเป็นอีกหนทางหนึ่งในการกำหนดโปแกรมหรือหลักสูตรการฝึกอบรมและพัฒนาให้สามารถตอบสนองต่อวิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้หมาย และกลยุทธ์ธุรกิจ รวมทั้งตอบสนองความจำเป็นของหน่วยงานและลักษณะงาน ตลอดจนสามารถสะท้อนให้เห็นถึงความก้าวหน้าในสายอาชีพ (Career path)  ของพนักงานได้อีกด้วย ซึ่งในส่วนถัดไปจะกล่าวถึงรายละเอียดของการจัดทำ Training & Development Road Map

ข้อมูลอ้างอิง : หนังสือ Career Development in Practice
โดย :  คุณอาภรณ์  ภู่วิทยพันธุ์

อัพเดทล่าสุด