https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ระบบพี่เลี้ยง : มาตรการเสริมที่มีประโยชน์ MUSLIMTHAIPOST

 

ระบบพี่เลี้ยง : มาตรการเสริมที่มีประโยชน์


597 ผู้ชม


ระบบพี่เลี้ยง :  มาตรการเสริมที่มีประโยชน์

 

มาตรการเสริม ชนิดหนึ่ง ที่จะช่วยให้การปฐมนิเทศและการปรับตัวของบุคลากรใหม่ประสบความสำเร็จในเวลาอันสั้น คือ การใช้ระบบพี่เลี้ยง (Buddy System)  ซึ่งหมายถึง การกำหนดให้บุคลากรเก่าที่มีประสบการทำงาน เป็นพี่เลี้ยงให้แก่บุคลากรใหม่ในลักษณะหนึ่งต่อไป พี่เลี้ยงจะเป็นผู้ทำหน้าที่ในการนำชมสถานที่ แนะนำบุคลากรใหม่แก่หน่วยงานและตอบคำถามต่างๆ ของบุคลการภายในองค์การได้อย่างไม่เคอะเขินและประหม่า ไม่ว่าจะเป็นการร่วมรับประทานอาหารกลางวัน การเล่นกีฬาหลังเลิกงาน หรืองานเลี้ยงขององค์การ  การที่บุคลากรใหม่มีโอกาสติดต่อสัมพันธ์กับสมาชิกอื่นในองค์การ ภายใต้สภาวการณ์ที่ไม่เคร่งเครียดเช่นนี้ สามารถจะช่วยให้บุคลากรใหม่ รู้สึกว่าตนได้รับการยอมรับจากกลุ่มได้อย่างรวดเร็วขึ้น  (Oldfield & Ayers, 1986)

อย่างไรก็ดี ระบบพี่เลี้ยงเป็นเพียงมาตรการเสริมของการปฐมนิเทศเท่านั้น ไม่ควรที่จะนำระบบนี้มาทดแทนระบบปฐมนิเทศซึ่งมีหัวหน้างานเป็นผู้ให้ข้อมูลทั้งนี้เพราะจะทำให้หัวหน้างานไม่ได้พูดคุยสื่อสารกับบุคลากรใหม่อย่างเปิดเผย ซึ่งในไม่ช้า บุคลากรใหม่อาจจะรู้สึกสายใจมากกว่าที่จะได้พูดคุยซักถามปัญหาจากเพื่อร่วมงาน แทนที่จะพูดคุยกับหัวหน้างานโดยตรง ซึ่งหมายความว่าหัวหน้างาน ได้พลาดโอกาสอันดีในการเสริมสร้างสัมพันธภาพกับลูกน้องของตนเอง

การฝึกอบรมบุคลากรในองค์การ

โดย : รองศาสตราจารย์ ดร.ชูชัย  สมิทธิไกร


อัพเดทล่าสุด