https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
พัฒนาการของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ยุคที่ 1 (ยุคสวัสดิการ) MUSLIMTHAIPOST

 

พัฒนาการของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ยุคที่ 1 (ยุคสวัสดิการ)


1,445 ผู้ชม


พัฒนาการของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ยุคที่ 1 (ยุคสวัสดิการ)




พัฒนาการของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ยุคที่ 1 (ยุคสวัสดิการ)

 

 

ยุคนี้เริ่มตั้งแต่ราวกลางศตวรรษที่ 18 เป็นยุคที่กำหนดค่าแรงขั้นต่ำสำหรับคนงาน โดยโคททอลด์ (Courtaulds) โดยให้รัฐบาลอังกฤษประกันค่าแรงงานขั้นต่ำ ด้านฝ่ายนายจ้างก็เลยเสนอให้มีการปรับปรุงสภาพการทำงานที่ดีขึ้น ฝ่ายแรงงานก็เรียกร้องให้มีสวัสดิการในการทำงานที่ดีขึ้น เพื่อให้มีอำนาจต่อรองมากขึ้นจึงรวมตัวกันเป็นสมาคมสวัสดิการ (Welfare Association)  และได้เปลี่ยนชื่อเป็นสมาคมสวัสดิการกลาง (Central Association of Welfare Worker : 1916)  ต่อมาเปลี่ยนเป็นสถาบันสวัสดิการคนงานอุตสาหกรรม (Institute of Industrial Welfare Worker ) และในปี พ.ศ. 2489 เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็นสถาบันบริหารงานบุคคล (Institute of Personnel Management)  ตอนแรกๆ สถาบันไม่ได้แบ่งแยกฝ่ายนายจ้างลูกจ้าง ต่อมาในราวปี พ.ศ.2462 ฝ่ายนายจ้างแยกตัวออกมาตั้งเป็นสมาคมสวัสดิการอุตสาหกรรม (Industrial Welfare Society) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร แนวคิด หลักการเกี่ยวกับการจัดระบบสวัสดิการ

ยุคนี้จะเห็นว่า การที่ฝ่ายลูกจ้างเรียกร้องสวัสดิการและสภาพแวดล้อมทางกายภาพถือเป็นเรื่องปกติ เนื่องจากภายหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม สภาพการทำงานยังอยู่ในภาวะไร้ระเบียบ ไร้ความปลอดภัยจากการทำงาน จึงต้องเรียกร้องและแสวงหาสวัสดิการทำงาน ข้างฝ่ายนายจ้างค่อนข้างจะเห็นด้วย เพราะได้ประโยชน์ทางอ้อม คือ เป็นการลงทุนครั้งเดียว และไม่ผูกพันติดฐานเงินเดือน ซึ่งต่างจากการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ จะเป็นการเสียเงินทันที และมีค่าใช้จ่ายผูกพันต่อเนื่องในระยะยาว

ทำไมนายจ้างชอบที่จะเพิ่มสวัสดิการที่ไม่เป็นตัวเงินให้กับลูกจ้าง คำตอบ เพราะได้ผลทางด้านจิตใจและสุขภาพของลูกจ้าง ซึ่งจะมีผลโดยตรงต่อการเพิ่มผลผลิต ต่างกับการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ เพราะนายจ้างคิดว่าไม่มีผลโดยตรงต่อการเพิ่มผลผลิต กล่าวคือ คนงานก็เป็นคนเดิม ทำงานระบบเดิม เท่ากับเป็นการเพิ่มต้นทุนในขณะที่ไม่ได้เพิ่มผลผลิตเลย

สังคมแรงงานของอังกฤษมีอิทธิพลและมีบทบาทต่อการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศโดยผ่านทางพรรคแรงงาน (Labor Party)  ปัจจุบันเป็นพรรคการเมืองที่มีบทบาทต่อการปกครองประเทศจากฐานแนวคิดนี้ ทำให้ประเทศอังกฤษเป็นแบบอย่างของรัฐสวัสดิการที่มีการให้ความสำคัญกับผู้ใช้แรงาน ในระยะต่อมา การจัดวางแนวทางพัฒนาประเทศที่ให้ความสำคัญกับแรงงานเกินความพอดีทำให้เกิดผลเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ ผลข้างเคียง คือทำให้ไม่มีแรงจูงใจในการลงทุนของนักลงทุนในที่สุดประเทศอังกฤษต้องประสบปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ คนตกงานจำนวนมาก ต้องอาศัยหญิงเหล็ก นางมากาเร็ต แธตเชอร์ นายกรัฐมนตรีคนแรกของอังกฤษ เข้ามาปรับแนวคิดรากฐานในการพัฒนาประเทศเสียใหม่ โดยกำหนดนโยบายให้มีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานของรัฐ โดยให้เอกชนเข้ามาบริหารจัดการ เพิ่มเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงานเป็นลำดับต้น สร้างบริการที่มีคุณภาพให้แก่ประชาชน และวางกลยุทธ์ให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกเป็นลำดับต่อไป การปรับยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศอังกฤษดังกล่าว ต้องยกความดีให้กับนายกรัฐมนตรีหญิงคนนี้ และกลายเป็นแบบอย่างให้ประเทศไทยได้ศึกษา

ประเทศไทยได้พยายามจะแปรรูปรัฐวิสาหกิจ โดยให้หน่วยงานของรัฐบริหารงานแบบเอกชน แต่ยังมองไม่เห็นความสำเร็จเป็นมรรคผล เพราะยังมีการถกเถียงกันทางแนวความคิด และมีการต่อรองผลประโยชน์ที่ยังหาข้อยุติไม่ได้

การบริหารทรัพยากรมนุษย์ของไทยถ้าจะนำเอาพฤติกรรมการทำงานของสังคมแรงงานอังกฤษยุคนี้มาอธิบายพฤติกรรมการทำงานของแรงงานไทย ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 ที่ได้มีการตราพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์และกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ตลอดระยะเวลาการใช้กฎหมายดังกล่าวแม้จะมีการประกันค่าจ้างขั้นต่ำและคุ้มครองแรงงานในเรื่องสวัสดิการพื้นฐาน แต่ก็ยังมีการละเมิดจากนายจ้างและผู้ประกอบการอยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะในโรงงานอุตสาหกรรมประเภท 3 Ds (Dirty , Dust  และ  Dangerous)  ฉะนั้น การศึกษาพฤติกรรมแรงงานอังกฤษยุคสวัสดิการนี้ สามารถศึกษาเปรียบเทียบกับพฤติกรรมแรงงานไทย โดยเฉพาะแรงงานที่ใช้แรงกาย (Blue Collar) ยังเปรียบเทียบได้ดีในปัจจุบัน

นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 เป็นต้นมา ปัญหาการเรียกร้องต่อรองของแรงงานไทยยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง แม้ปัญหาเหล่านี้เคยเกิดในประเทศอังกฤษร่วม 100 ปี แต่ในสังคมไทยดูเหมือนยังเป็นเรื่องที่ทันสมัยอยู่ ในขณะที่อังกฤษได้พัฒนาเป็นการต่อสู้แบบสันติบนเวทีการเมือง ซึ่งต่างกับแรงงานไทยจะต่อสู้เรียกร้องเหตุการณ์เฉพาะหน้าและเป็นเรื่องเฉพาะกิจ ภาษาทางการเมือง เรียกว่า เป็นกลุ่มกดดัน (Pressure Group)  หรือกลุ่มผลประโยชน์ (Interest Group) มิใช้พรรคการเมือง (Political Party)  กล่าวคือ ในระบอบประชาธิปไตย นักการเมืองจะให้เกียรติพรรคการเมืองด้วยกัน เพราะถือว่ามีศักดิ์ศรีทัดเทียมกัน แต่นักการเมืองจะมองผ่านสมาคมอื่น ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผลประโยชน์ กลุ่มกดดัน หรือสมาคมว่าเป็นกลุ่มบุคคลที่ไม่มีศักดิ์ศรีเท่ากับตน และนักการเมืองที่ชำนาญฉลาดจะใช้กลุ่มเหล่านี้เป็นเครื่องมือทางการเมืองเสียมากกว่า

ทางออกของแรงงานไทยมีอยู่ทางเดียว ที่สามารถสร้างอำนาจต่อรองทางการเมืองอย่างมีศักดิ์ศรี คือจะต้องยกระดับฐานะของตนให้เป็นพรรคการเมือง เพื่อเป็นช่องทางในการเข้าไปวางกฎกติกาของการบริหารงานในระดับชาติ มิใช่เป็นการรวมกลุ่มข่มขู่รัฐบาลและนายจ้าง โดยเอาผลประโยชน์ของประชาชนมาต่อรองอย่างที่เป็นมาและเป็นอยู่

โดย :  ประเวศน์  มหารัตน์สกุล


อัพเดทล่าสุด