https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ทำไมเรื่องการบริหารค่าตอบแทนจึงเป็นสิ่งสำคัญมากในธุรกิจ MUSLIMTHAIPOST

 

ทำไมเรื่องการบริหารค่าตอบแทนจึงเป็นสิ่งสำคัญมากในธุรกิจ


502 ผู้ชม


ทำไมเรื่องการบริหารค่าตอบแทนจึงเป็นสิ่งสำคัญมากในธุรกิจ




ค่าตอบแทนเรื่องที่ทุกคนในธุรกิจอยากรู้

 

 

ทำไมเรื่องการบริหารค่าตอบแทนจึงเป็นสิ่งสำคัญมากในธุรกิจ เพราะ

  1. ในการว่าจ้างพนักงานหรือบุคคลให้เข้ามาสู่องค์การสิ่งหนึ่งที่จะต้องพูดคุย หรือภาษาธุรกิจเรียกว่า การต่อรองเรื่องค่าจ้าง – เงินเดือน ทั้งนี้โดยทั่วไปจะขึ้นอยู่กับหลายๆปัจจัยเช่น

            -     ความรู้ความสามารถ (ปัจจุบันดูที่ความสามารถเป็นหลัก) ว่ามี  “กึ๋น” หรือ “ความเก่ง”  (Talent) ว่ามีขนาด

                   ไหน

            -     การตีมูลค่าทั้ง 2 ประการข้างต้นออกมาในรูปตัวเงินว่าจะมีราคาค่างวดเท่าไหร่

            -     สุดท้ายองค์กรหรือผู้บริหารธุรกิจจะจ้างได้หรือไม่

        ทั้งนี้เป็นการคาดหวังว่า เมื่อจ่ายค่าตอบแทนหรือเงินเดือน – ค่าจ้าง ตามที่ต่อรองไว้นั้นจะสามารถทำให้ได้ผลงานหรือบรรลุผลสำเร็จจริงตามนั้น

  1. ในระหว่างการทำงานจำเป็นที่จะต้องให้ค่าตอบแทนเพิ่มเติม ซึ่งอาจจะด้วยหลายๆ ปัจจัยที่สำคัญต่อการดึงศักยภาพหรือความสามารถของคนในองค์กรออกมาใช้งานให้มากที่สุด เช่น

            -     ในกรณีที่พนักงานหรือผู้บริหารบางคนปรับระดับความสามารถจนกระทั่งผลงานมีคุณค่าสูงสุด (Superior

                   Performances) หรือในภาษาของการบริหารคน ก็คือ ความสามารถขั้นสูงสุดที่เรียกว่า “ระดับ

                   Leading”  (ระดับการนำ) จำเป็นที่จะต้องเพิ่มค่าตัวให้กับบุคคลนั้นๆ      

            -     การทำงานบรรลุตามผลสำเร็จหรือผลลัพธ์ที่กำหนดไว้ใน “KPIs ระดับธุรกิจ” (Corporate KPIs) หรือ

                  “KPIs ระดับหน่วยงาน” (Department KPIs) เป็นต้น ซึ่งอาจจะให้ผลตอบแทนการทำงานที่สูงขึ้นหรือ

                  อาจให้รางวัลเป็นโบนัสก็ได้

            -     ในกรณีที่ได้รับการเลื่อนตำแหน่งหน้าที่สูงขึ้นซึ่งบางท่านอาจจะได้รับการปรับทั้งตำแหน่งและเงินเดือนไป

                   พร้อมๆกันหรือบางท่านได้รับเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง

  1. บุคลากรโดยเฉพาะผู้บริหารหรือบุคคลที่เป็นหัวใจสำคัญของหน่วยงานบางครั้งความเก่งหรือศักยภาพในงานของบุคคลนั้นๆอาจจะเป็นที่ต้องการหรือถูกหมายปองจากบริษัทคู่แข่งขัน ทำให้บุคคลนั้นๆ ตัดสินใจลาออก ผู้บริหาร ระดับสูงหากได้พิจารณาแล้วเห็นว่าการสูญเสียบุคคลดังกล่าวไป อาจเกิดความเสียหายให้กับธุรกิจ จึงมีการประมูลหรือเพิ่มค่าตัวให้สูงขึ้น ทั้งนี้ก็หวังว่าจะเป็นการหยุดยั้งการตัดสินใจลาออกหรือหยุดการถูกซื้อตัวไปจากคู่แข่งขัน

ข้อมูลอ้างอิง : ค่าตอบแทนตามผลสำเร็จ

เขียนโดย : ดนัย  เทียนพุฒ


อัพเดทล่าสุด