https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
การประเมินผลงานฝึกอบรม : ข้อควรพิจารณาในการกำหนดวิธีการประเมินโครงการฝึกอบรม MUSLIMTHAIPOST

 

การประเมินผลงานฝึกอบรม : ข้อควรพิจารณาในการกำหนดวิธีการประเมินโครงการฝึกอบรม


578 ผู้ชม


การประเมินผลงานฝึกอบรม : ข้อควรพิจารณาในการกำหนดวิธีการประเมินโครงการฝึกอบรม




        วิธีการติดตามประเมินผลการฝึกอบรมอาจกระทำเพียงสั้นๆ ครั้งเดียวหรือติดต่อกันหลายครั้ง และครอบคลุมระยะเวลายาวนาน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และชนิดของโครงการฝึกอบรม ความรับผิดชอบ และความพร้อมของหน่วยงานฝึกอบรม ตลอดจนความสนใจและการสนับสนุนจากฝ่ายบริหาร สำหรับการฝึกอบรมที่จัดขึ้นเพื่อพัฒนาบุคลากร และศักยภาพในการแข่งขันขององค์กร  มักจะต้องติดตามผลการฝึกอบรมอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อศึกษาว่า บุคลากรในองค์กรกำลังประสบปัญหาในการปฏิบัติงานที่ต้องการการฝึกอบรมอะไรเพิ่มอีก ซึ่งวิธีประเมินการฝึกอบรมที่นิยมทำกันโดยทั่วไปมีดังต่อไปนี้

        1.     การวัดผลภายหลังกรฝึกอบรมเพียงครั้งเดียว

        2.     การวัดผลก่อนและหลังการฝึกอบรม

        3.     การวัดก่อนเริ่มโครงการ ระหว่างการฝึกอบรม และการวัดผลภายหลังการฝึกอบรม

        4.     การติดตามผลการฝึกอบรม ซึ่งมักดำเนินการเป็นช่วงเวลา เช่น 3 เดือน 6 เดือน และ 1 ปี

        5.     การสัมภาษณ์ผู้รับการฝึกอบรม / ผู้บังคับบัญชา / ผู้ร่วมงาน

        6.     การสังเกตการณ์ การดำเนินงาน และการปฏิบัติงานภายหลังการฝึกอบรม

        7.     การศึกษารายงานการปฏิบัติงานขององค์กร เพื่อศึกษาผลกระทบของการฝึกอบรมที่มีต่อการพัฒนาองค์การ

        8.     เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการฝึกอบรม

                    · การใช้แบบทดสอบความรู้ /  ทัศนคติ

                    ·  การปฏิบัติจริงกับเครื่องมือ หรือให้แสดงออกเป็นกิริยาอาการ

                    ·  การใช้กิจกรรมกลุ่มแก้ไขสถานการณ์สมมุติ และวิธีการอื่น

        การประเมินโครงการฝึกอบรมจะต้องดำเนินการแตกต่างกันตามลักษณะของโครงการ และปัจจัยสนับสนุน เช่น ค่าใช้จ่าย ระยะเวลา กำลังคน ความรู้และความสามารถในการประเมินโครงการ ความสนใจและการสนับสนุนจากผู้บริหาร เป็นต้น


ข้อมูลอ้างอิง : การประเมินผลงานฝึกอบรม

 

โดย  : ดร. ณัฎฐพงษ์ เขจรนันทน์

อัพเดทล่าสุด