การประเมินผลงานฝึกอบรม : การประเมินระหว่างการฝึกอบรม MUSLIMTHAIPOST

 

การประเมินผลงานฝึกอบรม : การประเมินระหว่างการฝึกอบรม


596 ผู้ชม


การประเมินผลงานฝึกอบรม : การประเมินระหว่างการฝึกอบรม




        การประเมินระหว่างการฝึกอบรมเป็นการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินการทำงานขณะที่โครงการฝึกอบรม กำลังดำเนินงานอยู่ โดยผู้ประเมินจะเก็บรวบรวมข้อมูลในแต่ละช่วงเวลามาประเมิน เพื่อแก้ไขและปรับปรุงโครงการฝึกอบรมให้การดำเนินงานเกิดประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการ โดยที่การประเมินระหว่างการดำเนินการฝึกอบรมมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ 3 ประการ ต่อไปนี้

    1. พิจารณาและตรวจสอบวัตถุประสงค์ของโครงการว่า จะได้รับการตอบสนองหรือบรรลุความสำเร็จหรือไม่

    2. ทำให้ผู้จัดโครงการฝึกอบรมได้รับข้อมูลที่สำคัญที่จะใช้สำหรับการตัดสินใจแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เปลี่ยนแปลงแนวทางการปฏิบัติ หรือเปลี่ยนแปลงกิจกรรมที่ดำเนินอยู่ให้สอดคล้องคล้ายกับความเป็นจริงหรือสภาพแวดล้อม

    3. ใช้ผลจากการประเมินประกอบการตัดสินใจดำเนินการขยายผลหรือล้มเลิกโครงการ

การประเมินโครงการระหว่างดำเนินงานเป็นงานที่ยาก เนื่องจากผู้ประเมินไม่ต้องการรบกวนกิจกรรมที่กำลังดำเนินอยู่ของโครงการ โดยเฉพาะงานฝึกอบรมที่ผู้ประเมินและผู้ปฏิบัติงาน อาจเป็นบุคคลคนเดียวกัน ซึ่งต้องรับผิดชอบงานต่างๆ อย่างมากมายอยู่แล้ว ผู้ประเมินโครงการฝึกอบรมจึงต้องพยายามประเมินอย่างเรียบง่ายและรวดเร็ว แต่ให้ข้อมูลที่เที่ยงตรง และสามารถอ้างอิงได้ อย่างชัดเจน โดยเทคนิคที่นิยมนำมาใช้ประเมินโครงการระหว่างการดำเนินงานมี 3 แบบ (ดังภาพ 2.3 )ได้แก่

1.)  การทดลอง (Experiment)

 

            เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล โดยการสร้างสาเหตุขึ้นเพื่อสังเกตผลลัพธ์ โดยผู้ประเมินโครงการสามารถจัดโครงการให้เป็นสาเหตุและจัดการกระทำหรือการดำเนินกิจกรรมให้เป็นผล เพื่อเปรียบเทียบผลของโครงการฝึกอบรม ซึ่งมีแบบแผนการทดลอง (Experimental Design)  ที่นิยมใช้ 5 ลักษณะ คือ

        1.1 กลุ่มเดี่ยวทำการทดสอบก่อน – หลัง (One Group Pretest – Posttest Design)

        1.2 สองกลุ่มทำการทดสอบเปรียบเทียบก่อน – หลัง (Two Group Pretest – Posttest Design)

        1.3 กลุ่มเดียวอนุกรมเวลา (One Group Time Series Design)

        1.4 สองกลุ่มทำการทดสอบก่อน-หลังแบบสุ่ม (Randomized Two Groups Pretest-Posttest Design)

        1.5 สี่กลุ่มแบบสุ่มโซโลมอน (Randomized Solomon Four Groups Design)

2.)  การวิเคราะห์ข่ายงาน (Network Analysis)

 

       การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างงาน กิจกรรม ทรัพยากร และระยะเวลา โดยใช้เทคนิคการตรวจสอบและประเมินโครงการ (Program Evaluation and Review Technique , PERT)  หรือการวิเคราะห์เส้นทางวิกฤติ (Critical Path Method, CMP)  ซึ่งนิยมใช้ในโครงการด้านกายภาพ และมีผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม เช่นการก่อสร้าง การผลิต การพัฒนาสินค้าใหม่ เป็นต้น แต่มิได้เกี่ยวข้องกับโครงการฝึกอบรมโดยตรง

3.)  การวัดประสิทธิภาพความครอบคลุม (Coverage Efficiency Measurement)

       การพิจารณาว่า โครงการที่กำลังดำเนินการอยู่มีความครอบคลุมวัตถุประสงค์ที่ต้องการเพียงใด ซึ่งผู้ประเมินสามารถคำนวณได้จากสูตรต่อไปนี้

ภาพ 2.3 : เทคนิคการประเมินระหว่างการดำเนินงาน    ดร.ณัฎพันธ์ เขจรนันทน์  , การประเมินงานฝึกอบรม  หน้า30
         ปกติการประเมินระหว่างการดำเนินงาน จะเริ่มดำเนินการหลังจากนำแผนงานมาปฏิบัติ และอาจกระทำเป็นครั้งราวตามความเหมาะสมของระยะเวลานอกจากนี้ การประเมินระหว่างการฝึกอบรมอาจกระทำแบบไม่เป็นทางการ โดยผู้ประเมินจะดำเนินการผ่านการสนทนาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับวิทยากร ผู้เข้ารับการอบรม และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการฝึกอบรม เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขั้นได้ทันเวลา หรือนำเสนอข้อมูลต่อผู้บริหารเพื่อทำการปรับปรุงต่อไป


อัพเดทล่าสุด