การประเมินผลงานฝึกอบรม : วิธีการประเมินโครงการฝึกอบรม MUSLIMTHAIPOST

 

การประเมินผลงานฝึกอบรม : วิธีการประเมินโครงการฝึกอบรม


483 ผู้ชม


การประเมินผลงานฝึกอบรม : วิธีการประเมินโครงการฝึกอบรม




        ผู้คนส่วนใหญ่ จะมองภาพของการฝึกอบรมแค่เพียงการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติตามขอบเขตที่กำหนด โดยผู้มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการฝึกอบรมเพียงแค่กำหนดหัวข้อ เชิญวิทยากร จัดสถานที่ และประสานงานในด้านต่างๆ ให้เรียบร้อย ความจริงการฝึกอบรมมีความสำคัญและต้องดำเนินการในเชิงลึกโดยศึกษาและพัฒนาหลักสูตร วางแผนและดำเนินงานอย่างเหมาะสม ซึ่งต้องใช้ความรู้และความเข้าใจในหลักการ ตลอดจนต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาให้ทันสมัยอยู่เสมอ ผ่านการติดตาม ตรวจสอบอย่างเป็นระบบ และให้ข้อมูลที่ชัดเจน โดยที่ผู้ประเมินโครงการฝึกอบรมจะต้องตอบคำถามต่อไปนี้

        1.  ต้องการประเมินอะไร

        2. ใครประเมินอะไร

        3.  ประเมินใคร

        4.  ประเมินที่ไหน

        5.  ประเมินอย่างไร

        6.  ประเมินเมื่อใด

        7.  เหตุใดจึงประเมิน

    ตลอดจนใครเป็นผู้ใช้ผลการประเมิน  เพื่อการประเมินบรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ผู้ประเมินต้องคำนึงถึงคุณสมบัติของโครงการ ระยะเวลา ต้นทุน วัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม ผลที่จะได้จะคุ้มกับการลงทุนอย่างไร

สรุป

 

    การประเมินผลโครงการฝึกอบรม ที่มีประสิทธิภาพจะต้องมีคำตอบที่ชัดเจนแก่ผู้ใช้ว่าผลการดำเนินการเป็นอย่างไร โดยที่แนวทางการประเมินที่นิยมใช้กันมาก คือ แนวทางของ Kirkpatrick , Parker , ระบบ Bell และ CIRO  ซึ่งมีวีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ต่างกัน ดังนี้
            -   วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลของ Kirkpatrick แบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ ปฏิกิริยา การเรียนรู้ พฤติกรรม และ
                ผลลัพธ์
            -   วิธีการของ Parker  แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ การปฏิบัติงาน การปฏิบัติงานกลุ่ม ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วม
                โครงการ ผลลัพธ์ของการประยุกต์ และผลลัพธ์ด้านความคุ้มค่า
            -   ระบบ Bell  เน้นที่ผลระยะสั้น และผลระยะยาว  โดยเก็บรวบรวมข้อมูล ผลลัพธ์ทางปฏิกิริยา ผลลัพธ์ทางความ
                สามารถ ผลลัพธ์ทางการประยุกต์ และผลลัพธ์ด้านความคุ้มค่า
            -   วิธีการแบบ CIRO แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ การประเมินบริบท การประเมินปัจจัยนำเข้า การประเมินปฏิกิริยา
                และการประเมินผลลัพธ์
    ซึ่งแต่ละวิธีจะสามารถตอบคำถามจะวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ในลำดับแรกได้ ซึ่งต่างมุ่งเน้นถึงการแปลผลลัพธ์ที่ได้จากโครงการฝึกอบรม มากว่าปฏิกิริยาของผู้เข้ารับการอบรม อย่างไรก็ดี แม้ว่าปฏิกิริยาของผู้เข้าอบรมจะไม่ให้ข้อมูลที่มีประโยชน์อะไรมากมายในบางเรื่อง แนวทางทั้ง 4 ก็มิได้ทิ้งการประเมินปฏิกิริยาของผู้เข้าอบรมในโครงการฝึกอบรมออไปจากการประเมินผลเสียเลย


 

ข้อมูลอ้างอิง : การประเมินผลงานฝึกอบรม

 

โดย  : ดร. ณัฎฐพงษ์ เขจรนันทน์

 

อัพเดทล่าสุด