https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
People Development & Career Coaching…โค้ชพันธุ์ใหม่งาน HR MUSLIMTHAIPOST

 

People Development & Career Coaching…โค้ชพันธุ์ใหม่งาน HR


990 ผู้ชม


People Development & Career Coaching…โค้ชพันธุ์ใหม่งาน HR




             เชื่อหรือเปล่าว่าสายงาน HR กำลังมาแรง?
        ''ปิยะนุช เปรมโพธิ์'' คนรุ่นใหม่ มืออาชีพจาก Resource Link ยืนยันเส้นทางก้าวเดินในอนาคตว่าช่างน่าพิสมัย
        เพราะคนไทยแข็งแรงด้านการบริหารงาน แต่ยังอ่อนเรื่องการบริหารคนที่จำเป็นต่อการแข่งขันมากขึ้นทุกที...

       
        มีบริษัทมากมายที่ทำธุรกิจเป็นตัวกลางจัดหาคนให้ได้งานที่เหมาะสมกับความรู้ความสามารถ ทั้งที่เป็นบริษัทข้ามชาติและของคนไทย และขณะนี้กำลังขยายขอบข่ายการให้บริการมากขึ้นไปอีก เพราะแนวโน้มองค์กรต่างๆ เริ่มให้ความสำคัญกับเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบริหารคนหรือทรัพยากรบุคคลเพิ่มขึ้นอย่างมาก
       
        ปิยะนุช เปรมโพธิ์ ผู้จัดการ ด้านการประเมินและพัฒนาบุคลากร ของ Resource Link บริษัทที่ปรึกษาด้านบุคลากร ให้บริการจัดหา ประเมิน และพัฒนาบุคลากรอันดับต้นๆ ในไทย เล่าถึงความน่าสนใจในงานที่เธอกำลังทำอยู่ว่า งานที่รับผิดชอบอยู่เป็นของใหม่ในเมืองไทย
       
        ในส่วนของการประเมินมีเครื่องมือมากมาย ส่วนใหญ่อเมริกาเป็นเจ้าตำรับ ซึ่งเครื่องมือที่เธอนำมาใช้ก็ซื้อลิขสิทธิ์มาจากอเมริกา มีชื่อว่า PREP Personality Profile มีทั้งการใช้แบบทดสอบ การฝึกอบรม
       
        เครื่องมือนี้ใช้จับคู่คนกับงานว่าตรงกันไม๊ ใช้ประเมินคนเพื่อการพัฒนา ซึ่งเมื่อรู้แล้วว่าจะต้องพัฒนาอย่างไรก็จะฝึกอบรมด้วยหลักสูตรต่างๆ เช่น การสื่อสาร การสร้างความภักดีต่อองค์กร ศักยภาพการเป็นผู้นำ การทำทีมบิวดิ้ง
       
        เพื่อให้รู้ว่าคนๆ นั้นเป็นคนประเภทใด เป็นการประเมินลักษณะบุคลิกภาพ เพื่อดูจุดแข็งจุดอ่อน ทำให้รู้ว่าคนๆ นี้ทำอะไรได้ดี หรือจะใช้วิธีไหนในการกระตุ้นให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
       
        เธอบอกว่าที่แปลก คือ จะต้อง ''แปลผล'' ของแบบทดสอบหรือเครื่องมือที่ใช้ประเมินบุคลากร ทำให้ได้รู้ตัวเองชัดขึ้นและเพื่อให้องค์กรได้รู้ด้วย แล้วช่วยแนะนำ เช่น คนๆนั้นกำลังมีความเครียดเยอะ เพราะอะไร? จะต้องทำอย่างไรบ้าง? เจ้านายจะทำให้ลูกน้องแต่ละประเภทแต่ละคนทำงานดีได้อย่างไร?
       
        "เมื่อเราให้เขาทำแบบทดสอบ แล้วก็แปลจะทำให้เขารู้สึกว่าเราเข้าใจเขา เปิดใจมากขึ้นพูดปัญหาให้ฟัง ได้รู้ว่าคิดอย่างไรกับองค์กร ถ้าในองค์กรนั้นให้ทำ 25 คน แปลผลคนละประมาณ 1 ชั่วโมง ถ้าเป็นปัญหาใหญ่ขององค์กรจะได้ข้อมูลค่อนข้างตรงกัน ถ้ามาจากตัวเจ้านายเราก็จะมีวิธีบอก หรือรู้ความต้องการของบุคลากร เช่น ส่วนใหญ่อยากเทรนนิ่งเรื่องการสื่อสาร เพราะองค์กรไปเน้นสอนเรื่องการขายการบริการ"
       
        ขั้นต่อไปคือการจัดเทรนนิ่งตามที่ส่วนใหญ่ต้องการ แล้ว 1 เดือนหลังจากนั้นก็เข้าไปกับทุกคนอีกครั้งคนละประมาณ 1 ชั่วโมง
       
        "ทำเทรนนิ่งแล้วเป็นยังไงบ้าง พอได้ไอเดียอะไรไม๊ ถามเจ้านายว่ากลับไปดูลูกน้องหรือยังว่าเป็นคนประเภทไหนตามแบบทดสอบที่บอกไว้ จะมีวิธีการกระตุ้นต่อยังไง แต่ละคนซึ่งแตกต่างกันทำงานได้อย่างไร บางคนอาจจะต้องกระตุ้นด้วยงานท้าทายมากๆ แล้วให้รางวัลล่อใจ"
       
        การแปลผล...อาจจะรู้แบล็คกราวน์ของคนๆ นั้นมาก่อน รู้ปัญหา เจ้านายอยากจะเช็คให้ชัด ให้ทำแบบทดสอบออกมายืนยัน หรืออาจจะไม่รู้อะไรเลย ซึ่งผลที่ออกมามีความชัดเจน 90% ส่วนที่เหลือต้องคุยกับเจ้านายของคนๆ นั้น ถ้าโกงแบบทดสอบหรือผิดพลาดก็จะรู้ด้วยเครื่องมือนี้มีเพื่อสร้างความเข้าใจและเพิ่มความเชื่อมั่นของบุคคลในองค์กรเพื่อศักยภาพที่ดีขึ้นนั่นเอง
       
        "ตอนนี้คนงานแปลผลแบบนี้ยังมีน้อย งานนี้เกี่ยวกับจิตวิทยาเชิงการทำงาน ขั้นแรกที่ทำจะได้ผลในแง่บุคคลแต่ละคนว่าต้องแก้ไขอย่างไร ทำให้เข้าใจตัวเองและคนอื่น คนที่ทำมักจะอยู่ระดับกลางมีลูกน้องด้วย ซึ่งพอขั้นสุดท้ายจะได้ผลต่อองค์กร ใช้เวลา 3-4 เดือนถึงจะเสร็จ"
       
        "เราช่วยให้คนๆ นั้นเป็นตัวตนจริงๆ ได้ทำในงานที่ชอบจริงๆ เราก็จะร่วมกับฝ่ายบุคคลในองค์กรนั้น เพื่อให้คนๆ นั้นได้มีโอกาสเติบโตไปในเส้นทางที่เหมาะสม เรามีหน้าที่ให้คำแนะนำบอกศักยภาพที่แท้จริงของเขาเพื่อให้นำออกมาใช้เต็มที่"
       
        "เราทำ coaching handbook ของทุกคนเป็นคู่มือในอนาคตสำหรับเจ้านาย และแผนพัฒนาส่วนบุคคลสำหรับตัวบุคลากรไปใช้"
       
        งานนี้จะสำเร็จได้มีส่วนประกอบอยู่ที่วิสัยทัศน์ของผู้นำและฝ่ายบุคคลขององค์กรนั้นๆ เรามีวิธีวัดผลสำเร็จของการทำงานเป็นช่วงๆ
       
        นอกจากนี้ มีการทำ Executive Coaching สำหรับผู้บริหารที่ต้องการคำแนะนำเป็นรายๆ ไป ซึ่งเป็นอีกส่วนหนึ่งของงานนี้
       
        "เราต้องเข้าไปขลุกกัน ซึ่งตอนนี้เทรนด์นี้มาแรง เพราะตามปกติผู้บริหารก็จะเป็น boss เจ้านายซึ่งตัวตั้งก็คือรู้ว่าตัวเองจะต้องทำงานยังไงแต่ไม่ค่อยรู้เรื่องคน แต่สมัยใหม่จะเป็น coach รู้ทั้งงานและคน เป็นคนบอกทิศทางที่ถูกต้องให้คำแนะนำ รู้ว่าทีมงานแต่ละคนต้องทำยังไง โดยมีเป้าหมายเดียวกันคอนเซ็ปต์เดียวกัน เราต้องทำให้เจ้านายกลายเป็นโค้ชด้วย ซึ่งเราเองก็เป็นเหมือน coach เหมือนกัน"
       
        คนที่จะทำงานนี้ ที่สำคัญต้องมีทักษะความสามารถ 3 ด้าน 1.ด้านการคิดวิเคราะห์ 2.การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ตั้งใจรับฟังและเข้าใจได้อย่างถูกต้อง และ3.ช่างสังเกตุและรู้พฤติกรรมมนุษย์
       
        นอกจากนี้ ต้องมีทัศนคติที่เป็นกลางในการทำงาน ต้องแยกแยะชัดเจน ซึ่งต้องพูดประจำเลยว่าคนที่ทำแบบทดสอบมีลักษณะแบบนี้คิดแบบนี้ แล้วตามความคิดของเราเห็นว่าควรทำอย่างนี้
       
        คนที่จะทำงานสายนี้มักจะเรียนมาโดยตรงทางด้านจิตวิทยา ,การบริหารงานบุคคล แต่เธอเรียนจบด้านวิศวกรรมศาสตร์ สาขาอุตสาหการ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทำให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับงานในโรงงานงานอุตสาหกรรมดี ซึ่งได้เปรียบเมื่อมีลูกค้ากลุ่มโรงงาน แล้วยังประสบการณ์เป็น Recruitment มีทักษะการสัมภาษณ์ ประเมินคนมามากหลากหลายอาชีพและรูปแบบ เข้าใจ career part เส้นทางการเติบโตของแต่ละอาชีพ และบุคลิกลักษณะที่เหมาะกับแต่ละงานแต่ละอาชีพ
       
        เพราะฉะนั้น คนที่จะทำงานนี้ควรจะต้องมีคุณสมบัติอย่างน้อยต้องมีพื้นฐานการเข้าใจบุคคล อาชีพ ธรรมชาติของแต่ละงาน ให้คำแนะนำในการดำเนินงานและพัฒนาสายงานได้
       
        "เราเป็นเหมือนที่ปรึกษา เพราะฉะนั้นต้องทำให้เกิดความน่าเชื่อ ซึ่งพื้นฐานการศึกษามีส่วน การเรียนจบระดับปริญญาตรีแน่นอนอยู่แล้ว การเรียนสายตรงทางด้านHR รู้ทฤษฎีมากๆได้เปรียบกว่า และประสบการณ์ทำงาน แต่ที่สำคัญมากๆ คือ product knowledge ต้องแม่น และต้องให้คำแนะนำอย่างมืออาชีพและเป็นกลางตรงไปตรงมา เช่น ไม่ใช่บอกว่าลูกน้องบอกว่าเจ้านายแต่งตัวแย่มาก แต่เราบอกได้ว่าเจ้านายเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาไม่ค่อยชัดเจนในงานเขาไม่สามารถทำงานได้"
       
        ความยากและสิ่งท้าทายของงาน เธอบอกว่าอยู่ที่ ''คน'' เพราะการทำลายกำแพงระหว่างคนเป็นเรื่องยาก เช่น คนบางกลุ่มมีเส้นจำกัดไม่ให้เข้าถึงได้ง่ายๆ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นคนประเภท exacting มีแบบแผน เพราะเชื่อมั่นตัวเอง มีอีโก้ เช่น วิศวกร ต้องเสนออะไรที่เป็นเชิงทฤษฎีและจับต้องได้ ต้องพยายามให้ข้อมูล และไม่พยายามถามคำถามก่อน จนกว่าเขาจะเปิดใจ เพราะเขารู้สึกมาเอาอะไรจากเขา
       
        ส่วนสเน่ห์ของงานนี้ ก็คือ ''คน'' การได้พบคนหลายประเภทหลายเชื้อชาติเป็นเรื่องสนุก เธอสัมผัสมาแล้วเป็นหลายพันคน
       สำหรับโอกาสความก้าวหน้าของสายงาน Human Resource (HR) ยังมีมาก เพราะเพิ่งจะบูมประมาณ 2 ปี เท่านั้น เมื่อธุรกิจโดยรวมพัฒนาก้าวมาไกลมากๆ การแข่งขันด้านกลยุทธ์การตลาดทำเต็มที่แล้ว จึงหันมาสนใจเรื่องพัฒนาคนให้ทันกับธุรกิจเป็นอาวุธสำคัญในการแข่งขันขององค์กรต่างๆ
       
        "มันเป็นช่วงขาขึ้นและจะคงอยู่ เพราะเจ้านายมีที่ปรึกษาทางธุรกิจเยอะแล้วในตอนนี้ แต่ยังไม่มีที่ปรึกษาเชิงกลยุทธ์ในการพัฒนาบุคคล แต่กำลังเริ่มมาทางนี้เยอะเลย แต่ต้องรู้สึกว่าเราชอบจริงๆ งานนี้เหนื่อย เพราะบางคนรู้สึกเหมือนได้มาระบายกับเรา แล้วเราต้องเต็มร้อยกับทุกคน เคยต้องแปลผลสูงสุดวันนึง 17-18 คน ต้องคุยกับคนได้นานๆ ไม่รู้สึกรำคาญ"
       
        "ที่ทำงานนี้เพราะชอบ รู้สึกเหมือนไม่ได้ทำงาน เหมือนดีเจเปิดเพลง เพราะส่วนตัวชอบงานที่เป็นเทคนิคัลแต่เราไม่ต้องลงไปทำลงลึกแต่ไม่ทิ้งทักษะนั้น"
       
        ไม่เฉพาะในไทย แต่ต่างประเทศก็เปิดกว้าง เพราะทฤษฎีด้านงานบุคคลเป็นสากล และประสบการณ์ช่วยให้ ''ยิ่งแก่ยิ่งเก่ง'' และมีโอกาสทำงานฟรีแลนซ์ควบคู่งานประจำเพราะบริษัทได้ประชาสัมพันธ์ไปด้วย รายได้ขึ้นถึงขั้นหลักแสนบาทต่อเดือน
       
        มืออาชีพ HR สรุปว่า คนไทยเก่งความรู้ซึ่งเป็น hard skill เพราะคนไทยเรียนหนังสือมาก เน้นการสร้างธุรกิจ เพิ่มยอดขาย พัฒนาเครื่องจักร เทคโนโลยี แต่ไม่เก่งค่อยเข้าใจเรื่อง soft skill เช่น ความสามารถในการจัดการซึ่งการทำให้งานรุ่งได้คือการเข้าใจคนพัฒนาคน ...ยุคนี้จึงเกิดโค้ชพันธุ์ใหม่ในงาน HR 
       

แหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ

อัพเดทล่าสุด