https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
การกำหนดวัตถุประสงค์ของหัวข้อวิชา - การฝึกอบรม MUSLIMTHAIPOST

 

การกำหนดวัตถุประสงค์ของหัวข้อวิชา - การฝึกอบรม


827 ผู้ชม


การกำหนดวัตถุประสงค์ของหัวข้อวิชา - การฝึกอบรม




ขั้นที่ 6 : การกำหนดวัตถุประสงค์ของหัวข้อวิชา
ความหมายของวัตถุประสงค์ของหัวข้อวิชา
                   วัตถุประสงค์ของหัวข้อวิชา หมายถึง ข้อความที่ระบุว่า ในวิชาที่ทำการฝึกอบรมนั้น ต้องการให้ผู้เข้าอบรมเกิดการเรียนรู้ หรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในลักษณะอย่างไร ภายหลังการฝึกอบรมในวิชานั้นแล้ว
                   โดยปกติแล้ววัตถุประสงค์รายวิชาจะต้องสอดคล้อง และเป็นส่วนหนึ่งของวัตถุประสงค์รวมของโครงการฝึกอบรม
ประโยชน์ของวัตถุประสงค์รายวิชา
                   1. การเขียนวัตถุประสงค์รายวิชา ทำให้ผู้จัดทำหลักสูตรฝึกอบรมวางแผนการอบรมรายวิชาได้อย่างสอดคล้อง และต่อเนื่องกัน ตลอดทั้งหลักสูตร หลีกเลี่ยงการซ้ำซ้อนของหัวข้อวิชาได้
                   2. วัตถุประสงค์ของหัวข้อวิชาช่วยทำให้วิทยากรเตรียมการสอน และเลือกใช้เทคนิคการอบรมได้อย่างเหมาะสม ดังที่มีผู้กล่าวว่าเป็นการช่วยให้ "วิทยากรฝึกอบรมพูดในสิ่งที่ผู้เข้าอบรมต้องการจะฟัง ไม่ใช่พูดในสิ่งที่ตนเองต้องการจะพูด" นั่นคือ เป็นการฝึกอบรมในเรื่องที่เป็นความจำเป็นในการฝึกอบรมอย่างแท้จริง
                   3. วัตถุประสงค์ของหัวข้อวิชา จะช่วยให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงแนวทางในการฝึกอบรมและสิ่งที่ตนพึงได้รับจากวิชานั้น ๆ อันจะเป็นประโยชน์ในการจูงใจ และชวนให้ติดตามดูว่าตนเองได้เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของวิชานั้น ๆ หรือไม่ เพียงใด
หลักการเขียนวัตถุประสงค์ของหัวข้อวิชา
                   เราอาจเขียนวัตถุประสงค์ของหัวข้อวิชาได้ 4 ลักษณะด้วยกัน คือ
                   1) วัตถุประสงค์ที่ยึดบทบาทของวิทยากรเป็นหลัก
                   2) วัตถุประสงค์ที่ยึดเนื้อหาวิชาที่อบรมเป็นหลัก
                   3) วัตถุประสงค์ที่ยึดกิจกรรมของผู้เข้าอบรมเป็นหลัก และ
                   4) วัตถุประสงค์ที่ยึดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เข้าอบรมเป็นหลัก
                   การเขียนวัตถุประสงค์แบบที่4 ถือกันว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด เนื่องจากหากวัตถุประสงค์ของหัวข้อวิชาสามารถแสดงถึง ลักษณะการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เข้าอบรมที่พึงประสงค์ได้ ก็จะสอดคล้องกับทฤษฎีการฝึกอบรมเป็นอย่างยิ่ง และจะเป็นประโยชน์ในการประเมินผลการฝึกอบรมหัวข้อวิชานั้นๆ ได้อย่างถูกต้องต่อไป
                   การเขียนวัตถุประสงค์ของหัวข้อวิชาที่ยึดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เข้าอบรมเป็นหลัก ควรจะมีองค์ประกอบ ดังนี้
                   1. จะต้องระบุว่า จะทำให้ผู้เข้าอบรมเกิดความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ นิสัย ความสามารถ หรือความชำนาญ เกี่ยวกับเรื่องอะไร ดังตัวอย่างเช่น
                       - เพื่อทำให้ผู้เข้าอบรมสามารถวางแผนการปฏิบัติงานได้
                       - เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสัมมนาใช้งานโปรแกรม Microsoft Access
                       - เพื่อให้ผู้เข้าอบรมยอมรับถึงคุณค่าของการทำงานร่วมกันแบบ A.I.C.
                   2. จะต้องระบุว่า ต้องการจะให้ผู้เข้าอบรมเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในลักษณะใดเช่น
                       - เพื่อทำให้ผู้เข้าอบรมสามารถวางแผนการปฏิบัติงานได้ตามแนวทางที่กำหนดไว้
                       - เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถใช้งานโปรแกรม Microsoft Access ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                       - เพื่อให้ผู้เข้าอบรมยอมรับถึงคุณค่าของการทำงานร่วมกันแบบ A.I.C. อันจะก่อให้เกิดการสนับสนุนวิธีการนี้ต่อไป
                   3. ระบุสถานการณ์ เวลา สิ่งแวดล้อม หรือเงื่อนไขที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม กล่าวคือ พฤติกรรม ที่จะเปลี่ยนแปลงไปนั้นจะเปลี่ยนแปลงไปภายใต้สิ่งแวดล้อมอะไร เช่น
                       - เพื่อทำให้ผู้เข้าอบรมสามารถวางแผนการปฏิบัติงานตามแนวทางที่กำหนดไว้ได้เมื่อเสร็จสิ้นการอบรม
                       - เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถใช้งานโปรแกรม Microsoft Access ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนสามารถจัดเก็บ ข้อมูลของหน่วยงานได้
                       - เพื่อให้ผู้เข้าอบรมยอมรับถึงคุณค่าของการทำงานร่วมกันแบบ A.I.C. อันจะก่อให้เกิดการสนับสนุนวิธีการ นี้ในหน่วยงานของตนต่อไป
                   4. ระบุเกณฑ์ที่จะวัดระดับของความยอมรับในพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง คือ เป็นการระบุว่าพฤติกรรมของ ผู้เข้ารับการ อบรมที่เปลี่ยนแปลงไปนั้น จะต้องเปลี่ยนไปในระดับใด หรือต้องเปลี่ยนไปจนทำให้เกิดอะไรขึ้น เช่น
                       - เพื่อทำให้ผู้เข้าอบรมสามารถวางแผนการปฏิบัติงานตามแนวทางที่กำหนดไว้ได้อย่างถูกต้องเมื่อเสร็จสิ้นการอบรม
                       - เพื่อทำให้ผู้เข้าอบรมสามารถวางแผนการปฏิบัติงานตามแนวทางที่กำหนดไว้ได้อย่างถูกต้อง จนสามารถจัดเก็บ ข้อมูลของหน่วยงานได้อย่างเป็นระบบ
                       - เพื่อให้ผู้เข้าอบรมยอมรับถึงคุณค่าของการทำงานร่วมกันในหน่วยงานของตนต่อไปอย่างกว้างขวางทุกระดับ
                   กล่าวโดยสรุป การเขียนวัตถุประสงค์รายวิชาเชิงพฤติกรรม คือ การเขียนระบุว่าในหัวข้อวิชานั้น ๆ เรามีจุดมุ่งหมาย 4 ประการ คือ
                       - ให้ใครทำ
                       - ทำอะไร
                       - ทำได้ภายใต้เงื่อนไขอะไร
                       - ทำได้ระดับใด
ขั้นตอนในการเขียนวัตถุประสงค์ของหัวข้อวิชา
                  เราควรจะทำเป็นขั้นตอน ดังนี้
                  1) พิจารณาภารกิจหรือหน้าที่ซึ่งเป็นความจำเป็นในการฝึกอบรม
                  2) พิจารณาระดับความความสำคัญ
                  3) พิจารณาชื่อของหัวข้อวิชา
                  4) กำหนดวัตถุประสงค์ของหัวข้อวิชา


อัพเดทล่าสุด