https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
กฎหมายแรงงาน หญิงไทยกับกฎหมายแรงงานใหม่ MUSLIMTHAIPOST

 

กฎหมายแรงงาน หญิงไทยกับกฎหมายแรงงานใหม่


637 ผู้ชม


กฎหมายแรงงาน
หญิงไทยกับกฎหมายแรงงานใหม่

พุธ ที่ 17 เดือน กันยายน พ.ศ.2551
 

หญิงไทยสมัยก่อนอยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือน ทำงานบ้านเลี้ยงลูกปรนนิบัติสามี แต่ในปัจจุบัน ขืนอยู่บ้านรอสามีหาเงินคนเดียวมีหวังกินแกลบ จึงต้องออกทำงานหาเงินเอ๊ย หารายได้ช่วยสามีอีกทางหนึ่ง ซึ่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ได้วางกำหนดกฎเกณฑ์คุ้มครองแรงงานหญิงไว้หลายประการ

ประการแรก ห้ามลูกจ้างหญิงทำงานอันตราย เช่น งานเหมืองแร่ หรืองานก่อสร้างที่ต้องทำใต้ดิน ใต้น้ำ ในถ้ำ ในอุโมงค์ หรือปล่องในภูเขา งานที่ต้องทำบนนั่งร้านสูงกว่าพื้นดินตั้งแต่สิบเมตรขึ้นไป งานผลิตหรือขนส่งวัตถุระเบิดหรือวัตถุไวไฟ เว้นแต่ลูกจ้างหญิงที่ทำงานด้านวิชาชีพ หรือวิชาการที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ จึงจะอนุญาตให้ทำงานด้านการผลิตวัตถุไวไฟได้ (มาตรา 38)

ประการที่สอง ห้ามลูกจ้างหญิงทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งใน 4 ประเภทคือ

  1. ทำงานช่วง 22.00 06.00 น.
  2. ทำงานล่วงเวลาเว้นแต่ลูกจ้างหญิงที่ทำงานในตำแหน่งผู้บริหาร งานวิชาการ งานธุรการ งานบัญชีหรือการเงิน ทำงานล่วงเวลาได้ โดยลูกจ้างหญิงนั้นยินยอมทำ
  3. ทำงานในวันหยุด
  4. ทำงานอันตรายต่อหญิงมีครรภ์อย่างใดอย่างหนึ่งใน 5 อย่าง

(1) งานเกี่ยวกับเครื่องจักรเครื่องยนต์ที่มีความสั่นสะเทือน

(2) งานขับเคลื่อนหรือติดไปกับยานพาหนะ

(3) งานยก แบก หาบ หาม ทูน ลาก หรือเข็นของหนักเกินสิบห้ากิโลกรัม

(4) งานที่ทำในเรือ

(5) งานอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง

ประการที่สาม นายจ้างต้องเปลี่ยนเวลาหรือลดเวลาทำงานเมื่อลูกจ้างหญิงทำงานในช่วงเวลา 24.00 06.00 น. แล้วพนักงานตรวจแรงงานเห็นว่าอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้างหญิง เช่น ทำงานเลิกตอนตีสอง แล้วไม่มีหอพัก ไม่มีรถรับส่ง ลูกจ้างหญิงต้องเดินทางกลับคนเดียวเข้าอยู่เปลี่ยว จะเจอเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นไม่อาจเดาได้ พนักงานตรวจแรงงานอาจสั่งให้ลดเวลาทำงานเหลือ 22.00 น. เป็นต้น (มาตรา 40)

ประการที่สี่ ลูกจ้างหญิงที่มีครรภ์มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตรครรภ์ละไม่เกิน 90 วัน โดยได้รับค่าจ้างจากนายจ้างไม่เกิน 45 วัน (มาตรา 41,57)

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานต้องการคุ้มครองลูกจ้างหญิงแต่คุ้มครองมากไป กลับกลายเป็นข้อจำกัดตัดสิทธิของหญิง เพราะมีข้อจำกัดทั้งลักษณะงานที่ห้ามทำ วันและเวลาที่ห้ามทำ อีกทั้งยังห้ามเลิกจ้างลูกจ้างหญิงเพราะเหตุมีครรภ์อีก ทำให้ลูกจ้างหญิงหางานทำยาก และยังหาสามียากอีกด้วย เพราะพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานห้ามมิให้มีการล่วงละเมิดทางเพศต่อลูกจ้างหญิง (มาตรา 16) ทำให้ชายเข็ดขยาดไม่กล้ามาจีบ กลัวจะถูกกล่าวว่าเป็นการล่วงละเมิดทางเพศ

โดย
: รุ่งโรจน์ รื่นเริงวงศ์ ,หลากหลายแรงงาน, ตุลาคม 2544 (หน้า 156-158)

อัพเดทล่าสุด