https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ประโยชน์ของการประเมินผลการปฏิบัติงาน MUSLIMTHAIPOST

 

ประโยชน์ของการประเมินผลการปฏิบัติงาน


771 ผู้ชม


ประโยชน์ของการประเมินผลการปฏิบัติงาน




    

ประโยชน์ของการประเมินผลการปฏิบัติงาน

การประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นส่วนที่สำคัญส่วนหนึ่งของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพ ความมุ่งหมายและประโยชน์ของการประเมินการปฏิบัติงานมีดังต่อไปนี้

  1. การปฏิบัติงานของพนักงาน การประเมินเป็น เครื่องช่วยชนิดหนึ่งในการสร้างและรักษาระดับการปฏิบัติงานที่น่าพอใจของพนักงานให้เกิดกับงานในปัจจุบัน กระบวนการประเมินซึ่งมีกรติดตามผลโดยการสัมภาษณ์พนักงานแต่ละคนหลังจากการประเมินอาจจะมีส่วนทำให้เกิดประสิทธิผลมากขึ้นหรือการปฏิบัติงานที่ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นในส่วนของบุคคลหลายๆคน
  2. การพัฒนาพนักงาน การประเมินอาจจะช่วยให้เห็นความต้องการและโอกาสของความเจริญเติบโตและการพัฒนาของบุคคล  การเจริญเติบโตอาจจะประสบผลสำเร็จได้โดยการศึกษาด้วยตนเอง หลักสูตรการฝึกอบรมที่เป็นทางการ หรือกิจกรรมทีเกี่ยวข้องกับงานต่างๆ เช่น การขยายขอบเขตงานให้กว้างขึ้นและการหมุนเวียนงานและควรจะให้มีความชัดเจนว่า การฝึกอบรมและการพัฒนาพนักงานและผู้บริหารจะทำให้องค์การเข้มแข็งขึ้นเช่นเดียวกับเป็นเครื่องช่วยบุคคลต่างๆ
  3. ความเข้าใจกรบังคับบัญชา การประเมินอย่างเป็นทางการและตามระยะเวลาจะกระตุ้นผู้บังคับบัญชาให้ทำการสังเกตพฤติกรรมของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา การที่กระตุ้นโดยทัศนคติที่เหมาะสมของผู้บริหารระดับสูง ผู้บังคับบัญชาสามารถได้รับการจูงใจให้มีความสนใจบุคคลแต่ละคนและเสนอให้ความช่วยเหลือ และถ้าหากว่าได้มีการดำเนินการอย่างเหมาะสมแล้ว กระบวนการประเมินทั้งหมดสามารถช่วยให้เกิดความเข้าใจร่วมกันระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาได้
  4. การนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงงาน การประเมินช่วยการตัดสินใจในเรื่องการเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้าย การงดจ้างชั่วคราว (ในองค์การที่ความมีอาวุโสอาจจะเป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้) และการไล่ออก ( ในกรณีที่การปฏิบัติงานไม่ดีพอ) การประเมินบุคคลคนหนึ่งอย่างเป็นระบบโดยผู้ประเมินจำนวนหนึ่ง ทำการประเมินตลอดระยะเวลาหนึ่ง และบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรจะช่วยทำให้กระบวนการนี้มีเหตุผลและเหมาะสม การประเมินควรจะให้การพิจารณาอันสมควรกับความต้องการทั้งขององค์การและบุคคล
  5. การปฏิบัติในเรื่องค่าจ้างเงินเดือน  องค์การเป็นจำนวนมากสัมพันธ์ความมากน้อยและความถี่ของการขึ้นค่าจ้างเงินเดือนกับการประเมินทีได้มีการกำหนดให้กับพนักงานในการประเมิน การปฏิบัติงาน
  6. การทำให้แผนทรัพยากรมนุษย์ถูกต้อง ความถูกต้องของการคาดการณ์กระบวนการคัดเลือกพนักงานนั้นมักจะถูกวัดโดยการเปรียบเทียบหรือการหาความสัมพันธ์ระหว่างการประเมินการปฏิบัติงานกับคะแนนที่ได้จากการทดสอบ การประเมินของผู้สัมภาษณ์ และอื่นๆ การชี้ให้เห็นถึงคุณค่าของแผนการฝึกอบรมบางครั้งจะถูกวัดโดยการวิเคราะห์การปฏิบัติงานของพนักงานภายหลังจากหลักสูตรการฝึกอบรมหลักสูตรหนึ่งเสร็จสมบูรณ์

โดยสรุป ประโยชน์หลายๆ ประการ ของการประเมินการปฏิบัติงานจะถูกจัดไว้เป็นสองประเภทใหญ่ๆ ประเภทแรก  เป็นประโยชน์จากการที่ได้รับข้อมูลการประเมินที่เกี่ยวกับพนักงานเพื่อทำการตัดสินใจเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในเรื่องทรัพยากรมนุษย์หลายๆ เรื่อง อาทิ เช่น การขึ้นค่าจ้างเงินเดือน การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้าย การไล่ออก และความเที่ยงตรงของการทดสอบ

ประการที่สอง เป็นประโยชน์ในการพัฒนาพนักงาน  ได้แก่ การปรับปรุงการปฏิบัติงานฝึกอบรม การสอนงาน และการให้คำปรึกษา

ในการสำรวจประโยชน์จากการประเมินการปฏิบัติงานครั้งหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา ปรากฏ ว่าผลส่วนใหญ่ที่มีการประเมินการปฏิบัติงานประเมินเพื่อให้ทราบผลการปฏิบัติงานของพนักงานของตน นอกจากนี้ยังประเมินการปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์ดังนี้

        -  เพื่อเป็นบรรทัดฐานในการเลื่อนตำแหน่งหรือการโยกย้าย                                                66.0 %

        -  เพื่อขึ้นเงินเดือน                                                                                                           63.2 %

        -  เพื่อพิจารณาว่าจะต้องจัดฝึกอบรมอะไรบ้าง                                                                   61.2 %

        -  เพื่อบำรุงขวัญ                                                                                                              61.0 %

        -  เพื่อพิจารณาว่าใครบ้างที่สามารถเป็นหัวหน้างานหรือผู้บริหาร                                        52.8 %

ที่มา : Dale Yoder :  Personnel Management and Industrial Relations (New Jersy :Prentice – Hall Inc.) P.361.

ที่มาโดย :  รองศาสตราจารย์ ผุสดี  รุมาคม


อัพเดทล่าสุด