https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ประโยชน์ของการประเมินผลการปฏิบัติงานในแต่ละด้าน MUSLIMTHAIPOST

 

ประโยชน์ของการประเมินผลการปฏิบัติงานในแต่ละด้าน


522 ผู้ชม


ประโยชน์ของการประเมินผลการปฏิบัติงานในแต่ละด้าน




    

ประโยชน์ของการประเมินผลการปฏิบัติงาน

 

เมื่อทราบถึงผลของการปฏิบัติงานแล้วต่อมาจึงเป็นเรื่องของการนำเอาผลที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ซึ่งอาจจะแบ่งวิธีการใช้ประโยชน์ทางด้านต่างๆ ดังนี้

 ประโยชน์ของการประเมินผลการปฏิบัติงานในแต่ละด้าน  ด้านการบริหารค่าจ้างและเงินเดือน

ในการให้ค่าตอบแทนแก่พนักงานไม่ว่าจะเป็นทั้งค่าจ้าง เงินเดือน สวัสดิการ และสิ่งตอบแทนในรูปแบบอื่นๆ นั้น ผู้บริหารจะต้องมั่นใจว่าผลการปฏิบัติงานกับค่าตอบแทนนั้นมีความเหมาะสมซึ่งกันและกัน การกำหนดค่าตอบแทนโดยเฉพาะในเรื่องค่าจ้างของเงินเดือนนั้นเราได้กำหนดไว้เรียบร้อยแล้วในเรื่องของโครงสร้าง ค่าจ้างและเงินเดือน ซึ่งต้องผ่านขั้นตอนทั้งของการวิเคราะห์งานและการประเมินค่างานมาก่อน ในส่วนของการประเมินผลการปฏิบัติงานจึงเป็นการนำเอาผลงานของพนักงานแต่ละคนมาเปรียบเทียบกับค่าตอบแทนที่จ่ายให้ว่าเหมาะสม มากไป หรือน้อยไปอย่างไร  ถ้าหากไม่มีการประเมินผลการปฏิบัติงานแล้วฝ่ายบริหารก็อาจคิดว่าตนเองจ่ายค่าตอบแทนสูงเกินไป ขณะที่พนักงานหนึ่งๆ ก็อาจคิดว่าตนเองได้รับค่าตอบแทน น้อยไปเมื่อเทียบกับผลงานที่ตนเองทำอยู่  และในหมู่ของพนักงานเองด้วยกันเองก็อาจจะคิดว่าตนเองต้องทำงานหนักโดยได้รับค่าตอบแทนเท่ากับพนักงานที่ไม่ค่อยทำงานเลย  ความเข้าใจที่ไม่ตรงกันเหล่านี้ ต้องการข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมและปราศจากอคติด้วยกันทุกฝ่าย ถ้าผลการพิสูจน์ปรากฏว่าผลของการทำงานของพนักงานสูงกว่าค่าตอบแทนที่ได้รับอยู่ ฝ่ายบริหารหรือ นายจ้างก็ย่อมเต็มใจที่จะเพิ่มค่าตอบแทนให้  แต่ถ้าหากผลการทำงานต่ำกว่ามาตรฐานที่วางไว้ก็ต้องพิจารณาดำเนินการแก้ไขต่อไปเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามกำหนดที่ตั้งไว้ การพิสูจน์ผลของการทำงานดังกล่าวก็โดยใช้วิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานนั่นเอง

ประโยชน์ของการประเมินผลการปฏิบัติงานในแต่ละด้าน ด้านการบริหารงานบุคคล

ในส่วนของการบริหารงานบุคคล อื่นๆ นอกจากการบริหารค่าตอบแทนและเงินเดือนแล้ว การประเมินผลการปฏิบัติงานจะเป็นประโยชน์อย่างมากในเรื่องต่างๆ เช่น

       

-    เพื่อประกอบการเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง  หรือโยกย้ายพนักงานนั้นๆ ให้ตรงกับความสามารถของตน

-    เพื่อประกอบการจัดการฝึกอบรมพัฒนาความสามารถของพนักงานให้สูงขึ้น

-    เพื่อให้พนักงานนั้นๆ ทราบว่าผลการปฏิบัติงานของตนเป็นอย่างไร ผู้บังคับบัญชามองอย่างไร  และควรได้รับการปรับปรุง

     ในด้านใดบ้าง

-   เพื่อประกอบการวางแผนกำลังคน  (Manpower Planning)  ของหน่วยงานโดยพิจารณาถึงความสามารถของพนักงาน

    แต่ละคนและกำหนดแนวการใช้ความสามารถดังกล่าวให้เป็นประโยชน์สูงสุดสำหรับองค์การ

ประโยชน์ของการประเมินผลการปฏิบัติงานในแต่ละด้าน  ด้านผู้บังคับบัญชา  ผู้ใต้บังคับบัญชาและหน่วยงาน

-    การประเมินผลการปฏิบัติงานจะช่วยให้ผู้บังคับบัญชาแต่ละหน่วยงานได้เข้าใจถึงความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชาของ

    ตน  อันจะช่วยให้การมอบหมายภาระหน้าที่ได้เหมาะสมยิ่งขึ้น รวมตลอดถึงหาวิธีปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาผู้ใต้บังคับ

    บัญชานั้นๆ ให้มีขีดความสามารถสูงขึ้น

-   ฝ่ายผู้ใต้บังคับบัญชาหรือพนักงานเองก็ย่อมอยากจะรู้ว่ามีผู้บังคับบัญชามองการทำงานของตนเองอย่างไร ผลงานของตน

    เองเมื่อเปรียบเทียบกับเพื่อนร่วมงานแล้วจัดอยู่ในระดับใด ตนเองควรจะได้ปรับปรุงแก้ไขอะไรให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

-   หากฝ่ายหน่วยงานโดยเฉพาะผู้บริหารองค์การนั้นเมื่อพิจารณาจากผลของกาประเมินแล้วก็จะสามารถรู้ได้ว่าขณะนี้ผลงาน

    ของหน่วยงานอยู่ในระดับใด ใกล้เคียงกับแผนที่วางไว้หรือไม่  ควรจะปรับปรุงแผนหรือการปฏิบัติงานอย่างไร นอกจากนั้น

    ยังจะช่วยให้เกิดความเข้าใจอีกว่ากฎระเบียบหรือข้อบังคับต่างๆ ที่องค์การวางไว้นั้นเอื้ออำนวยหรือเป็น อุปสรรต่อการ

    ปฏิบัติงานของพนักงานมากน้อยเพียงไร  ควรจะแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างไร

-   เนื่องจากการประเมินผลการปฏิบัติงานแต่ละครั้ง ผู้บริหารองค์การ ฝ่ายบริหารงานบุคคล หัวหน้าหน่วยงานย่อยในระดับ

    ต่างๆ และพนักงานจะต้องมีการปรึกษาหารือซึ่งกันและกัน รวมถึงการรับฟังความคิดเห็นของแต่ละฝ่าย การทำงานร่วมกัน

    เช่นนี้ทำให้เกิดความเข้าใจระหว่างฝ่ายต่างๆ อันจะช่วยให้บรรยากาศขององค์การดีขึ้น

อัพเดทล่าสุด