https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ขั้นตอน การกำหนดวัตถุประสงค์ การฝึกอบรม MUSLIMTHAIPOST

 

ขั้นตอน การกำหนดวัตถุประสงค์ การฝึกอบรม


514 ผู้ชม


ขั้นตอน การกำหนดวัตถุประสงค์ การฝึกอบรม




  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กริช อัมโภชน์ ได้เสนอแนะถึงแนวขั้นตอนในการกำหนดวัตถุประสงค์ในการฝึกอบรมไว้ พอสรุปได้ดังนี้
                   ขั้นที่ 1 : ทบทวนปัญหาที่เป็นความจำเป็นในการฝึกอบรม
                   ขั้นที่ 2 : ระบุบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่จะต้องเข้ารับการฝึกอบรม
                   ขั้นที่ 3 : ระบุภารกิจและพฤติกรรมที่เป็นปัญหา
                   ขั้นที่ 4 : ระบุถึงวัตถุประสงค์ขั้นสูงสุด หรือพฤติกรรมตามอุดมคติซึ่งต้องการให้เกิดขึ้นกับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลในขั้นที่ 2 (ตัวอย่าง เช่น จากการพิจารณาในขั้นที่ 1 จนถึงขั้นที่ 3 บว่าเจ้าหน้าที่ของงานฝึกอบรมไม่สามารถปฏิบัติภารกิจ ในการกล่าวแนะนำ หลักสูตร หัวข้อวิชา วิทยากร รวมทั้งกล่าวขอบคุณวิทยากร ฯลฯ ต่อผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นวัตถุประสงค์ ตามอุดมคติ ในขั้นที่ 4 จึงได้แก่ การที่เราต้องการให้เจ้าหน้าที่ของงานฝึกอบรมสามารถ กล่าวแนะนำและขอบคุณ วิทยากรในได้ อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น)
                   ขั้นที่ 5 : ระบุถึงสิ่งสนับสนุนที่จะทำให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ขั้นสูงสุดตามขั้นที่ 4 กล่าวคือ เป็นการพิจารณา ถึงสภาพ แวดล้อม หรือองค์ประกอบอื่นที่จะสนับสนุนให้การฝึกอบรมบรรลุวัตถุประสงค์ได้ เช่น วิทยากรที่มีความสามารถ ภูมิหลังที่ดีของ ผู้ที่จะเข้าอบรม หรือ นโยบายที่สนับสนุนการจัดฝึกอบรมในเรื่องที่เป็นปัญหาดังกล่าว
                   ขั้นที่ 6 : ระบุถึงสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานฝึกอบรมให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามอุดมคติใน ขั้นที่ 4 กล่าวคือ เป็นการพิจารณาถึงสภาพแวดล้อมต่าง ๆ เช่นเดียวกันในขั้นที่ 5 ว่ามีอะไรบ้างที่เป็นอุปสรรคหรือขัดขวางต่อการดำเนินการฝึกอบรม ให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามอุดมคติ เช่น มีงบประมาณจำกัด ระยะเวลาอบรมมีจำกัด เป็นต้น
                   ขั้นที่ 7 : กำหนดวัตถุประสงค์ในการฝึกอบรมที่เป็นไปได้ ขึ้น หลังจากที่ได้พิจารณาถึงวัตถุประสงค์ตามอุดมคติ ประกอบกับสิ่งสนับสนุนตามขั้นที่ 5 และสิ่งที่เป็นอุปสรรคตามข้อ 6 แล้ว อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีวัตถุประสงค์ตามอุดมคติอาจจะ เป็นวัตถุประสงค์ที่เป็นไปได้ก็ได้ ถ้าหากว่ามีสิ่งสนับสนุนทุกอย่าง และไม่มีสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อวัตถุประสงค์ตามอุดมคติเลย
                   ขั้นที่ 8 : กำหนดวัตถุประสงค์ประกอบ ซึ่งหมายถึง วัตถุประสงค์ที่เรามิได้คาดหวังมาก่อน แต่คาดว่าจะเป็นผลพลอยได้ จากการฝึกอบรม เช่น การฝึกอบรมจะช่วยให้ผู้เข้าอบรมซึ่งมาจากต่างหน่วยงานกันเกิดความรู้จักคุ้นเคยกัน และช่วยให้เกิดการ ประสานงานในอนาคต เป็นต้น
                   วัตถุประสงค์ในการฝึกอบรมที่เป็นไปได้ตามขั้นที่ 7 และวัตถุประสงค์ประกอบตามขั้นที่ 8 ะเป็นวัตถุประสงค์ของโครงการ ฝึกอบรม ซึ่งอาจจะได้หลายข้อ และในการเขียนวัตถุประสงค์นั้นเรามักจะเอาวัตถุประสงค์ประเภทที่เป็นไปได้เขียนไว้ในลำดับแรก และวัตถุประสงค์ประกอบเขียนไว้ในลำดับสุดท้าย 
    

อัพเดทล่าสุด