ทฤษฎีค่าจ้างในยุคเดิม (Classical Wage Theories) MUSLIMTHAIPOST

 

ทฤษฎีค่าจ้างในยุคเดิม (Classical Wage Theories)


2,009 ผู้ชม


ทฤษฎีค่าจ้างในยุคเดิม (Classical Wage Theories)




ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา อุตสาหกรรมได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้นโดยเฉพาะในประเทศแถบยุโรป ระบบโรงงานเข้ามาแทนที่ช่างฝีมือ แรงงานไร้ฝีมือจำนวนมากรวมถึงผู้หญิง และเด็กได้เข้ามาสู่ในโรงงาน การกำหนดค่าจ้างที่ยุติธรรมแบบเดิมทำได้ยาก ขณะเดียวกันแนวคิดแบบเสรีที่นิยมที่เห็นว่ารัฐไม่ควรเข้า มาแทรกแซงเศรษฐกิจโดยไม่จำเป็น เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ทำให้ค่าจ้างจึงถูกปล่อยให้กำหนดขึ้นโดยเสรี อย่างไรก็ตามในยุคนี้พลเมืองของโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวมเร็ว เกิดสงคราม นโปเลียน คนงานตกอยู่ในฐานะลำบาก ราคาสินค้าสูง คนงานไม่อยู่ในฐานะจะต่อรองค่าจ้างได้ ในช่วงนี้มีทฤษฎีค่าจ้างที่สำคัญขึ้นมา 2 ทฤษฎี คือ

1. ทฤษฎีค่าจ้างพอประทังชีพ (The Subsistence Wage Theory)

 

        นักเศรษฐศาสาตร์ชาวฝรั่งเศษ 2 คน ชื่อ Turgot และ Quesney  เป็นผู้วางรากฐานทฤษฎีนี้ขึ้นต้นศตวรรษที่ 18 ต่อมาได้ถูกปรับปรุงแก้ไขโดยนักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษ คือ Adam Smit , Thomas R Malthus และมีบทบาทมากที่สุดได้แก่ David Ricado  สมมุติฐานของทฤษฎีนี้คือ ค่าจ้างจะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับอัตราการเกิด และแรงงานมีแนวโน้มที่จะได้รับค่าจ้างเพียงจำนวนเท่าที่จำเป็นในการเลี้ยงดูตัวเองและครอบครัวให้สามารถมีลูกหลานที่จะเป็นแรงงานในจำนวนที่เพียงพอในอนาคตเท่านั้นซึ่งค่าจ้างในระดับนี้เราเรียกว่า ค่าจ้างพอประทังชีพ ทฤษฎีนี้พิจารณาปรากฏการณ์ของค่าจ้างจากการเสนอขาย (Supply)  ของตลาดแรงงานกล่าวคือ

        เมื่อใดที่ค่าจ้างสูงขึ้นกว่าอัตราค่าจ้างพอประทังชีพ แรงงานก็จะสุขสบายขึ้น มีอาหารที่ดี มีอัตราการเกิดที่สูงขึ้นทำให้ในที่สุดระยะยาวแรงงานในตลาดก็มากขึ้น ก็จะทำให้ค่าจ้างค่อยๆ ลดระดับลงมาอยู่ในระดับพอประทังชีพ

        เมื่อใดที่ค่าจ้างลดต่ำลงกว่าอัตราค่าจ้างพอประทังชีพจะทำให้แรงงงานในตลาดค่อยๆ ลดระดับน้อยลง เพราะความเป็นอยู่ที่แร้งแค้น อดอยาก มีโรคภัย อัตราการเกิดก็จะลดลง ผลที่สุดแรงงานก็จะมีน้อยจนทำให้อัตราค่าจ้างค่อยๆ สูงขึ้นมาถึงระดับพอประทังชีพอีก

David  Ricado  แสดงทัศนะของเขาไว้ว่า

        แรงงานก็เหมือนสินค้าอื่นที่ซื้อขายกันมีทั้งราคาธรรมชาติ (Natural price) และราคาตลาด (Market Price)  ราคาธรรมชาตินั้นจะสูงหรือต่ำตามราคาของสิ่งของจำเป็นการครองชีพ ส่วนราคาตลาดของแรงงงานเป็นราคาที่จ่ายให้แก่แรงงานจริงๆ ขึ้นอยู่กับการเสนอซื้อ (Demand)  และการเสนอขาย (Supply) ของแรงงานในขณะนั้นๆ ซึ่งอาจจะไม่เท่ากับราคาธรรมชาติก็ได้ อัตราการเกิดจำเป็นต้องปรับให้ราคาตลาดและราคาธรรมชาติเข้ามาหากันเสมอ

ทฤษฎีค่าจ้างพอประทังชีพนี้มีข้อบกพร่องซึ่งพบได้ชัดเจนก็คือ

 

        สมมุติฐานที่เสนอว่าค่าจ้างสัมพันธ์กับอัตราการเกิดนั้น ซึ่งหมายความว่าเมื่อคนงานได้รับค่าจ้างสูงขึ้น ความเป็นอยู่ดีขึ้น ครอบครัวจะขยายมากขึ้นนั้น ไม่เป็นความจริง  ในสังคมปัจจุบันค่าจ้างสูงขึ้นแต่แรงงานนิยมมีบุตรน้อย แต่แสวงหาความสุขสบายทางวัตถุมากขึ้น หรือออมเงินเพิ่มขึ้น และในการที่คนงานเพิ่มขึ้นความต้องการบริโภคในสินค้าก็จะสูงขึ้นทำให้การผลิตขายตัวเพิ่มขึ้น ค่าจ้างอาจจะไม่ต่ำลงนอกจากนี้การกำหนดอัตราค่าจ้างว่าอัตราใดเป็นอัตราที่อยู่ในระดับจำเป็นต่อการครองชีพก็เป็นไปได้ยากเนื่องจากระดับการครองชีพนั้นแตกต่างกันตามท้องที่ และเวลา สิ่งของที่ไม่จำเป็นในช่วงเวลาหนึ่งอาจกลายเป็นของที่จำเป็นในอีกช่วงเวลาหนึ่งก็ได้

2. ทฤษฎีกองทุนค่าจ้าง (Wages fund Theory)

 

        นักเศรษฐศาสตร์คนสำคัญที่เสนอทฤษฎีนี้คือ John Stuart Mill ในปี 1837  ทฤษฎีองทุนค่าจ้างนี้มุ่งอธิบายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของระดับค่าจ้างทั่วไปในระยะสิ้นปีต่อไป ซึ่งต่างกับทฤษฎีค่าจ้างพอประทังชีพซึ่งอธิบายค่าจ้างในระยะยาว

        ทฤษฎีกองทุนค่าจ้างนี้เสนอว่า นายจ้างจะมีกองทุนที่เรียกว่ากองทุนค่าจ้าง (Wage  Fund) ซึ่งได้มาจากส่วนหนึ่งของทุนหมุนเวียน (Circulating Capital)  ที่เกิดจากการสะสมทรัพยากรจากการผลิตในปีที่ผ่านๆมา ผู้ประกอบการจะใช้ทุนหมุนเวียนนี้ในการขยายงาน ,การจ่ายค่าเช่า, จ่ายดอกเบี้ยและเป็นทุนค่าจ้าง (Wage Fund) ซึ่งจะกันเอาไว้สำหรับการจ่ายค่าแรงในปีต่อไป ดังนั้นค่าจ้างซึ่งเท่ากับจำนวนเงินในกองทุนค่าจ้างหารด้วยจำนวนแรงงาน ที่จ้าง ดังนั้นค่าจ้างจะสูงขึ้นก็ต่อเมื่อมีการลดคนทำงานหรือเพิ่มขนาดกองทุน ทฤษฎีกองทุนค่าจ้างนี้ไม่เป็นที่ยอมรับเช่นกัน นักเศรษฐศาสตร์ ชื่อ William Thomas  ค้านว่าธุรกิจเอกชนจริงๆ ไม่มีการกำหนดกองทุนค่าจ้างไว้ล่วงหน้าก่อนการจ้างแรงงาน เงินในส่วนที่จะจ่ายค่าจ้างอันมิใช่จำนวนคงที่  และทฤษฎีไม่ได้อธิบายว่านายจ้างใช้หลักเกณฑ์ใดในการกำหนดจำนวนการจ้างงาน นอกจากนั้นแล้วทฤษฎีนี้ก็คือว่าค่าจ้างจะได้เท่ากันทุกคนโยไมได้คำนึงถึงประสิทธิภาพของการทำงาน ความยากง่ายของงาน ซึ่งผิดหลักความจริงอีกด้วย

อัพเดทล่าสุด