https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ข้อพิจารณาในการวางแผนความก้าวหน้าของอาชีพ MUSLIMTHAIPOST

 

ข้อพิจารณาในการวางแผนความก้าวหน้าของอาชีพ


647 ผู้ชม


ข้อพิจารณาในการวางแผนความก้าวหน้าของอาชีพ




    

ข้อพิจารณาในการวางแผนความก้าวหน้าของอาชีพ

 

 

               

                ในการวางแผนความก้าวหน้าของอาชีพนั้นควรจะต้องมีการพิจารณาอย่างชัดแจ้ง ทั้งนี้เพื่อให้สามารถเป็นเครื่องช่วยให้เกิดความสำเร็จและเป็นจริง สิ่งที่ต้องพิจารณาที่จะช่วยให้ความก้าวหน้าของอาชีพเกิดผลและเป็นจริงได้คือ

1. เป้าหมายต้องจำเพาะเจาะจงและมีรายละเอียด (specific)

                คือควรจะต้องระบุชัดเกี่ยวกับชื่อตำแหน่ง ระดับ หน้าที่ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้ชัดมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ทั้งนี้เพื่อรายละเอียดเหล่านั้นที่แสดงออกจะได้เป็นข้อมูลที่ช่วยให้หัวหน้างานหรือผู้บริหารเข้าใจได้ด้วย

2. การกำหนดกรอบเวลา (time-framed)

                คือควรจะมีการกำหนดขั้นตอนของเวลาเป็นรายละเอียดเป็นขั้นๆ ที่ต้องใช้และต้องการกระทำสิ่งต่างๆที่หวังการก้าวหน้าตามลำดับขั้นที่ได้วางไว้ ซึ่งการมีกรอบเวลาจะเป็นแนวทางหรือเครื่องช่วยเตือนว่าจะต้องทำอะไรเสร็จบ้าง จึงจะช่วยให้สามารถบรรลุเป้าหมายอาชีพได้ตามกำหนดเวลา

3. การพิจารณาความเป็นไปได้ (attainable)

                ภายหลังจากการกำหนดรายละเอียดของเป้าหมายไว้ชัดเจนและมีกรอบเวลาไว้แล้ว สิ่งที่สำคัญประการหนึ่งที่ต้องทำ คือ การประเมินโอกาสที่จะมีทางบรรลุเป้าหมายตามเวลาที่ระบุไว้ว่ามีเพียงใด วิธีการประเมิน คือ ประเมินถึงความชำนาญและความสามารถของบุคคล สภาพของโอกาสและข้อจำกัดขององค์การที่มีอยู่ ซึ่งหมายรวมถึงการประเมินภาวการณ์แข่งขันที่ต้องเผชิญด้วย

4. การวัดผล (measurable)

                ควรจะสามารถกระทำได้ตลอดทาง ทั้งนี้ก็เพื่อให้มีการทบทวนประเมินความเหมาะสมของเป้าหมายที่กำหนดไว้ครั้งแรกพร้อมกับการมีโอกาสแก้ไขปรับปรุงได้ การวัดผลอาจเป็นการวัดผลตามเป้าหมายก็ได้ แต่วิธีง่ายกว่าที่ทำได้เสมอ คือ การวัดผลด้วยการกำหนดวันที่ที่จะทำสิ่งต่างๆ ว่าได้ทำแล้วหรือไม่

5. การเปิดเผยให้เห็นทั่วกัน (visible)

                ทั้งนี้เพื่อที่จะได้มีโอกาสช่วยเหลือโดยใช้ประโยชน์จากการวิเคราะห์ และแก้ไขจากการเทียบกับทะเบียนข้อมูลคุณสมบัติหรือความชำนาญต่างๆ กับทำเนียบตำแหน่งที่จะได้จัดแผนความก้าวหน้าให้ดำเนไปโดยถูกต้องตามเป้าหมาย

6. ความสอดคล้องเข้ากันได้ (relevant)

                ข้อที่ควรพิจารณาที่สำคัญ คือ ต้องดูเป้าหมาย สอดคล้องเข้ากันได้กับความชำนาญ ความรู้ ประสบการณ์ และคุณสมบัติที่จำเป็นประการอื่นๆ หรือไม่ และพิจารณาต่อไปว่าเป้าหมายนั้นตรงกับความต้องการส่วนตัวของเขาบ้างหรือไม่

ที่มา: การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (ฉบับปรับปรุงใหม่ พิมพ์ครั้งที่ 11 ) โดย รศ.ธงชัย สันติวงษ์

อัพเดทล่าสุด