https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
การประเมินผลงานฝึกอบรม : การกำหนดเกณฑ์การประเมินโครงการ MUSLIMTHAIPOST

 

การประเมินผลงานฝึกอบรม : การกำหนดเกณฑ์การประเมินโครงการ


745 ผู้ชม


การประเมินผลงานฝึกอบรม : การกำหนดเกณฑ์การประเมินโครงการ




        การประเมินโครงการที่มีประสิทธิภาพจะต้องมีความเที่ยงตรง (Validity) และความเชื่อถือได้ (Reliability) ซึ่งเป็นผลมาจากการวางแผนและการดำเนินงานด้วยความเข้าใจ ทำให้ผู้ประเมินโครงการสามารถกำหนดมาตรฐานในการวัดและเปรียบเทียบผลการดำเนินงานอย่างชัดเจน  ดังนั้นก่อนการศึกษารายละเอียดในการกำหนดเกณฑ์การประเมินโครงการฝึกอบรม ผู้ศึกษาควรเข้าใจความหมายของคำศัพท์ ต่อไปนี้

        เกณฑ์ (Criterion) หมายถึง มาตรสำหรับกำหนดระดับหรือความสำเร็จในการเรียนรู้ของบุคคล โดยพิจารณาจากคุณสมบัติสำคัญซึ่งเป็นที่สนใจที่สามารถกำหนดและวัดได้อย่างชัดเจน เป็นรูปธรรม

        มาตรฐาน (Standard)  หมายถึง เป้าหมายอย่างเป็นรูปธรรมที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินสิ่งที่ต้องการพิจารณา ปกติมาตรฐานในการประเมินการศึกษาและการฝึกอบรมจะพิจารณาจากวัตถุประสงค์ของหลักสูตร (Curriculum Objectives) ว่าต้องการให้ผู้เข้ารับการอบรมเรียนรู้ มีพัฒนาการ หรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างไร ซึ่งมักจะหมายถึงวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม (Behavioral Objectives)

        การตัดสินใจ (Judgement) หมายถึง การนำเอาข้อมูลจากการวัดเปรียบเทียบกับมาตรฐาน เพื่อสรุปอย่างมีเหตุผลและคุณธรรมว่าระบบที่เราสนใจศึกษามีคุณสมบัติเหมาะสมหรือไม่ ตัวอย่างเช่นผู้เข้ารับการอบรมมีการเรียนรู้และพัฒนาการอย่างไร เป็นต้น

         ในทางปฏิบัติผู้ที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการประเมินโครงการจำเป็นต้องกำหนดเกณฑ์ที่ใช้กับการประเมิน ซึ่งอาจจะทำได้ 2 วิธีดังต่อไปนี้

                1.) การกำหนดเกณฑ์สัมบูรณ์

 

         หมายถึง เกณฑ์การตัดสินใจที่กำหนดไว้อย่างชัดเจนและตายตัวโดยผู้ที่มีความรู้และผู้เกี่ยวข้องกับโครงการ ทั้งนี้ผู้ประเมินโครงการฝึกอบรมจะจัดการสัมมนาระดมความคิด (Brainstroming) หรือใช้เทคนิค Delphi (Delphi Technique) เพื่อรวบรวมความคิดเห็นมาประมวลและสรุปเป็นเกณฑ์สัมบูรณ์สำหรับการประเมินโครงการขึ้น นอกจากนี้ผู้ประเมินอาจใช้วีการอ้างอิง โดยนำเอาเกณฑ์ที่มีบุคคลอื่นกำหนดไว้แล้วมาใช้เป็นเกณฑ์สำหรับการประเมินโครงการปัจจุบัน เช่น การกำหนดเกณฑ์ระดับความพึงพอใจของบุคลากร (Employee Statisfaction)  จากการใช้แบบประเมินค่าชนิด 5 ระดับ ของ Likert ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการประเมินโครงการฝึกอบรม ผู้ประเมินอาจใช้คะแนนเฉลี่ยความคิดเห็นแต่ละช่วงเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจเกี่ยวกับข้อมูลของโครงการดังนี้

        ·  ระดับคะแนน  1.00 – 1.49  หมายถึง   ผลการประเมินอยู่ในระดับน้อยที่สุด

 

        ·  ระดับคะแนน  1.50 – 2.49  หมายถึง   ผลการประเมินอยู่ในระดับน้อย

 

        ·  ระดับคะแนน  2.50 – 3.49  หมายถึง   ผลการประเมินอยู่ในระดับปานกลาง

 

        ·   ระดับคะแนน  3.50 – 4.49  หมายถึง   ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก

 

        ·   ระดับคะแนน  4.50 – 5.00 หมายถึง   ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด

 

        เราจะเห็นว่า เกณฑ์สัมบูรณ์จะมีความแน่นอนและไม่ยืดหยุ่น ดังนั้นการใช้เกณฑ์สัมบูรณ์สำหรับประเมินโครงการมีข้อที่ควรพิจารณา 3 ประการต่อไปนี้

        1. เกณฑ์ที่กำหนดขึ้นจะต้องสามารถตรวจสอบได้หรือกำหนดดรรชนี/ตัวบ่งชี้ (Indicator) ความสำเร็จตามเกณฑ์ได้ หมายถึง เกณฑ์ที่กำหนดขึ้นจะต้องไม่สูงจนเกินไป เพราะหากกำหนดเกณฑ์ไว้สูงจนเกินไปแล้ว โอกาสที่จะสรุปผลการดำเนินโครงการฝึกอบรมผิดพลาดอาจเกิดขึ้นโดยทำให้ผู้ประเมินสรุปผลการศึกษาว่าโครงการประสบความล้มเหลวในการดำเนินงาน ทั้งที่ในทางปฏิบัติโครงการอาจจะประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง

        2.  เกณฑ์ที่กำหนดขึ้นต้องไม่ต่ำเกินไป เพราะหากำหนดเกณฑ์ที่ต่ำเกินไป จะไม่สามารถจำแนกประชากรกลุ่มที่คุณสมบัติเหมาะสมออกจากประชากรกลุ่มที่ขาดคุณสมบัติได้ โดยเฉพาะการประเมินการเรียนรู้ที่จะทำให้ผู้เข้าอบรมอาจไม่ใส่ใจในการเรียนรู้ เพื่อผ่านการทดสอบ ซึ่งก่อให้เกิดความไม่คุ้มค่าในการลงทุนประเมิน

        3.  เกณฑ์ที่กำหนดะต้องหาสิ่งที่เป็นเครื่องชี้วัด หรือตัวแทนความสำเร็จได้อย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่น การกำหนดเกณฑ์ในการผ่านการฝึกอบรมว่าต้องได้ผลสัมฤทธิ์ในแต่ละกลุ่มวิชาไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ซึ่งตัวบ่งชี้การผ่านเกณฑ์ก็คือ คะแนนผลสัมฤทธิ์ในแต่ละกลุ่ม เป็นต้น

1.)  การกำหนดเกณฑ์สัมพันธ์

 

        หมายถึง การตัดสินผลการดำเนินงานของโครงการ โดยเปรียบเทียบกับผลลัพธ์ของโครงการอื่นที่มีลักษณะเดียวกันหรือเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของโครงการเดิม เกณฑ์สัมพันธ์จะช่วยให้ผู้ประเมินโครงการมีทางเลือกในการตัดสินใจต่อโครงการได้หลายทาง ซึ่งต่างจากเกณฑ์สัมบูรณ์ที่ผู้ประเมินจะมีทางเลือกในการตัดสินใจเพียงทางเดียว เนื่องจากการประเมินโครงการเป็นกิจกรรมที่ต้องอาศัยการเปรียบเทียบระหว่างผลลัพธ์ของทางเลือกต่างๆ ดังนั้นการเปรียบเทียบการดำเนินงานและผลการดำเนินงานโดยใช้เกณฑ์สัมพันธ์จึงมีความเหมาะสม แต่เกณฑ์สัมพันธ์ก็ได้รับการโต้แย้งว่า แต่ละโครงการย่อมีเงื่อนไขและสภาพการณ์อื่นๆ ที่เป็นข้อจำกัด ทำให้โครงการมีความแตกต่างกันอยู่โดยพื้นฐาน การเปรียบเทียบผลระหว่างโครงการซึ่งไม่อาจเปรียบเทียบกันได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมปัจจุบันข้อโต้แย้งดังกล่าวยังไม่มีข้อยุติว่าในการประเมินโครงการสมควรใช้เกณฑ์สัมบูรณ์หรือเกณฑ์สัมพันธ์มากกว่ากัน

 

 

        มีนักวิชาการ บางท่านเช่น Cronbach และ Stake ให้ข้อคิดว่า การประเมินแต่ละโครงการควรจะใช้เกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเฉพาะสำหรับประเมินโครงการฝึกอบรมนั้น หรือการประเมินโครงการฝึกอบรมควรใช้เกณฑ์สัมบูรณ์ทั้งสิ้น ขณะที่ศิริชัย กาญจนวาสี (2536) ให้ความเห็นว่า การประเมินก่อนการดำเนินโครงการ และการประเมินขณะดำเนินโครงการฝึกอบรมควรจะใช้เกณฑ์สัมบูรณ์ในการประเมิน และควรใช้เกณฑ์สัมพัทธ์ เพื่อทำการประเมินผลภายหลังสิ้นสุดโครงการ เพราะจะทำให้ผู้ประเมิน ทราบถึงมาตรฐานของโครงการฝึกอบรม เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับโครงการฝึกอบรมอื่นๆ ที่คล้ายกัน ซึ่ง รัตนะ บัวสนธ์(2540) สรุปว่า ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดเกณฑ์ประเภทใดสำหรับการประเมินโครงการ ถ้าจะให้ได้เกณฑ์ที่เป็นที่ยอมรับและนำมาใช้ได้อย่างเหมาะสม ที่มาของเกณฑ์ดังกล่าวควรมาจากหลายแหล่งรวมกัน ซึ่งประกอบด้วยคณะผู้จัดทำการประเมินโครงการฝึกอบรม ผู้ที่เกี่ยวข้องหรือเจ้าของโครงการและผู้รับผลกระทบจากโครงการ


ข้อมูลอ้างอิง : การประเมินผลงานฝึกอบรม

 

โดย  : ดร. ณัฎฐพงษ์ เขจรนันทน์

 

อัพเดทล่าสุด