https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ผู้บริหารธุรกิจต้องเข้าใจเรื่องการบริหารค่าตอบแทน MUSLIMTHAIPOST

 

ผู้บริหารธุรกิจต้องเข้าใจเรื่องการบริหารค่าตอบแทน


556 ผู้ชม


ผู้บริหารธุรกิจต้องเข้าใจเรื่องการบริหารค่าตอบแทน




ผู้บริหารธุรกิจต้องเข้าใจเรื่องการบริหารค่าตอบแทน

 

 

การบริหารค่าตอบแทน หรือการบริหารเงินเดือน – ค่าจ้าง ในความเป็นจริงแล้วยังมีอะไรที่เป็นทฤษฎีและเป็นระบบที่ไม่ได้กล่าวไว้อีกหลายเรื่องที่เป็นเรื่องที่ผู้บริหารธุรกิจส่วนใหญ่อาจยังต้องทำความเข้าใจให้มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

ประการแรก การเชื่อมโยง Balanced Scorecard (BSC) และ KPIs กับระบบบริหารค่าตอบแทนแบบใหม่  มีอยู่ 9 ขั้นตอน ประกอบด้วย

  1. สร้างความเข้าใจเรื่อง BSC & KPIs ให้กับผู้บริหารระดับสูง

  2. ตรวจหรือประเมินความพร้อมก่อนการจัดทำ BSC & KPIs

  3. การจัดทำโดเมลธุรกิจ (B –Model)

  4. การเชื่อมโยงโมเดลธุรกิจของภารกิจทั้งหมดกับฝ่ายงานและแผนกงาน

  5. การจัดทำ Corporate KPIs

  6. การจัดทำ Redesign ธุรกิจ

  7. การจัดทำแผนกลยุทธทั้ง SBU และ EBS (Effective Business Services)

  8. กำหนดเป็นมาตรฐานการดำเนินงานตาม BSC & KPIs

  9. การเชื่อมโดยการวัดผลสำเร็จธุรกิจตาม PMRS

สิ่งสำคัญที่ผู้บริหารธุรกิจจำเป็นต้องรู้เพื่อให้ BSC & KPIs ประสบความสำเร็จ คือการเชื่อมโยงการวัดผลสำเร็จธุรกิจกับ PMRS

ซึ่ง PMRS (Performance Management and Recognition System) จะหมายถึง ระบบบริหารค่าตอบแทนแบบใหม่ หรือ ระบบการจัดการผลงานและรางวัลจูงใจนั่นเอง

โดยที่ PMRS จะเป็นการตีค่างานด้วยเทคนิค Broadband หรือตีค่างานตามความสามารถ และจะนำไปสู่การจ่ายค่าจ้างตาม P4R (ค่าตอบแทนตามผลสำเร็จ) ซึ่งอาจจะมีได้หลายรูปแบบ เช่น ค่าตอบแทนตามช่วงกว้างค่าจ้าง (Broadbanding) เป็นต้น

ประการต่อมา ผลกระทบทางธุรกิจที่ต้องการเทคโนโลยีใหม่ในการบริหารค่าตอบแทน

ช่วงนับแต่ปี 2540 ซึ่งมีกระแสที่เปลี่ยนแปลงชัดเจนของธุรกิจในเมืองไทยที่ต้องการความท้าทายจากฝ่ายบริหารคนหรือฝ่ายบริหารทุนมนุษย์ว่า รูปแบบการทำงานและระบบรางวัลจูงใจแบบใด จึงจะทำให้ธุรกิจสามารถดึงความเก่งของคน (Talent People) ออกมาสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและการสร้างความร่ำรวยให้กับธุรกิจ

การคิดใหม่หรือตกลงใหม่ (New Deal) เป็นภาษาใหม่ของธุรกิจระหว่างผู้บริหารธุรกิจกับคนทำงาน ซึ่งอธิบายได้ดังนี้

ภาษาการคิดใหม่หรือตกลงใหม่ (New Deal)

ภาษาใหม่ในระบบค่าตอบแทนและรางวัลจูงใจ จะเกี่ยวข้องกับ

-       การลดขนาดหน่วยงานของธุรกิจ ซึ่งมีผลโดยตรงต่อผู้บริหารและพนักงาน เช่น บางแห่งหยุดขยายการลงทุน หรือ

         ลดค่าใช้จ่ายทุกอย่างลง 50 % หรือลดชั่วโมงการทำงานหรือปิดสายการผลิตชั่วคราว และรอดูสถานการณ์ในปีใหม่

         ว่าจะเป็นอย่างไร

-        การปรับสายบังคับบัญชาขององค์การ โดยจัดให้มีลักษณะแบน “แบนราบ” เพื่อหนีการมีระบบชั้นแบบเดิม

-        มุ่งทำลาย “แฟรนไชส์อาชีพ” (Career Franchise) ซึ่งเป็นลักษณะของการทำงานจนกระทั่งเกษียณ” ซึ่งเป็นแนว

         คิดแบดั่งเดิมเมื่อ 40 ปีที่แล้ว

-        แนวโน้มใหม่ของคนทำงานที่ต้องการทำงานที่บ้าน หรือสถานที่ของลูกค้าที่ไปติดต่อธุรกิจ ไม่ใช่การทำงานที่สำนัก

         งานแบบเดิมๆ

-        เป็นยุคที่จบสิ้นแล้วในแนวคิดที่ “ทำงานแบบเดิม” โดยอาศัยคนจำนวนมากและทักษะความเชี่ยวชาญแบบกว้างๆที่

         ครอบคลุมกิจกรรมที่หลากหลาย

-        การสร้างทุนทางปัญญา มีความจำเป็นที่จะพัฒนามูลค่าในทุนมนุษย์ (Human Capital) เพื่อจะสามารถบอกได้

         ว่า องค์กรมีทุนทางปัญญามากน้อยแค่ไหน

ขณะเดียวกัน ระบบโครงสร้างค่าจ้างแบบดั้งเดิม (Pay Grades) ที่ผูกยึดติดกับระบบค่างานตามแนวคิดในระบบจำแนกตำแหน่ง (Position Classification) ได้ใช้ในธุรกิจของไทยเรามานับเป็นเวลาช้านานอีกเช่นกัน

ดังนั้นการปรับเปลี่ยนธุรกิจตามภาษาใหม่ (New Deal) ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งในด้านการลดค่าใช้จ่าย การปรับกระบวนการธุรกิจ การมุ่งสู่องค์การแห่งความรู้ การปรับธุรกิจเข้าสู่มาตรฐาน ISO  การวัดผลสำเร็จธุรกิจด้วย BSC & KPIs  (Balanced Scorecard and Key Performance Indicators) ส่งผลให้ธุรกิจต้องการระบบค่าตอบแทนและรางวัลจูงใจแบบใหม่เพื่อเพิ่มผลตอบแทนตามทักษะและความสามารถ มีอัตราค่าจ้างมาตรฐานอาชีพที่จะทดแทนอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ

เทคโนโลยีใหม่ในการบริหารค่าตอบแทนนี้เรียกว่า ค่าตอบแทนตามผลสำเร็จ (P4R : Pay for Result)

ประการสุดท้าย  สิ่งที่ทุกคนอยากรู้คือ ค่าตอบแทนที่ได้รับเหมาะสมหรือไม่ และจะปรับเพิ่มเมื่อไหร่

ในชีวิตของ “ลูกจ้างมืออาชีพ”กับ “คนทำงานที่มีภูมิรู้” (Knowledge Worker) จะคิดเหมือนกันคือ

1.     คนทำงานคิดว่าเขาจะได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมจากการตกลงของผู้บริหารธุรกิจหรือไม่และจะมีทางรู้ได้อย่างไร

        ว่า แรงกายและสติปัญญาที่เขาทุ่มเทให้กับธุรกิจนั้น “มันคุ้มค่าจริงๆ”

2.     เมื่อคนทำงานได้ทำงานไปครบรอบปีบัญชีหรือปีปฏิทินในการทำงานสิ่งที่คนทำงานอยากรู้มากๆคือ

                -  เขาจะได้ผลตอบแทนทั้งปีนั้นอย่างไร และในรูปแบบใด

                -  จะมีโอกาสได้ก้าวหน้าเติบโตตามหน้าที่การงานของเขาและจะได้สิ่งจูงใจเพิ่มขึ้นมาอีกด้วยหรือไม่

3.     ใน 21 C (ศตวรรษที่ 21) มักจะพูดกันว่า จะมีการนำ Broadbanding เข้ามาใช้ในการจ่ายค่าตอบแทนตาม Pay

         Band  (ช่วงกว้างค่าตอบแทน) หรืออาจจะได้ยินว่า เมื่อเขามีความรู้ ทักษะ หรือเพิ่มความสามารถเขาจะได้ค่าตอบ

        แทนเพิ่มขึ้น

แล้วเมื่อไหร่ !  บริษัทจะนำสิ่งเหล่านี้มาใช้จริงๆ จังๆ เสียที!

หรืออาจคิดว่าใช้ระบบที่ว่าๆกันแล้วไม่เห็นจะแตกต่างไปจากเดิมเลย ??

ข้อมูลอ้างอิง : ค่าตอบแทนตามผลสำเร็จ
เขียนโดย : ดนัย  เทียนพุฒ

อัพเดทล่าสุด