https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
การวิเคราะห์บุคคล (Person Analysis) MUSLIMTHAIPOST

 

การวิเคราะห์บุคคล (Person Analysis)


521 ผู้ชม


การวิเคราะห์บุคคล (Person Analysis)




การวิเคราะห์บุคคล  (Person Analysis)

 

การวิเคราะห์บุคคล   (person analysis)  มีวัตถุประสงค์สองประการคือ ประการแรก เพื่อประเมินว่าผู้ปฏิบัติแต่ละคนมีความรู ทักษะ และความสามารถ ที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานอยู่ในระดับหนึ่ง และประการที่สอง เพื่อกำหนดว่าผู้ปฏิบัติงานเหล่านั้น จะต้องพัฒนาความรู้ ทักษะ และความสามารถ อะไร จึงจะทำให้การทำงานของพวกเขาดีขึ้น (McGehee& Thayer, 1961)   กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ  การวิเคราะห์บุคคลจะทำให้ทราบว่า ใครจำเป็นต้องได้รับการฝึกอบรม และการฝึกอบรมนั้นคืออะไร  ผลของการวิเคราะห์จะช่วยให้ข้อมูลซึ่งมีความสำคัญสำหรับการวางแผนการฝึกอบรม  ทั้งนี้เพราะการฝึกอบรมที่ดีจะต้องคำนึงถึงลักษณะของผู้รับการอบรม  และจัดวางหลักสูตาและวิธีการฝึกอบรมให้เหมาะสมกับลักษณะเหล่านั้น  นอกจากนั้น การวิเคราะห์บุคคลยังมีความสำคัญในแง่ที่ใช้เป็นการประเมิน ความสามารถในการรับการฝึกอบรม   (trainability)  ของผู้ปฏิบัติงาน   ซึ่งหมายถึง ความสามารถของบุคคลในการเรียนรู้ความรู้  ทักษะ ของพฤติกรรมซึ่งจำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานอย่างหนึ่งอย่างใดภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้  ความสามารถในการรับการฝึกอบรมของบุคคลหนึ่งๆ เป็นผลรวมของความสามารถเฉพาะตัวและระดับแรงจูงใจของบุคคลนั้น

โดยทั่วไปแล้ว  การวิเคราะห์บุคคลเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัย (diagnosis)  กล่าวคือ  การวิเคราะห์จะไม่เป็นแต่เพียงการค้นหาว่าพนักงานทำงานได้ดีเพียงไรเท่านั้น แต่ยังมุ่งค้นหาต่อไปอีกด้วยว่าเพราะเหตุใดพนักงานจึงทำงานได้ดีเพียงระดับนั้น การวิเคราะห์จะพยายามค้นหาคำตอบว่า การปฏิบัติงานที่ใช้ไม่ได้นั้น เป็นผลมาจากขาดความรู้ ทักษะ  ความสามารถ  หรือเป็นผลมาจากปัจจัยภายนอก ซึ่งอยู่นอกเหนือการควบคุมของพนักงาน

ดังนั้น การวิเคราะห์บุคคลจึงประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญสองประการ ขั้นตอนแรก คือ การประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ถ้าผลการปฏิบัติงานของพนักงานแต่ละคนอยู่ในขั้นดีอยู่แล้ว การฝึกอบรมก็อาจมุ่งเน้นการพัฒนาให้พนักงานมีความทันสมัยในด้านต่างๆ อยู่ตลอดเวลา  แต่ถ้าผลการปฏิบัติงานยังต่ำกว่ามาตรฐาน  ขั้นตอนต่อมาก็คือ  การค้นหาสาเหตุของปัญหานั้น  และกำหนดว่า พนักงานผู้นั้นจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาความรู้  ทักษะ หรือความสามารถด้านใด

การฝึกอบรมบุคลากรในองค์การ

โดย : รองศาสตราจารย์ ดร.ชูชัย  สมิทธิไกร


อัพเดทล่าสุด