https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ตัวอย่าง กรณีที่ 2 โครงสร้างค่าตอบแทนบัญชีเดียวไม่ได้ใช้แนวคิด “ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน” อย่างสมบูรณ์ MUSLIMTHAIPOST

 

ตัวอย่าง กรณีที่ 2 โครงสร้างค่าตอบแทนบัญชีเดียวไม่ได้ใช้แนวคิด “ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน” อย่างสมบูรณ์


614 ผู้ชม


ตัวอย่าง กรณีที่ 2 โครงสร้างค่าตอบแทนบัญชีเดียวไม่ได้ใช้แนวคิด “ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน” อย่างสมบูรณ์




ค่างาน – ระดับตำแหน่ง – ค่าตอบแทน
ในเรื่องค่าตอบแทนแทนหรือค่าจ้าง หรือเงินเดือน เป็นเรื่องที่น่าสนใจ แต่ธุรกิจหรือผู้บริหารระดับสูงหรือแม้กระทั่ง CEO/MD/President) ของแต่ละบริษัทที่จะสามารถทำความเข้าใจ จัดทำขึ้นมาและบริหารให้ถูกต้องเหมาะสมนั้นไม่ใช่สิ่งที่จะทำได้ง่ายๆ เช่น

 

ตัวอย่าง กรณีที่ 2 โครงสร้างค่าตอบแทนบัญชีเดียวไม่ได้ใช้แนวคิด “ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน” อย่างสมบูรณ์

บริษัทหลายแห่งในปัจจุบันหรือแม้กระทั่งรัฐวิสาหกิจหลายๆ แห่งจะมีโครงสร้างค่าตอบแทนเพียงบัญชีเดียว หรือเพียงโครงสร้างเดียว ทั้งนี้ก็เพราะว่า

1)     เข้าใจว่าความเป็นธรรมภายในองค์กร (Internal Equity)  ในเรื่องของค่าตอบแทนนั้นควรเป็นลักษณะที่เหมือนๆ กันของทุกตำแหน่งหรือทุกสายอาชีพซึ่งการคิดดังกล่าวทำให้นำไปสู่การมีโครงสร้างค่าตอบแทนบัญชีหลักเพียงบัญชีเดียว

2)     ลักษณะดังกล่าวทำให้เกิดความแตกต่างในความเป็นธรรมกับภายนอก (External Equity)  หมายความว่า บางกลุ่มอาชีพเช่น ตำแหน่งพนักงานหรือผู้บริหารด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product Development)  ไม่สามารถทำการว่าจ้างได้ทั้งนี้ก็เพราะว่า

“หากต้องการให้เกิดความเป็นธรรมภายในองค์กร ค่าตอบแทนของตำแหน่งดังกล่าวจะสูงกว่าตำแหน่งที่เทียบกันภายในองค์กร แต่ค่าตอบแทนลดลงมาเท่ากับระดับตำแหน่งภายในองค์กรก็ไม่อาจแข่งขันกับราคาตลาดได้”

เหตุการณ์ที่เล่าอธิบายให้เห็นภาพนี้ เกิดขึ้นก็เป็นอันว่า บริษัทจบเห่แน่ๆ โดยเฉพาะระบบโครงสร้างค่าตอบแทนบัญชีเดียว

ซึ่งบางบริษัทอาจจะแก้ไขปัญหาอย่างถูกวิธีโดยให้ ค่าของความรู้หรือปริญญาตรีของวุฒิปริญญาบัญชี ตามสายอาชีพ เช่น

ฝ่าย ก.                     เป็นงานด้านวิเคราะห์ตลาดให้                               10,000 บาท

ฝ่าย ข.                     เป็นงานด้านพัสดุ-จัดซื้อให้                                     8,000 บาท

ฝ่าย ค.                     เป็นงานด้านบัญชีต้นทุนให้                                   12,000 บาท

อาจจะแก้ปัญหาระหว่างความเป็นธรรมภายนอกกับความเป็นธรรมภายในบุคคลได้ระดับหนึ่ง แต่แก้ไม่ได้ทั้งหมด

ทางออก ! ที่ดีที่สุดในเรื่องนี้ บางองค์กร/ธุรกิจทำได้ดี เช่น มีค่าตำแหน่งหรือค่าวิชาชีพ ซึ่งช่วยแก้ปัญหาได้จนกระทั่งเกิดความเป็นธรรมใน 3 องค์รวมคือความเป็นธรรมภายในองค์กร ความเป็นธรรมภายในบุคคลและความเป็นธรรมภายนอกองค์กรเทียบกับอัตราตลาด (Market Rate)

3)     ไม่ได้นำหลักของระบบคุณธรรม (Merit System) เข้ามาใช้เพราะว่าพนักงานใหม่ทั้ง 3 คนเรียนสาขาบัญชีจากมหาวิทยาลัยชั้นนำแห่งหนึ่งมีผลการเรียน (GPA)  เกียรตินิยมถูกบรรจุไปใน 3 ฝ่ายงานคือ ฝ่าย ก. เป็นงานด้านวิเคราะห์ตลาดฝ่าย ข. เป็นงานด้านพัสดุจัดซื้อ  และฝ่าย ค. เป็นฝ่ายงานด้านบัญชีต้นทุน

ปรากฏว่า บริษัทแห่งนี้ว่าจ้างอัตราเริ่มต้นของวุฒิปริญญาตรีที่ 10,000 บาท พนักงานทั้ง 3 คน จะได้รับเงินเดือนที่ 10,000 บาททั้ง 3 คน

               

ถ้ามองความเป็นธรรมในองค์กรถือว่าใช้ได้ แต่ความเป็นธรรมของบุคคลอาจเกิดปัญหาโดยเฉพาะการให้แตกต่างกันตามตัวอย่างข้างต้น ถ้าหากอัตราตลาดของวุฒิปริญญาตรีทางบัญชีข้างนอกอยู่ที่ 12,000 บาท สำหรับผู้ที่ได้รับปริญญาตรีเกียรตินิยม และถ้าหากทำงานที่ตรงสายอาชีพ เช่น บริษัทผู้ตรวจสอบบัญชีอาจจะว่าจ้างที่ 13,500 บาท

ข้อมูลอ้างอิง : ค่าตอบแทนตามผลสำเร็จ
เขียนโดย : ดนัย  เทียนพุฒ


อัพเดทล่าสุด