https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ตัววัด (ผลการปฏิบัติงาน) อันตราย!! MUSLIMTHAIPOST

 

ตัววัด (ผลการปฏิบัติงาน) อันตราย!!


602 ผู้ชม


ตัววัด (ผลการปฏิบัติงาน) อันตราย!!




“Measure what is measurable, and make measurable what is not so.”
Galileo Galilei
การเลือกใช้ตัววัดที่จะทำให้บริษัท พนักงานและตัวผู้จัดการเองดูดี เป็นสิ่งที่พบเห็นกันได้ทั่วไปในแทบทุกองค์กร เพราะ “ไม่มีใครอยากใช้ ตัววัดที่จะทำให้พวกเขามีคะแนนผลการปฏิบัติงานแย่ๆ” โดยเฉพาะในกรณีที่มีการพิจารณาโบนัสและรางวัลอื่นๆ โดยดูจากคะแนนผลการปฏิบัติงาน
ซึ่งการกำหนดตัววัดที่นอกจากจะไม่ส่งผลต่อการปรับปรุงการ ปฏิบัติงานของพนักงานแล้วยังอาจเป็นอันตรายต่อผลการดำเนินงานของ องค์กรในระยะยาวนี้ก็ได้แก่
- กำหนดตัววัดจากมุมมองของตนเอง (หรือของบริษัท) แทนที่จะวัดจากมุมมองของลูกค้า (ทั้งภายในและภายนอก) ตัวอย่างเช่น บริษัทผู้ให้บริการระบบไอทีแห่งหนึ่งที่วัดผลการทำ งานในด้านความตรงเวลาในการส่งมอบงาน โดยดูว่าทำงานให้ลูกค้าได้กี่เปอร์เซ็นต์แล้ว เช่น ถ้าส่งมอบงานได้ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ของทั้งระบบ พนักงานก็จะได้คะแนนผลการ ปฏิบัติงาน 9 จากคะแนนเต็ม 10 แต่ว่าในแง่ของลูกค้าแล้ว บริษัทไอทีแห่งนี้จะได้ 0 คะแนน เนื่องจากถ้าระบบนั้นไม่สมบูรณ์ 100 เปอร์เซ็นต์ ลูกค้าก็จะไม่สามารถใช้งานมัน ได้อย่างเต็มที่
- การด่วนสรุป (โดยไม่พยายามคิดว่าอะไรมีความสำคัญต่อ ลูกค้าที่เราควรจะวัด) กำหนดตัววัดสิ่งที่ง่ายต่อการวัด หรือวัดสิ่งที่ตนเองเคยวัดมาตลอด แทนที่จะพยายามค้นหาให้แน่ ชัดว่าอะไรที่ควรค่าแก่การวัด
- การเอาตัววัดต่างๆ มาใช้ โดยไม่พิจารณาถึงผลที่จะเกิดกับพฤติกรรมของพนักงานและกับผลการปฏิบัติงานของบริษัทให้ถี่ถ้วน ทั้งนี้คนในองค์กรมักพยายามปรับปรุงสิ่งต่างๆ ที่บริษัทบอกว่ามีความสำคัญและเชื่อมโยงกับรางวัล / ค่าจ้างของพวกเขา แม้ว่าการทำอย่างนั้นจะก่อให้ เกิดผลเสียมากกว่าผลดีก็ตาม
ตัวอย่างเช่น ธุรกิจแฟรนไชส์ประเภทฟาสต์ฟูดแห่งหนึ่ง ที่เน้นอาหารประเภทเนื้อไก่ที่เกิดต้องการจะปรับปรุงผลการปฏิบัติงานด้านการเงินของบริษัท (บริษัทแห่งนี้เพิ่งนำเอา Balanced ScoreCard มาใช้) โดยการลดของเสียซึ่งพวกเขาระบุว่าเป็นไก่ปรุงสุกที่เหลือตกค้างภายในร้านในแต่ละวันและก็ต้องทิ้งไป บรรดาผู้จัดการร้านทั้งหลายจึงตอบสนองความคิดดังกล่าวและพากันพยายามลดของเสียที่ว่า (พวกเขาเห็นว่ามันเป็นตัววัดผลการปฏิบัติงานตัวหนึ่ง) ด้วย การบอกให้พนักงานอย่าปรุงอาหาร (ไก่) จนกว่าจะมีลูกค้ามาสั่งซื้อ
ซึ่งผลที่ตามมาคือมันทำให้ร้านอาหารฟาสต์ฟูดกลายเป็นร้านอาหารสโลวฟูดไป ของเสียลดลงก็จริง แต่ยอดขายก็ลดฮวบลงเหมือนกัน!
- ใช้ตัววัดที่ไม่ก่อให้เกิดการปรับปรุงผลการปฏิบัติงาน ใช้ตัววัดที่จะไม่ทำให้คนอื่นเห็นจุดอ่อน / จุดบกพร่อง ในการทำงานของตน เพราะคนในองค์กรไม่จริงจังกับการวัดผลการปฏิบัติงาน และพยายามหาข้อแก้ตัวในเรื่องผล การปฏิบัติงานที่ไม่ดี แทนที่จะหาสาเหตุที่แท้จริงแล้วแก้ไข หาวิธีปัดความผิด / คำตำหนิให้พ้นตัว (เป็นเรื่องของวัฒนธรรมองค์กรล้วนๆ) ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเลยที่บริษัทที่ใช้ ตัววัดที่ไม่เหมาะสม จะปรับปรุงผลการปฏิบัติงานของพนักงานและของบริษัทได้ยากมาก
จากหนังสือ "กะเทาะระบบบริหารผลการปฏิบัติงาน"

โดย bloggang.com


อัพเดทล่าสุด