https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
การลดชั้นตำแหน่ง MUSLIMTHAIPOST

 

การลดชั้นตำแหน่ง


632 ผู้ชม


การลดชั้นตำแหน่ง




    

การลดชั้นตำแหน่ง

 

การลดชั้นตำแหน่ง หมายถึง  การเปลี่ยนตำแหน่งพนักงานในทางต่ำลงทั้งในแง่ฐานะและการจ่ายค่าตอบแทน ซึ่งโดยปกติมักจะมีการมอบหมายให้ไปทำงานใหม่ที่มีความยุ่งยากน้อยกว่า พร้อมกับการให้ความรับผิดชอบน้อยกว่าเดิมด้วย

การลดชั้นตำแหน่งอาจจะเกิดจากสาเหตุหลายประการที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของพนักงาน กรณีหนึ่งของการลดชั้นตำแหน่งก็คือ การยุบส่วนงานหรือการยุบหน่วยงาน ซึ่งนอกจากจะลดพนักงานบางคนออกไปแล้ว บุคคลที่ต้องการจะอยู่ต่อไปก็ต้องยอมรับและเต็มใจที่จะไปทำงานในตำแหน่งที่ต่ำกว่า  สาเหตุอีกประการหนึ่งอาจจะเกี่ยวกับประสิทธิภาพของตัวพนักงาน โดยเฉพาะในแง่ของการปฏิบัติงาน ตลอดจนทัศนคติและความสามารถ เช่น อาจจะมีการเลื่อนตำแหน่งขึ้นมาได้ไม่นาน และค้นพบในภายหลังว่าไม่สามารถที่จะทำงานได้ตามมาตรฐานในตำแหน่งใหม่ที่สูงขึ้น ซึ่งโดยมากมักจะเป็นปัญหามาจากการขาดความรู้ในด้านเทคโนโลยีและวิธีทำงาน ซึ่งพนักงาน ซึ่งพนักงานไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพใหม่นั้นได้  หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ หมายถึงฝ่ายจัดการได้ยกระดับความสำคัญของงานในตำแหน่งนั้น แต่บุคคลนั้นไม่สามารถที่จะทำงานได้ตามที่คาดหมาย ในบางครั้งการลดชั้นตำแหน่งอาจจะเป็นปัญหาเนื่องมาจากปัญหาด้านสุขภาพและความตกต่ำทางด้านร่างกาย ซึ่งทำให้ไม่สามารถที่จะทำงานในที่เดิมต่อไปได้

ผลเสียของการลดชั้นตำแหน่งนี้ มักมีผลกระทบอย่างสำคัญต่อศักดิ์ศรีหรือความภาคภูมิใจ และความหวังของพนักงานเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เพราะตำแหน่งงานมักจะเป็นสัญลักษณ์ที่เป็นรางวัล ตลอดจนเป็นฐานะและเกียรติของแต่ละบุคคล ดังนั้นจึงเป็นเรื่องซึ่งต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ และหากมีหนทางที่เลือกได้ฝ่ายจัดการมักจะไม่เลือกกระทำ

ในกรณีของการต้องถูกลดชั้นตำแหน่งเพราะสืบเนื่องมาจากการจำเป็นต้องลดฐานะของพนักงานเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ผลกระทบอาจจะเบา แต่ถ้าเป็นเรื่องของการลดตำแหน่งอันเนื่องมาจากความไม่สามารถหรือเนื่องมาจากอายุ ผลกระทบจะมีอย่างมากต่อขวัญและกำลังใจ ดังนั้น ในวิธีปฏิบัติส่วนใหญ่ที่พยายามจะหลีกเลี่ยงปัญหาเช่นว่านี้จึงมักจะไม่เลือกกระทำ หากแต่จะรักษาบุคคลนั้นไว้ในตำแหน่งเดิมและให้รับผิดชอบในหน้าที่และความรับผิดชอบที่จัดขึ้นใหม่ที่พอจะทำได้ สำหรับกรณีของหน่วยงานที่มีทรัพยากรมากพอนั้น บางครั้งวิธีการสร้างตำแหน่งงานขึ้นใหม่สำหรับให้บุคคลนั้น โดยให้ได้รับค่าตอบแทนและฐานะเท่าเดิมโดยไม่เปลี่ยนแปลง ก็อาจะเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ดีกว่า การกระทำเช่นนี้  ข้อดี ก็คือเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ยังคงรักษาเกียรติภูมิของบุคคลดังกล่าวไว้และยังคงให้มีฐานะเป็นที่นับถือของลูกค้าและของบุคคลอื่นต่อไปเช่นเดิม และได้รับผลประโยชน์อย่างเดิม เช่นนี้ก็ย่อมบรรเทาปัญหาให้เหลือน้อยที่สุดได้

ผู้บริหารบางแห่งมักจะถือการลดชั้นเป็นการลงโทษหรือการแก้ไขปัญหาทางวินัย ซึ่งนับว่าเป็นวิธีที่ไม่ถูกต้อง กล่าวคือ ถ้าหากพนักงานมีการประพฤติผิดที่ชัดแจ้ง เช่น การขาดงานหรืการระรานไม่เชื่อคำสั่งหรือดื่มสุรานั้น กรณีของการลดตำแหน่งก็คงจะมิใช่วิธีการที่สามารถแก้ไขพฤติกรรมดังกล่าวนั้นได้ ผู้ถูกลดตำแหน่งก็ยังคงทำงานในระดับที่ต่ำกว่าเดิมได้ แต่ก็ยังคงปฏิเสธหรือประพฤติผิดเช่นเดิมทำนองเดียวกับที่เคยทำมาแล้ว ความเข้าใจที่ถูกต้องซึ่งควรต้องถือว่าการลงโทษทางวินัยนั้นมีวัตถุประสงค์ที่จะกระทำเพื่อการแก้ไขหรือการอบรมพนักงานให้ดีขึ้น

ดังนั้นการใช้วิธีลดตำแหน่งงานเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงไม่มีทางที่จะเรียนได้เพราะสาเหตุอันเดียวกันที่ยังไม่เคยสามารถทำดีในตำแหน่งเดิมก่อนนั้นได้ และยังเป็นผลเสียต่อพนักงานผู้ถูกลดตำแหน่งที่จะต้องมีปัญหาทางด้านจิตวิทยาต่อไปพร้อมกับการต้องสูญเสียเงินเดือนและฐานะ

ที่มา : รองศาสตราจารย์ ธงชัย สันติวงษ์


อัพเดทล่าสุด