https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
Broadbanding : การออกแบบระดับ MUSLIMTHAIPOST

 

Broadbanding : การออกแบบระดับ


419 ผู้ชม


Broadbanding : การออกแบบระดับ




การออกแบบระดับในแต่ละองค์กรจะไม่เหมือนกัน

 

        บทเรียนจากเอกสารเรื่อง Broadbanding จากหลายแหล่งสรุปตรงกันว่า “การออกแบบระดับในแต่ละองค์กรจะไม่เหมือนกัน” ทั้งนี้เพราะแต่ละองค์การมีโครงสร้างที่แตกต่างกัน ยุทธศาสตร์เป้าหมาย วิสัยทัศน์ ตลอดจนประวัติศาสาตร์และวัฒนธรรมก็แปลกแยกกันออกไปตามเงื่อนไขภายในการจัดแบ่งพนักงานออกเป็นกี่ระดับจึงขึ้นอยู่ว่าองค์กรมีแนวทางในการบริหารค่าจ้างเงินเดือนอย่างไร เคยมีผู้เปรียบเทียบว่า “การปรับเข้าสู่ Broadbanding ก็เหมือนการจัดทีม ในแง่ที่ว่าไม่มีองค์กรใดที่มีทีมงานและโครงสร้างที่เหมือนกับองค์กรอื่น”  จึงไม่ประหลาดใจที่บางองค์กรลดลงเหลือเพียง 2 ระดับ ส่วนอีกองค์กรหนึ่งในอุตสาหกรรมเดียวกันแท้ๆ กลับเป็น 13 ระดับ

        หากจะใช้อุปมาอุปมัยเรื่องทีมงานต่อ ทีมงานกับ Broadbanding ก็ยังเหมือนกันในแง่ของการเป็นวิธีคิดหรือมุมมองอีกด้วย Broadbanding เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งในการวางขอบเขตกำหนดขอบข่าย ระดับและการเติบโตในสายอาชีพของพนักงานในองค์กร ที่ไม่แบ่งชั้นลดหลั่นกันมากนักและกว้างพอที่จะรวบรวมพนักงานในหลายๆตำแหน่งและวิชาชีพเข้าด้วยกัน Broadbanding ช่วยรับรององค์กรที่ไม่แบ่งชั้นวรรณะมากนัก สายการบังคับบัญชาสั้น มีวัฒนธรรมการปฏิบัติงานที่แคล่วคล่องว่องไว และทำให้องค์กรจัดโครงสร้างงาน และการจ่ายค่าตอบแทนให้พนักงานอย่างยืดหยุ่นมาก

        ดังนั้น อย่ามัวไปแสวงหารูปแบบพร้อมใช้ที่สามารถจะมาสวมทับรับใช้องค์กรขอบคุณจากที่อื่นให้เสียเวลาเลย รูปแบบอย่างนั้นหาไม่ได้ในโลกแห่งความเป็นจริง คุณต้องคิด และต้องสร้างขึ้นมาเอาเอง แต่ไม่เสียหายที่จะศึกษารูปแบบที่องค์กรอื่นใช้อยู่ เพื่อเลือกเฟ้นสิ่งที่เหมาะสมกับองค์กรของคุณ

        “เมื่อสมัยที่เราเริ่มคิดเรื่องการนำ Broadbanding มาใช้ เรามองหา “คำตอบสำเร็จรูป” ที่เราจะนำมาใช้ได้ทันที แต่แล้วเราก็ต้องรู้ซึ้งแก่ใจว่า การจัดระดับ Broadbanding ในแต่ละองค์กรแตกต่างกันออกไปตามฐานานุรูป ไม่มีคำตอบสำเร็จที่จะหยิบฉวยมาใช้ง่ายๆ ซึ่งในระยะยาวกลับเป็นเรื่องที่ดี เพราะคุณสามารถออกแบบให้เหมาะสมกับกลยุทธ์ของบริษัทคุณได้” จิล เอ. เซ็นเทรลโล ผู้จัดการส่วนบริหารค่าตอบแทนพนักงานที่ไม่ใช่ระดับบริหารของบริษัท Progressive ซึ่งประกอบธุรกิจด้านประกันภัยกล่าว

ตัวอย่างของการออกแบบระดับในองค์กรต่างๆ

องค์กร

ระดับ

จำนวน

จำนวนพนักงานที่จัดเข้าระบบ

แนวทางการประเมิน

ค่างานในแต่ละระดับ

ช่วงห่างของขัน

เงินเดือน/ตัวควบคุม

 

Baxter Healthcare Information Technology Group

5

450

เปรียบเทียบกับองค์กรอื่น(benchmarking)

แต่ละระดับมีจุดต่ำสุดและเพดาน

Coregis Group

8

500

Skill - based

แต่ละระดับมีจุดต่ำสุดและเพดาน

Eli Lillt & Co.

15

15,037

ความสัมพันธ์ภายในประกอบกับการเปรียบเทียบเมื่อจัดพนักงานลงระดับต่างๆ

แต่ละระดับมีจุดต่ำสุดและเพดาน / ใช้ quartiles ด้วย

Famous Footwear

8

9,500

จับคู่เปรียบเทียบประกอบการเทียบกับตลาดแรงงาน

(ไม่มีข้อมูล)

Hussey Seating Co.

6

400

แบ่งเป็น 2 ปัจจัย คือ

·  ความลึกและความกว้างของทักษะและความรู้

·  ขอบเขตความรับผิดชอบ

แต่ละระดับมีจุดต่ำสุดและเพดาน

Progressive Co.

9

8,000

ปรับระดับแบบมองทั้งองค์กร

แต่ละระดับมีจุดต่ำสุดและเพดาน/ในแต่ละระดับแบ่งเป็น 3 โซนแต่ละโซนมีโอกาสในการขึ้นเงินเดือนต่างกัน / บริษัทเปรียบเทียบกับองค์กรอื่น (benchmarking)จากการสำรวจเงินเดือนที่พิมพ์เผยแพร่แล้วเป็นแนวทาง

The Scotts Co.

9

1,00

ใช้ปัจจัย 3 ประการ

Thomson Multimedia

5

ใช้ปัจจัย 4 ปะการ

·  การทำงานกับลูกค้า

·  ความเป็นผู้นำและผลกระทบ

·  ความชำนาญและไหวพริบ

·  รูปแบบและความถี่ของการวัดผลการปฏิบัติงาน

แต่ละระดับมีจุดต่ำสุดและเพดาน/ในแต่ละระดับแบ่งเป็นโซนมีโอกาสในการขึ้นเงินเดือนต่างกัน

Bristol Myer Squibb

8

ใช้ปัจจัยหลัก 2 ประการ

·  ความซับซ้อนของกิจกรรม

·  สภาพแวดล้อมภายนอก


บริหารค่าตอบแทนแบบสร้างสรรค์ด้วยระบบ Broadbanding

Boradbanding : An Innovative in Compensation Management

เขียนโดย :  ธัญญา  ผลอนันต์


อัพเดทล่าสุด