https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
บทบาทของพี่เลี้ยง (Mentoring Status) MUSLIMTHAIPOST

 

บทบาทของพี่เลี้ยง (Mentoring Status)


772 ผู้ชม


บทบาทของพี่เลี้ยง (Mentoring Status)




        คำว่า พี่เลี้ยง มีความหมายอย่างกว้าง รวมเอาความหมายต่อไปนี้ไว้ในคนๆเดียวคือ เป็นทั้งครู (Teacher)  เป็นที่ปรึกษา (Advisor) เป็นผู้สนับสนุน (Sponsor) และเป็นคนที่ไว้ใจ (Confidant) พนักงานใหม่เมื่อแรกเริ่มเข้าร่วมงาน อาจยังไม่เข้าใจบทบาทของตนเองและขอบเขตงานที่แท้จริง เพราะเขาจะเข้าใจบทบาทของตนและขอบเขตงานโดยนึกคิด หรือทึกทักเอาเองจากลักษณะตำแหน่งงานที่บริษัทกำหนดเท่านั้น ในความเป็นจริงเนื้อหาสาระและขอบเขตของงานอาจไม่เป็นไปตามทีคิด

       บริษัทของไทยส่วนใหญ่ให้ผู้บังคับบัญชาเป็นผู้ดูแล แต่ความจริงพบอีกว่า การดูแลส่วนมาเป็นเรื่องของการสั่งงานในหน้าที่มากกว่าการสอนงานแบบพี่เลี้ยง ในชีวิตการทำงานจริงพนักงานใหม่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจสภาพแวดล้อมของบริษัทมากว่าหน้าที่ที่รับผิดชอบโดยตรง จึงจะทำให้พนักงานเห็นภาพรวมของบริษัท เมื่อพนักงานเห็นภาพรวมของบริษัทจะทำให้พนักงานทราบถึงภารกิจและทิศทางธุรกิจของบริษัท ทำให้พนักงานมีความมั่นใจในความมั่นคงของบริษัท ด้วยเหตุผลนี้พนักงานใหม่จำเป็นต้องการความรู้ ความเข้าใจในภารกิจ นโยบายและวัฒนธรรมขององค์กร

    พี่เลี้ยงจะมีบทบาทมากในการดูแลพนักงานใหม่ ที่เลี้ยงจะช่วยดูแลและสร้างความเข้าใจกับพนักงานใหม่ในรูปแบบของการแลกเปลี่ยนความรู้ การให้คำปรึกษาแนะนำ ฯลฯ สรุปง่ายๆ ก็คือ ผู้ที่มีบทบาทในการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรนั่นเอง (Cultural Carrier)  ดังนั้นลักษณะของพี่เลี้ยงจะต้องมีความเป็นผู้ใหญ่พอสมควร และต้องเป็นคนที่มองโลกในแง่ดี (Positive Thinking) มีความเข้าใจวัฒนธรรมองค์กรเป็นอย่างดี

      ประโยชน์ที่ได้จากการที่พนักงานมีความเข้าใจในภาพรวมของบริษัท คือ ทำให้พนักงานเข้าใจภารกิจและนโยบายของบริษัท เมื่อพนักงามีความเข้าใจในภารกิจ และนโยบายของบริษัทแล้วจะทำให้พนักงานปฏิบัติงานได้อย่างมีเป้าหมายและสามารถกำหนดเป้าหมายในการทำงาน (Goal Setting)  และสามารถปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลที่ตามมาคือความสามารถโดยรวมของบริษัทจะมีการยกระดับของการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ตรงกันข้ามถ้าพนักงานทำงานอย่างไรเป้าหมาย หรือที่เรารู้จักกันดีว่าเป็นการทำงานที่เน้นพฤติกรรม (Behavior Oriented)  หมายความว่าไม่รู้ว่างานที่ตนเองปฏิบัติอยู่นั้นมีความสำคัญมากน้อยเพียงใด และมีผลที่กระทบต่อบริษัทมากน้อยเพียงใด ไม่รู้ว่าทำงานไปแล้วเพื่อจุดมุ่งหมายอะไร ลักษณะการทำงานจึงเป็นแบบขอไปทีให้หมดไปวันๆ นานวันเข้าเมื่อคนเหล่านี้มีมากขึ้นเรื่อยๆ ความด้อยประสิทธิภาพในการทำงานก็จะเพิ่มพูนสะสม จนยากที่จะแก้ไข ในที่สุดจะนำไปสู่การรวมตัวของคนเหล่านี้ ในรูปของ สหภาพ สหพันธ์ องค์กร เพื่อต่อรองกับนายจ้าง การรวมตัวในลักษณะดังกล่าว เป็นการรวมตัวเพื่อป้องกันความเสี่ยงในการถูกเลิกจ้าง มากกว่าเพื่อพัฒนาบริษัท


อัพเดทล่าสุด