https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ทฤษฎีค่าจ้างที่ยุติธรรม (The Just Price Wage) MUSLIMTHAIPOST

 

ทฤษฎีค่าจ้างที่ยุติธรรม (The Just Price Wage)


1,416 ผู้ชม


ทฤษฎีค่าจ้างที่ยุติธรรม (The Just Price Wage)

ค่าจ้างที่ยุติธรรมหรือ Just Wage คือค่าจ้างที่ทำให้บุคคลสามารถดำรงชีพได้อย่างเหมาะสมกับสถานะตำแหน่งในการทำงาน นั่นคือ ถ้าเขามีตำแหน่งสูงขึ้น ค่าจ้างก็ควรสูงตาม

ทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีค่าจ้างที่เก่าแก่ เชื่อกันว่าเริ่มมาจากแนวคิดของ เพลโต (427 – 347BC) และ อริสโตเติล (384 – 322 BC)  ซึ่งเซนต์ โทมัส อควินัส (1225 – 1247AD)    ได้เป็นผู้นำมาปรับปรุงใช้ในยุคกลาง ซึ่งได้รับการยอมรับอย่างสูง เพราะในยุคนั้นมีการจ้างช่างศิลป์ และช่างฝีมือจำนวนมาก ในขณะที่แรงงานที่ใช้มักจะใช้การซึ่งไม่ได้รับค่าจ้างอยู่แล้ว ช่างศิลป์ และช่างฝีมือที่สามารถจะได้รับสถานะตำแหน่งที่สูงและได้รับค่าจ้างสูงด้วย

อย่างไรก็ดี ทฤษฎีค่าจ้างนี้มีทั้งข้อดี และข้อเสียทั้งสองด้าน ได้แก่

ข้อดี

  1. เป็นการประกันการทำงาน ของช่างฝีมือว่าจะยังคงทำงานต่อไปได้โดยไม่ต้องกังวลกับภาระด้านเศรษฐกิจ ทำให้สามารถผลิตงานใหม่ๆ และถ่ายทอดฝีมือต่อไป
  2. เป็นการให้ความสำคัญแก่ปัจจัยมนุษย์ ซึ่งแตกต่างกับปัจจัยการผลิตอื่นๆ ซึ่งแนวคิดนี้มีอิทธิพลต่อทฤษฎีค่าจ้างยุคปัจจุบัน

ข้อเสีย

  1. ค่าตอบแทนจะถูกจำกัดโดยสถานะตำแหน่งงาน
  2. ขัดแย้งกับหลักเศรษฐศาสตร์ที่ค่าจ้างจะต้องสัมพันธ์กับการผลิตโดยตรง
  3. ปัจจัยที่อ้างอิงมีน้อยเกินไป และเลื่อนลอย
  4. มาตรฐานที่ยอมรับกันว่ายุติธรรมก็ยังไม่เป็นที่กระจ่างชัด และเป็นที่โต้แย้งกันเสมอ

นักทฤษฎีสมัยใหม่ชี้ว่าค่าจ้างที่ยุติธรรมจำต้องมีคุณสมบัติของความยุติธรรม 2 ประการ คือ

  1. ความยุติธรรมในประเด็นค่าตอบแทน  เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล นั่นคือ นอกจากจะเป็นการแลกเปลี่ยนที่เป็นธรรม (Exchange Justice) คือขณะที่ลูกจ้างให้แรงงานและบริการที่เป็นผลิตผลมีมูลและราคา ค่าตอบแทนกลับเป็นการแลกเปลี่ยนการได้อัตราราคาตลาด และเงื่อนไขการแข่งขันอย่างสมบูรณ์
  2. ความยุติธรรมในประเด็นทางสังคม (Social หรือ Distributive Justice) ถือว่าสังคมต้องตอบแทนแรงงานที่คนงานอุทิศให้โดยให้คนงานครองชีพอยู่ได้ และค่าจ้างที่จะดำรงชีพอยู่ได้ (Living) นั้น อย่างน้อยควรเป็นค่าจ้างที่ครอบครัวธรรมดา (สามีภรรยา และบุตร 2 คน) สามารถอยู่ได้ตามมาตรฐานการครองชีพขั้นต่ำ Living wage นี้ จะไม่เท่ากันในแต่ละประเทศ ขึ้นอยู่กับสภาวะเศรษฐกิจ และเงื่อนไขของประเทศนั้นๆ

        แนวคิดเรื่องค่าจ้างที่ยุติธรรมนี้ยังมีอิทธิพลอยู่บ้างในปัจจุบันเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายแล้วการปฏิบัติเกี่ยวกับค่าจ้างโดยรัฐบาล เช่นในการพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของแรงงานตามกฎหมายเป็นต้น

อัพเดทล่าสุด