https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
นิยาม คำว่า ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง MUSLIMTHAIPOST

 

นิยาม คำว่า ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง


845 ผู้ชม


นิยาม คำว่า ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง




คำว่า “ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง” นั้นหมายความว่า ข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างหรือระหว่างนายจ้างหรือสมาคมนายจ้างกับสหภาพแรงงานเกี่ยวกับสภาพการจ้าง

ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เป็นคำที่รวมความผูกพันในเรื่องสภาพการจ้างระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างทั้งสถานประกอบกิจการ เมื่อมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแล้วทั้งสองฝ่ายมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อตกลงนั้นให้ครบถ้วน การแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ฉบับนี้อย่างถูกต้อง เริ่มด้วยการแจ้งข้อเรียกร้องต่ออีกฝ่ายหนึ่งเป็นหนังสือ เจรจา ทำข้อตกลงหรือมีกระบวนการในการระงับข้อพิพาทแรงงานต่อไป หากตกลงกันไม่ได้ นายจ้างจะแก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างในทางที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างไม่ได้ เว้นเสียแต่ลูกจ้างตกลงยินยอมด้วยหรือได้มีการทำข้อตกลงสภาพการจ้างกันใหม่ตามขั้นตอนของกฎหมายฉบับนี้

โดยเจตนารมณ์ ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหมายถึงข้อตกลงฉบับใหญ่ระหว่างฝ่ายนายจ้างกับฝ่ายลูกจ้าง ไม่ใช่ข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างแต่ละคน ข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างแต่ละคนนั้นถือว่าเป็นเพียงสัญญาจ้างแรงงาน ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้น ในต่างประเทศมักเรียกว่า “สัญญาร่วมเจรจาต่อรอง” (Collective bargaining agreement) ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับสหภาพแรงงาน สหภาพแรงงานจะเจรจาต่อรองกับนายจ้างเพื่อทำข้อตกลงในฐานะที่สหภาพแรงานเป็นตัวแทนของลูกจ้างทั้งสถานประกอบกิจการ

อ้างอิง : ศาตราจารย์เกษมสันต์ วิลาวรรณ, คำอธิบายกฎหมายแรงงาน


อัพเดทล่าสุด